ขิง Ginger สมุนไพร ความต้องการของตลาดสูง นิยมนำขิงมาทำอาหาร สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร โทษของขิงมีอะไรบ้าง

ขิง สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของขิง

ต้นขิง ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger เป็นพืชที่พบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า zingiber offcinale Roscoe ชื่ออื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น ขิงไม่ได้เป็นเพียง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย เท่านั้น แต่ยัง ช่วยแก้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะได้ด้วย

เหง้าขิง มีความต้องการของตลาดสูงมาก นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ถือเป็นยาจากธรรมชาติ ที่ให้ทั้งประโยชน์ และ บรรเทาเยียวยาอาการต่างๆได้ เรามักนิยมใช้ ขิงแก่ เพราะ ยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมี สรรพคุณทางยา ที่มากกว่า ขิงอ่อน และยัง มีใยอาหาร มากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจาก ขิงมีรสเผ็ด มี คุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง พืชล้มลุก มีเหง้าลักษณะคล้ายมือ เปลือกเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น ซึ่งขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • เหง้าขิง อยู่ใต้ดินเป็นข้อๆ เนื้อในสีขาว หรือเหลืองอ่อน ปลายสุดของข้อจะเป็นที่แทงยอด หรือลำต้นเทียม ลำต้นสูงพ้นพื้นดินขึ้นมา 50-100 เซนติเมตร  มีกาบ หรือโคนใบหุ้ม
  • ใบขิง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอก ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ และจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม
  • ดอกชิง ลักษณะเป็นช่อทรงกระบอก แทงขึ้นมาจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออก ใบประดับสีเขียว มีแต้มแดงตรงโคน ดอกเกสรผู้มี 6 อัน ผลแห้ง แข็ง มี 3 พู

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

สำหรับการรับประทานขิงเป็นอาหารนิยมใช้เหง้าขิง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และมี สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม กากใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สารสำคัญในขิงมี Gingerol  Shogaol และ Diarylheptanoids  มีสรรพคุณต้านการอาเจียน และ ช่วยขับลม น้ำมันหอมระเหยของขิง มี Menthol  Cineole มีสรรพคุณลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง

สรรพคุณของขิง

การใช้ประโยชน์จากขิง ในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นิยมนำ เหง้าขิง หรือ หัวขิง มาใช้ประโยชน์โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และยังเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ต้นขิง รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นขิง ฝนทำยาแก้คัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • เนื่องจากขิงมีรสเผ็ด มีคุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่นผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือมีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทานควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ขิง ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ สามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนร้อนในได้
  • ขิง มีสพพรคุณช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove