โลหิตเป็นพิษ เกิดจากมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายอักเสบ อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย แนวทางการรักษาต้องหาเชื้อโรคที่อยู่ในกระแสเลือด

โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคติดเชื้อ

โลหิตเป็นพิษ หมายถึง ภาวะร่างกายติดเชื้อโรคหรือได้รับสารพิษ ซึ่งเชื่อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เนื่องจากโลหิตที่มีพิษไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เป็นอาการที่รุนแรง ผู้ป่วยจะเจ็บและปวดทั่วร่างกาย จัดว่าเป็นดรคที่มีความอันตรายมากโรคหนึ่ง

สาเหตุของโลหิตเป็นพิษ

ภาวะโลหิตเป็นพิษเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษ และ เชื้อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต จึงแสดงอาการต่างๆออกมา ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโลหิตเป็นพิษ

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษนั้น มีหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เราสามารถจำแนกปััจัยของการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การรับประทานยา ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การเกิดแผล การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น
  • ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุซึงกลุ่มอายุน้อยและกลุ่มอายุมาก ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดง่ายกว่าคนในกลุ่มปรกติวัยเจริญพันธ์

อาการภาวะโลหิตเป็นพิษ 

ผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตเป็นพิษ ลักษณะอาการจะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการสาเหตุของการติดเชื้อ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ ซึ่งการรักษาต้องเริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อก่อนจากนั้นจึงใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ แนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

หากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อเลือดที่มีพิษเข้าสู่อวัยวะต่างๆ สามารถทำให้เกิดการทำงานล้มเหล้วของอวัยวะนั้นๆได้ เช่น ปอดอักเสบเฉียบพลัน สมองอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ หัวใจอักเสบ หลอดดเลือดอักเสบ ซึ่งอาการต่างๆจะลามจนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

การป้องกันภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ไม่ลงไปแช่ในน้ำคลองที่สกปรก ไม่ลงไปเล่นโคลน แหล่งมลพิษทางอากาศ
  • สวมเครื่องมือป้องกัน เมื่อต้องทำกิจกรรมทีมีความเสียงเกิดอุบัตติเหตุ
  • หากเกิดแผลไม่ควรเปิดแผลสด ควรใช้ผ้าพันแผลปิดแผล เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคทางผิวหนัง
  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ปรุงสุก และ สะอาด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) อาการปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระสีดำ ปวดท้องตอนสายๆและตอนกลางคืนโรคกระเพราะ แผลในกระเพาะอาหาร แผลเป็บติค โรคระบบทาเดินอาหาร

แผลเพ็ปติก ภาษาอังกฤษ เรียก Peptic ulcer เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคแผลเพ็ปติก เป็นโรคยอดฮิต ของคนบนโลก พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของประชากรโลกมีโอกาสเป็น เป็นโรคนี้ หากปวดท้องเวลากลางคืน ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ท่านอยาจจะเกิดโรคแผลเพปติก แล้ว

โรคนี้เป็นอาการผิดปรกติของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คือ เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถเรียกอีกโรคหนึ่งว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร โรคแผลจียู หรือ โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น โอกาสของการเกิดโรคนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่จากสิถิติพบว่า คนอายุ 30 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคเพ็ปติก มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารนั้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มากในขณะที่ความสามารถในการต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง ทำให้กรดเกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล ซึ่งเราได้รวมสาเหตุของสาเหตุการเกิดแผลเพ็ปติก ได้ดังนี้

  1. แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร(H.pylori) เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่ม ที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผล
  2. แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานยาต้านอาการอักเสบ ยาแก้ปวดเช่น ซึ่งยาในกลุ่มเหล่านี้จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ หากใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น มีอาการเลือดออก แผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งหากผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร โอกาสของความรุนแรงของโรคก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. แผลในกระเพาะอาหารจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอาการโรคนี้เรื้อรัง ทายาทมีโอกาสเกิดโรคนี้มากถึง 3 เท่า
  4. การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเกิดแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นได้
  5. กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
  6. การดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน
  7. การรับประทานอาหารที่มีรสจัด และผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูง

อาการของผู้ป่วยโรคแผลเพ็ปติก

ลักษณะของอาการโรคแผลเพ็ฟติก นั้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ มีอาการเรื้อรัง มักจะปวดก่อนหรือหลังการรับประทานอาหาร อาการจะ ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียนและเรอเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ปวดท้องตอนสายๆ และปวดท้องตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบายตัว ลักษณะอาการจะเกิดหลังจากการกินข้าวไปแล้ว 3 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยเป็นหนักๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเพ็ปติก

การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เรื้อรังนั้น จะส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของการแผลในกระเพาะอาหารนั้นมีความอันตราย ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารมากอาจเกิดการช็อก จากการเสียเลือด เกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก สังเกตุได้จากอุจจาระเป็นสีดำ อาการแทรกซ้อนยังสามารถเกิด ลำไส้อุด ท้องผูก อาเจียนรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ และมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคแผลแพ็ปติก นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอีย ดังนี้

  • การรักษาโดยการให้ยาลดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาลดกรดในกระเพาะอาหารนั้น ให้รับประทานก่อนการรับประทานอาหาร
  • การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยต้องรับประทานอาหารนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์
  • การรักษาโดยการให้ยาแก้อาการอักเสบ ซึ่งยาแก้อักเสบนั้น ใช้สำหรับรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น จะใช้รักษาในลักษณะของผุ้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง และมีอาการหนัก ไม่สามารถใช้การรักษาด้วยยา หรือจำเป็นต้องรักษาอย่างเร่งด้วย ลักษณะของผู้ป่วยอาการแบบใดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด คือเมื่อเกิดโรคแผลเพ็ปติกขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยรายละเอียดของอาการที่ต้องระวังมี ดังนี้
    1. หากพบว่ามีอาการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หน้ามืด จะเป็นลม ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
    2. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง  นานเกิน 6 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ท้องแข็ง เป็นอาการแทรกซ้อนจากกระเพาะอาหารทะลุ หรือลำไส้ตีบตัน ต้องเข้ารับการผ่าตันโดยด่วน
    3. หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต มีก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ สงสัยอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด นิ่วน้ำดี

ข้อแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคแผลเพ็บติก

สำหรับอาการโรคแผลเพ็บติก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่สาเหตุหลัก คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ถูดต้องทำให้เกิดการทำร้ายกระเพาะอาหาร ข้อควรปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคแผลเพ็บติกมี ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
  • ลดการเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม
  • หลีกหลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอย์ และแอสไพริน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • คลายเครียด
  • หากมีอาการแผลในกระเพาะอาหาร ให้พบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แผลแพ็ปติก แผลในกระเพาะอาหาร ( Peptic ulcer ) ภาวะเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร อาการโรค เช่น ปวดท้องแสบๆ ตื้อๆ จุกเสียด คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว เจ็บที่ลิ้นปี่ ตัวซีด อุจจาระมีสีดำ ปวดท้องตอนสายๆ ปวดท้องตอนกลางคืน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove