เลี้ยงลูกอย่างไรในวันที่โลกที่เปลี่ยนไป แนวคิดสำหรับพ่อแม่

การเลี้ยงลูกยุคใหม่ พ่อแม่ควรมีหลักคิดการเลี้ยงลูกในเชิงบวก เพื่อพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตด้านต่างๆให้สอดสอดคล้องกับยุคสมัย การเลี้ยงลูกในยุคนี้ เปลี่ยนแปลงเร็วมากการเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก แม่และเด็ก พ่อแม่ยุคใหม่

สำหรับแนวคิดที่เหมาะสำหรับโลกสมันใหม่ เช่น หลักแนวคิดในการส่งเสริมด้านการเรียนของลูก หลักแนวคิดในการเรียนรู้ของลูกผ่านการเล่น หลักแนวคิดในการเข้าสังคม ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้นหลักแนวคิดเพื่อการเลี้ยงลูกให้ทันยุคสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ เรามี 7 หลักแนวคิดเพื่อการเลี้ยงลูก มาแนะนำให้พ่อแม่ สามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้

  1. หลักแนวคิดด้านการเรียน การศึกษาของเด็ก ยุคใหม่ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในตำรา แบบเรียน หนังสือเสริมทักษะ หรือนั่งฟังคุณครูพูดสอนอยู่หน้าชั้นอย่างเดียว พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักค้นคว้าข้อมูลในโลกออนไลน์ เพื่อแสวงหาแหล่งความรู้ที่หลากหลายแต่ก็ควรอธิบายให้ลูกรู้ถึงพิษภัยที่แอบแฝงจากโลกออนไลน์ด้วย
  2. หลักแนวคิดด้านการเล่น ของเล่น ถือเป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับลูก พ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และเป็นกิจกรรมการเล่นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกด้วย เช่น การต่อบล็อกไม้ การพับกระดาษ ลิงชิงบอล การอ่านนิทาน การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น
  3. หลักแนวคิดด้านโภชนาการ อาหารและโภชนาการเป็นปัจจัยหลักที่ ช่วยให้ร่างกายและสมองของลูกมีการเจริญเติบโต มีน้ำหนักส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ โดยเฉพาะนมแม่และคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ หลักในการเลือกโภชนาการของลูกควรคำนึกถึงประโยชน์เป็นหลักโดยให้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และ ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ตามกระแสสื่อโฆษณา เช่น ขนมคบเคี้ยว น้ำอัดลม ฯลฯ เป็นต้น
  4. หลักแนวคิดด้านการใช้ภาษา การส่งเสริมด้านภาษา ให้ลูกรู้จักภาษามากกว่าหนึ่งภาษานั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากภาษาเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พ่อแม่ สามารถช่วยกระตุ้นและสนับสนุนการใช้ทักษะภาษาของลูกผ่านการพูดคุยและตอบโต้กับลูกในชีวิตประจำวัน
  5. หลักแนวคิดด้านการเข้าสังคม หลักแนวคิดใน การเข้าสังคม มีงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศกล่าวว่า เด็กที่มีเพื่อนก่อนหรือตั้งแต่เตรียมอนุบาล จะสามารถปรับตัวได้ดีกว่าเด็กคนอื่นเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน การมีเพื่อนจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะสังคมที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานเป็นกลุ่ม การเข้าหาผู้อื่น  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดการปัญหาร่วมกัน ดังนั้นพ่อแม่ควรสร้างหลักคิดด้านการเข้าสังคมให้ลูกคุ้นเคยที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น การแนะนำให้ลูกรู้จักคนอื่น รู้จักการทักทาย การยกมือสวัสดี เป็นต้น
  6. หลักแนวคิดด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี การเป็นแบบอย่างที่ดีสามารถสร้าง หลักคิด ให้ลูกได้อย่างมาก เนื่องจากแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่จะเป็นภาพการจดจำในการแสดงออกทาง พฤติกรรมของลูก ได้ โดยทำเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้ซึมซับรับเป็นแบบอย่างในทุกเรื่องทั้งพฤติกรรมการกระทำ ทัศนคติ ความคิด บุคลิก ลักษณะนิสัย ดังนั้น พ่อแม่ ควรสร้างแบบอย่างที่ดีจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้แก่ลูกได้ เช่น การสร้างวินัยให้ลูกรู้จักการรับผิดชอบในหน้าที่ตนเอง รู้จักจัดเก็บสิ่งของหรือของเล่นต่างๆ ให้เป็นระเบียบ เป็นต้น
  7. หลักแนวคิดด้านการบริหารและสร้างวินัยการออมเงิน การรู้จักอดออม ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่พ่อแม่สามารถสร้างหลักคิดนี้ให้ลูกเห็นคุณค่า และ มีวินัยในการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม พ่อแม่สามารถนำ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน มาประยุกต์ใช้กับลูกได้  การออม ไม่ใช่เพียงการเก็บหอมรอมริบ แต่ การออม ยังหมายรวมถึงการใช้จ่ายโดยรู้จักประมาณตน ใช้เงินอย่างมีเหตุมีผล และออมเพื่อให้ตนเองมีพื้นฐานที่จะต่อยอดสู่ การพัฒนาชีวิต ในด้านอื่นๆต่อไป

การเลี้ยงลูกในยุคใหม่ พ่อแม่ ควรมีหลักแนวคิดในการเลี้ยงดูลูกเชิงบวก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ในด้านต่างๆ ให้สอดสอดคล้อง และ เหมาะสมกับยุคสมัย สำหรับยุคที่เทคโนโลยีและข่าวสารไวจนตามไม่ทัน การเลี้ยงลูกยุคนี้ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี

Last Updated on October 16, 2020