ยี่หร่า สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณและโทษ มีอะไรบ้าง

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงประสาท บำรุงผิว ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ยี่หร่าใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม เครื่องดื่มยี่หร่า สมุนไพร สรรพคุณยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า

ยี่หร่า เป็น สมุนไพรท้องถิ่น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Tree Basil ยี่หร่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ocimum gratissimum L. ยี่หร่าเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเพราและผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า เช่น กะเพราญวณ จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม โหระพาช้าง กะเพราควาย หร่า เทียนขาว เป็นต้น

ต้นยี่หร่า เป็นอีกหนึ่ง สมุนไพร ที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน สรรพคุณเด่นของยี่หร่า ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ  มีฤทธิ์เผ็ดร้อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยี่หร่า กัน

ยี่หร่าในสังคมไทย

ยี่หร่า เป็น พืชที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาช้านาน ในกาบเห่เรือ ยังมีบทหนึ่ง “มัสมั่น หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นแรง รสเผ็ดร้อน ซึ่งในใบของยี่หร่า จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง เรียกว่า น้ำมันยี่หร่า นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม ทำเครื่องดื่ม

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า และน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมต่างๆได้อีกด้วย

ต้นยี่หร่า

ต้นยี่หร่า เป็นไม้ประเภทล้มล้ก เป็นไม้พุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง อาการถ่ายเทได้สะดวก ชอบอยู่กลางแจ้ง

  • ลำต้นของยี่หร่า มีความสูงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นยี่หร่า มีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งก้านไม่ใหญ่
  • ใบยี่หร่า มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยัก สีเขียวสด ผิวใบสากๆ มีกลิ่นหอม
  • ดอกของยี่หร่า จะออกบริเวณปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก 
  • ผลของยี่หร่าหรือเมล็ดของยี่หร่า คือตัวเดียวกัน ผลของยี่หร่า มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก ผลอ่อนจะมีสีเขียว และผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีสีดำหรือสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยี่หร่า

ยี่หร่าในทางสมุนไพรและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน ของยี่หร่า ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก ผล ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของยี่หร่า มีดังนี้

  • รากยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ต้นยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ผลของยี่หร่า สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
  • ใบยี่หร่า สามารถช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขัยของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

โทษของยี่หร่า

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ยี่หร่า อาจมีอาการระคายเคืองร่างกาย เกิดผื่นคัน หากพบว่ามีอาการแพ้ให้หยุดรับประทานทันที

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร รสเผ็ดร้อน คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า สรรพคุณของยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ชื่ออื่นๆของยี่หร่า ยี่หร่านำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม และ เครื่องดื่ม

โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม