ภาวะสมองขาดเลือด ( stroke ) ทำให้เซลล์สมองตาย ทำให้เกิดอัมพาต์ ผู้ป่วยจะอ่อนแรง มีอาการชา ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ปวดหัว เสียการทรงตัว การรักษาโรคอย่างไร

โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมอง โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

โรคหลอดเลือดสมอง ภาษาอังกฤษ เรียก stroke เป็นโรคหลอดเลือดและสมอง ซึ่งเป็นภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดจากการ ตีบ อุดตัน หรือแตก ของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองจึงหยุดชะงัก ซึ่งความผิดปรกติของหลอดเลือดสมอง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ หลอดเลือดสมองตีบตัน และ หลอดเลือดสมองปริแตก รายละเอียดของแต่ละประเภท มีดังนี้

  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภาษาอังกฤษ เรียก ischemic stroke ประเภทการตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุมากถึง ร้อยละ 80 ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดที่สมอง จนอุดตันทางเดินของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมอง นอกจากสาเหตุของลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแล้ว การสะสมไขมันในเส้นเลือดก็เป็นสาเหตุของการตีบตันของเส้นเลือดได้ เหมือนกัน
  2. หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด ภาษาอังกฤษ เรียก hemorrhagic stroke เราพบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดจากความเปราะบางของหลอดเลือดและร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง หรือการเกิดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดจากการสะสมไขมันในเส้นเลือด การที่หลอดเลือดสมองแตก จะทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างฉับพลัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง

มีหลายปัจจัย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ป้องกันได้และปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ เช่น อายุ เพศ ภาวะเลือดแข็งตัวเร็วกว่าปรกติ ปัจจัยเหล่านี้ป้องกันไม่ได้ แต่ปัจจัยอื่นๆที่สามารถป้องกันได้ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ การใช้ยาคุมกำเนิด การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เราสามารถสังเกตุจากอาการผิดปรกติ ได้โดย ผู้ป่วยจะอ่อนแรง มีอาการชา ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ควบคุมน้ำลายไม่ได้ ปวดหัว เวียนหัว สายตาพร่ามัว เสียการทรงตัว เมื่อพบอาการดังกล่าว ต้องนำตัวพบแพทย์โดยด่วน อาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้

  • ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • สับสน มีปัญหาทางการสื่อสาร พูดไม่เข้าใจ
  • เห็นภาพซ้อน ตามัว (เพียงข้างเดียว)
  • เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • วิงเวียน ทรงตัวไม่อยู่ บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

การตรวจวินิจฉัยว่าเราเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

สามารถตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด ดูระดับน้ำตาลในเลือด ดูระดับไขมันในเลือด หาอาการอักเสบของหลอดเลือด การทำการตรวจวัดคลืนไฟฟ้าหัวใจ การสแกนสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองตีบตัน และ หลอดเลือดสมองแตก การรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ สามารถรักษาได้โดย การทำให้เลือดไหลเวียนตามปกติ แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่ต้องรักษาภายใน 4 ชั่วโมง ส่วนการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด คือ ต้องควบคุมปริมาณเลือดที่ออก รักษาความดันเลือดให้ปรกติ ทีมแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของสมอง ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด

การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

สามารถทำได้โดย ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ เช่น ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม เลิกสูบบุหรี่และการดื่มสุรา เป็นต้น

สะแกแสง ( Sakaew ) สมุนไพร ดอกสะแกแสงมีกลิ่นหอม ประโยชน์และสรรพคุณช่วยลดไข้ รักษากลากเกลื้อน ชื่ออื่นๆของสะแกแสง เก้าโป้ง งุ้นสะบันนา งุ้น สะบานงา แกนแซง

สะแกแสง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของสะแกแสง

สะแกแสง เป็นพืชสมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกมีกลิ่นหอม สรรพคุณ ใช้แก้พิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ลดไข้ ฆ่าพยาธิผิวหนังเรื้อรัง ต้นสะแกแสง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cananga latifolia (Hook.f. & Thomson) Finet & Gagnep. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับ กระดังงา ชื่ออื่นๆของสะแกแสง เช่น เก้าโป้ง งุ้นสะบันนา งุ้น สะบานงา แกนแซง ส้มกลีบ หำฮอก หำอาว  เฝิง แตงแซง แคแสง ราบ เนา เป็นต้น

ลักษณะของต้นสะแกแสง

ต้นสะแกแสง เป็นพืช ไม้ยืนต้น สามารถพบได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และป่าเบญจพรรณ สามารถพบ ต้นสะแกแสง ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50 ถึง 300 เมตร พบมากในแถบประเทศไทย พม่า และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

  • ลำต้นของสะแกแสงเปลาตรง ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกมีสีเทา สีน้ำตาล ลักษณะเปลือกเรียบ แตกเป็นแบบรอยไถ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนของสะแกแสงมีขนสีเทา ตามกิ่งมีรอยแผลของก้านใบที่หลุดร่วงซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน
  • ใบของสะแกแสงเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อของต้น
  • ดอกของสะแกแสงเป็นดอกเดี่ยว ออกใต้โคนก้านใบ ดอกจะห้อยลง มีกลิ่นหอม สีเขียว และสีเขียวอมเหลือ
  • ผลของสะแกแสง จะออกผลเป็นกลุ่ม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีม่วงดำ

สรรพคุรของสะแกแสง

สำหรับสรรพคุณทางสมุนไพรของสะแกแสง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งเนื้อไม้ ราก แก่น ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้อไม้ของสะแกแสง ใช้เป็นยาพิษ แก้เมา แก้พิษไข้ ทำไส้ยาสูบ รักษาหนองในจมูก
  • รากของสะแกแสง สามารถใช้แก้พิษ แก้ไข้ นำมาขูดทำไส้ยาสูบ รักษา
  • ใบของสะแกแสง ใช้รักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน กลากเกลื้อน หูด ฆ่าพยาธิผิวหนังเรื้อรัง รักษาบาดแผลเรื้อรัง

ประโยชน์ของสะแกแสง

  • เนื้อไม้สะแกแสงเป็นสีเทา มีเสี้ยนตรง อ่อน เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งได้ง่าย นิยมนำมาทำหีบ ลังใส่ของ ของเล่นเด็ก รองเท้าไม้ เสาเข็ม ที่อยู่อาศัย ใช้ประกอบการก่อสร้างชั่วคราว ใช้ทำกระดานแบบ แบบเทคอนกรีต เครื่องประดับ เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ[4]
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เป็นไม้โตเร็ว ดอกมีกลิ่นหอมเย็น

ตามต่างจังหวัดจะนำรากของต้น “สะแกแสง” ต้มน้ำดื่มใช้รักษาอาการเซื่องซึม ซึ่งจะพบต้นไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบในทั่วทุกภาค

สมุนไพรบำรุงผิวและรักษาแผล ต่างๆ ขอแนะนำมี ดังนี้

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด
ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย

สะแกแสง ( Sakaew )สมุนไพร ดอกสะแกแสงมีกลิ่นหอม ประโยชน์ของสะแกแสง สรรพคุณของสะแกแสง ลดไข้ รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนังเรื้อรัง ชื่ออื่นๆของสะแกแสง เก้าโป้ง งุ้นสะบันนา งุ้น สะบานงา แกนแซง ส้มกลีบ หำฮอก หำอาว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove