หืดหอบ หอบหืด ( Asthma ) ภาวะหลอดลมอักเสบ เกิดการหดตัวแบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโรคหืดหอบ โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก

ลักษณะของโรคหืดหอบ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกอาการของโรคหอบหืด ที่แสดงได้ชัดเจน คือ เหนื่อยหอบ หายใจเสียงหวีด แน่นหน้าอก หายใจลำบากและมีอาการไอ เกิดขึ้นถี่และรบกวนการใช้ชีวิต ต้องใช้ยาบรรเทาอาการหายใจไม่ออก

โรคหืดหอบ คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ชนิดเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต เพราะ ทำให้หายใจไม่ออก หากเกิดในเด็ก อาจทำให้พัฒนาการเรียนรู้ช้า หากเกิดในวัยผู้ใหญ่การทำงานก็จะไม่เต็มที่ ชีวิตประจำวันจะไม่ปรกติ ผู้ป่วยโรคหืดหอบ ต้องรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

โรคหืดหอบในประเทศไทย 

สำหรับโรคหืดหอบในประเทศไทย นั้น พบได้ร้อยละ 7 ของประชากรในประเทศ โรคนี้พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่อัตราการเกิดโรคในเด็กช่วงอายุ 10 – 12 ปี มากที่สุด โดยพบว่าเด็กร้อยละ 10-12% ของเด็กทั้งหมดมีโอกาสเป็นโรคหืดหอบ โดยเฉพาะประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วโลกพบว่าโรคนี้มีแนวโน้มเกิดมากขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2538 มีผู้ป่วย 66,679 คน และ ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยเป็น 102,273 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบมีปัจจัยต่างๆของการเกิดโรค หลายสาเหตุ สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคหอบหืด ได้ดังนี้

  • เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าคนที่มีประวัติการเป็นโรคหอบหืด คนในครอบครัวที่สืบเชื้อสายเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า
  • การเกิดโรคภูมิแพ้ สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทางเดินหายใจมีโอกาสเกิดโรคหืดหอบได้
  • การสูดดมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม หรือ ควันบุหรี่ สูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจนานๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจผิดปรกติได้
  • ภาวะการการออกกำลังกายน้อย หรือ ออกกำลังกายในสภาพอากาศเย็นทำให้ระบบทางเดินหายใจหดตัว
  • ภาวะความเครียดสะสม ความเครียดส่งผลให้ระบบการหายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว
  • การได้รับสารพิษ โดยเฉพาะสารในกลุ่มซัลไฟต์ ( Sulfites ) และ สารกันบูด โดยสารเหล่านี้มักจะเจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
  • ภาวะการเกิดโรคกรดไหลย้อน กรดในกระเพาะอาหารหากไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดได้
  • การติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

การกำเริบของโรคหืดหอบ

สำหรับการเกิดโรคหืดหอบกำเริบสามารถเกิดได้ตลอดเวลา โดยสัญญาณเตือนและอาการที่แสดงออกจากระบบหายใจอุดกั้น ต้องรับการรักษาจากแพทย์โดยด่วน สถานการณ์ต่างๆที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหืดหอม มีดังนี้

  • หืดหอบขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ หากออกกำลังกายหนักเกินไป ทำให้อาการกำเริบได้ แต่ผู้ป่วยโรคหืดหอมสามารถออกกำลังกายได้ โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังในสภาพอากาศแห้งและเย็น
  • หืดหอบขณะทำงาน สำหรับสภาพอากาศที่มีสารพิษ ฝุ่น ควันและแก๊ส สามารถทำให้เกิดอาการกำเริบของหืดหอบได้
  • หืดหอบจากการแพ้อากาศ สำหรับผู้ป่วยที่อาการแพ้อากาอยู่แล้ว หากถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ ในภาวะอากาศเย็น ทำให้เกิดอาการกำเริบได้

อาการของโรคหืด

สำหรับอาการของโรคหืดหอบนั้นจะแสดงอาการแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยอาการของโรคหืดหอบโดยทั่วไป มีการแสดงอาการ ดังนี้

  • ภาวะการหายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจลำบากหายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงวี้ด
  • เจ็บหน้าอก
  • มีอาการแน่นหน้าอก
  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไอ
  • มีปัญหานอนหลับ หลับไม่สนิท

สำหรับการแสดงอาการของโรคหืดหอบที่รุนแรงต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน มีดังนี้

  • มีอาการหายใจหอบและถี่
  • หายใจลำบากและมีเสียงดัง
  • หากใจลำบาก และ ใช้อุปกรณ์พ่นยาช่วยแต่ไม่ดีขึ้น
  • หายใจหอบ เมื่อทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบ หากเป็นภาวะโรคระดับเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและเป็นอันตรายต่อชีวิต มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของโรคหืดหอบ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ภาวะปอดแฟบ ภาวะหมดแรง ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใน เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบที่ร้ายแรง เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต จากโรคหืดหอบ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะปอดทะลุ ภาวะมีอากาศในประจันอกและใต้หนัง เป็นลมจากการไอ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนโรคหืดหอบในสตรีมีครรภ์ สำหรัยผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ จะไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหืดหอบได้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกตลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย หรือ ทารกตายในครรภ์ เป็นต้น

การรักษาโรคหืด

สำหรับการรักษาโรคหืดหอบในปัจจุบัน ไม่มีวิธีการรักษาให้โรคนี้หายขาดได้ แต่การรักษาทำเพื่อการควบคุมอาการให้เป็นปกติมากที่สุด ผู้ป่วยที่มีอาการหืดหอบบ่อย จะได้รับยาเพื่อลดอาการของโรค แนวทางการรักษามีแนวทาง คือ การให้ยาเพื่อควบคุมอาการของโรค การรักษาเพื่อบรรอาการของโรค และ การปรับพฤติกรรมเพื่อลดการกระตุ้นการเกิดโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาควบคุมการเกิดโรคหืดหอบ ผู้ป่วยต้องใช้เป็นประจำ เพื่อการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Inhaled Corticosteroid ) และ ยากลุ่มอื่น ๆ เช่น ยาต้านลิวโคไทรอีน ( Leukotriene Modifier Antagonist ) เป็นต้น
  • การบรรเทาอาการหอบหืด ได้แก่ การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม
  • การปรับพฤติกรรมต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหืดหอบ เช่น รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อม การไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป การไม่ออกแรงมากเกินไป เป็นต้น

การป้องกันโรคหืดหอบ  

แนวทางการป้องกันโรคหืดหอบ เป็นสิ่งที่สำคัณและควรทำมากที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดโรค เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหืดหอบให้หายขาด การดูแลตนเองและป้องกันการเกิดโรคหืดหอบ มีดังนี้

  • หมั่นตรวจร่างกาย ตรวจสอบการหายใจ ประจำปี
  • รับวัคซีนต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหิืดหอบ เช่น รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการถูกกระตุ้นให้เกิดโรคหืดหอบ เช่น ไม่อยู่ในสถานที่ที่สภาพอากาศไม่ดี ไม่ออกกำลังกายขณะอากาศเย็นจัด
  • หากมีอาการโรคหืดหอบ ต้องเข้าพบแพทย์และรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
  • เรียนรู้เรื่องการป้องกันตับพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม ถูกสุขอนามัย
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคหืดหอบ ( Asthma ) การอักเสบของหลอดลม ภาวะการหดตัว หรือ ตีบแคบของหลอดลม แบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ โรคของคนกรุง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร โรคระบบทางเดินหายใจ

ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคยูซี ( Ulcerative colitis ) เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร อุจาระมีเลือด มีไข้สูง อ่อนเพลีย ผิวซีด น้ำหนักลดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคติดเชื้อ โรคในช่องท้อง โรคไม่ติดต่อ

ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง หรือ โรคยูซี มาจากภาษาอังกฤษ ว่า Ulcerative colitis เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ เป็น การอักเสบของลำไส้ใหญ่ แบบต่อเนื่อง ระยะยาว รักษาไม่ขายขาดสักที วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง กันว่า สาเหตุของการเกิดโรคเกิดจากอะไร อาการของผู้ป่วยเป็นอย่างไร การวินิจฉัยและการรักษาทำอย่างไร รวมถึงการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ต้องทำอย่างไร

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ นี้ ปัจจุบันยังไม่ทราบ สาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผลเรื้อรังอย่างชัดเจนนัก โรคนี้จะมีอาการสำคัญสังเกตุได้จากอุจจาระมีความผิดปกติ หากไม่รักษาอาจ ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบเรื้อรัง นี้จะพบมากในคนตะวันตกมากกว่าคนเอเชีย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ รวมถึงประเทศแถบอากาศหนาวอย่าง สวีเดน นอร์เวย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนั้นพบน้อย ซึ่งจะพบมากในคนในแถบเมืองใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรค นี้แบบเรื้อรังนั้น ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้ชัดเจนนัก แต่เรื่องของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น มีผลต่อสาเหตุของโรค รวมถึงปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยเองมีผลต่อการเกิดโรคมาก เป็นที่ยอมรับว่าน่าเกิดจากผู้ป่วยบางคนมีพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด แต่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้พอประมาณ ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่ามีในผู้ป่วยโรคนี้ ร้อยละ 10 มีบิดาหรือมารดา เป็นโรคนี้ด้วย และร้อยละ 36 ของผู้ป่วยมีพี่น้องพ่อแม่เดียวกันเป็นโรคนี้เช่นกัน จากข้อมูลดังกล่าว สามารถระบุว่า พันธุกรรมมีผลต่อสาเหตุของการเกิดโรค
  • ระบบลำไส้ผิดปรกติ โดยไม่ตอบสนองต่อภูมิต้านทานโรค รวมถึงไม่มีการต่อต้านเชื้อโรค ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งลักษณะของการผิดปรกติต่อระบบภูมิต้านทานโรคนั้น เม็ดเลือดขาวมีส่วนต่อความผิดปรกตินี้ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานโรคมาจากเมฺดเลือดขาว
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้น ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบ และรักษาไม่ขายขาด ทำให้เกิดแผลเรื้อรัง ส่วนใหญ่โรคลำไส้ใหญ่อักเสบจะสันนิษฐานว่ามาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากทราบสาเหตุชัดเจนสามารถใช้ ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อได้
  • การสูบบุหรี่ เราพบว่า ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นคนสูบบุหรี่ส่วนมาก
  • กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มที่มีประวัติการใช้ยาแก้ปวด กลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDs) ซึ่งยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุของโรคได้
  • ความเครียด หรือ การถูกกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ทำให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุของการกำเริบของโรค
  • เคยมีประวัติการผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบ ก็อาจเป็นสาเหตุ เพราะจากสถิติของผู้เกิดโรคผู้เคยผ่าตัวไส้ติ่งมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน

ผลข้างเคียงของผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับโรคนี้ไม่ใช่โรคอันตราย แต่จำเป็นต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ลำไส้ใหญ่เกิดการพองตัวและเน่า ลำไส้ใหญ่เกิดการตีบตัน และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากโรคแทรกซ้อนแล้ว การปวดท้องส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย

อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

อาการของปผู้ป่วยที่พบ คือ ปวดท้องแบบเกร็ง กดที่ท้องจะเจ็บมาก มีอาการท้องเสีย ในผู้ป่วยบางคน อุจาระมีเลือดปน มีไข้สูง เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวซีด เป็นโลหิตจาง และน้ำหนักตัวลด สำหรับอาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 แบบ สามารถจำแนก คือ โรคCrohn’s disease และ โรคulcerative colitis รายละเอียด ดังนี้

  • โรค Crohn’s disease จะเกิดที่ระบบทางเดินอาหารได้ทุกส่วน ตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก ซึ่งส่วนมากจะเกิดบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ลักษณะของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ ผนังลำไส้อักเสบบวม เหมือนเป็นฝี ผนังลำไส้อักเสบเป็นแผลจนทะลุ และผนังลำไส้เกิดการอักเสบกระจายทั่วลำไส้ใหญ่
  • โรค Ulcerative colitis จะเกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่เท่านั้น จะเกิดที่ผนังลำไส้ โดยผู้ป่วย จะมีอาการ เช่น ข้ออักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ รวมด้วย

การวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ สามารถ สังเกตุจากอาการผิดปรกติของอุจจาระ ได้ จากนั้นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการเกิดโรคและสาเหตุของโรค เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง รายละเอียดการตรวจวินิจฉัยโรคมีรายละเอียด ดังนี้

  • การตรวจหาสารภูมิต้านทาน ชนิด Antineutro phil cytoplasmic antibodies (ANCA)
  • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ และเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การตรวจหาค่าการตกตะกอนของเลือด
  • การตรวจเลือด ดูปริมาณเม็ดเลือดแดง ปริมาณเกล็ดเลือด และสารอาหารในเลือด เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
  • การตรวจทางรังสี ด้วยการสวนแป้งที่ทวารหนักและเอกซเรย์ สามารถตรวจภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และการตัดชิ้นเนื้อลำไส้ใหญ่ เพื่อทำการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ การรักษาด้วยยา ได้ ซึ่งจากการวินิจฉัยโรคจะทำให้สามารถทราบว่าต้องใช้ยารักษาอะไรบ้าง ซึ่ง การรักษานั้นเป็น การรักษาอาการอักเสบของลำไส้  ยารักษาไม่ให้อาการกำเริบ ยาช่วยบรรเทาอาการของโรค ยาบรรเทาอาการแทรกซ้อน และยารักษาโรคที่อาจจะเกิดกับอวัยวะข้างเคียง รายละเอียดดังนี้

  • การใช้ยา รักษาอาการอักเสบของลำไส้ จะเป็นยากลุ่ม ยาสเตียรอยด์ (Steroids) และยากลุ่มต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory agents) สำหรับการรักษาอื่นๆ เช่น การให้ยาปฎิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยในลำไส้ใหญ่ รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
  • การใช้ยารักษา เพื่อควบคุมอาการอักเสบกำเริบ ซึ่งผู้ป่วยต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบ ต้องอยู่ในการควบคุมการสั่งยาของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • การใช้ยาช่วยบรรเทาอาการอื่นๆ ที่เป็นผลกระทบจาก ลำไส้ใหญ่อักเสบ เช่น การรักษาอาการถ่ายเหลว อาการท้องร่วง สามารถให้น้ำเกลือแร่ทดแทนการเสียน้ำในร่างกาย แต่ถ้าการถ่ายอุจจาระมีเลือดปนในปริมาณมากต้องให้เลือดทดแทนการเสียเลือดเป็นต้น
  • การรักษาอาการจากภาวะแทรกซ้อน เช่น หากลำไส้ใหญ่แตกหรือทะลุ จะมีเลือดออกมาก ซึ่งอาจไม่สามารถควบคุมได้ ต้องได้รับการโดยด่วน

ดูแลและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

สำหรับการดูแลและป้องกัน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง นั้นผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค และ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การดูแลและป้องกันโรคนั้น ต้องปรับเรื่องการออกกำลังกายและอาการที่รับประทานในแต่ละวัน รวมถึงพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดอาหาร ชนิดใดเป็นพิเศษ แต่ควรงดอาหารที่ไม่ดีต่อระบบการย่อยอาหาร หรือทำให้ลำไส้ทำงานหนัก เช่น อาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยว และงดการกินอาหารในปริมาณมากเกินไป อาหารจำพวก อาหารดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารหมักดอง ก็ต้องเลิกรับประทาน

การบำบัดรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบด้วยวิธีธรรมชาติ

สำหรับ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ นั้นมีวิธีในการรักษาแบบธรรมชาติ ซึ่งเรารวมรวมให้ความรู้ เช่น การฝังเข็ม การปรับการรับประทานอาหาร การใช้สมุนไพร การทานอาหารเสริม และการนวนฝ่าเท้า ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การฝังเข็มรักษา การฝังเข็มนั้นช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ การฝังเพื่อลดอาการปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ เป็นลักษณะการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค
  • การปรับการรับประทานอาหาร โดยลดอาหารบางชนิด ที่ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนัก โดยรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเบาลง โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูง เช่น ถั่ว รวมถึงงดอาหารจำพวก พาสต้า และขนมปัง
  • การใช้สมุนไพร มีสมุนไพร หลายชนิด ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบได้
  • การใช้อาหารเสริม ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง อาจขาดสารอาหารบางชนิด สามารถใช้อาหารเสริมทดแทนการขาดสารอาหารได้
  • การนวดกดจุดที่ฝ่าเท้า การนวดฝ่าเท่า ช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคยูซี ( Ulcerative colitis ) เยื่อบุผิวของลำไส้ใหญ่อักเสบ ทำให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร อุจาระมีเลือดปน มีไข้สูง เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวซีด เป็นโลหิตจาง น้ำหนักตัวลด โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดที่ลำไส้ใหญ่ รักษาไม่หายขาด สาเหตุ อาการ การรักษาทำอย่างไร ผู้ป่วยต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove