หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย มี 2 ชนิด อ้อยเคี้ยว อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร

อ้อย สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณอ้อย

อ้อย ( Sugar cane ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. พืชตระกลูหญ้า สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล รสหวาน ประโยชน์ของอ้อย สรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก พืชเศรษฐกิจ ใช้ทำน้ำตาล รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการทำเอทานอล อ้อยมีสรรพคุณเด่น คือ ให้ความหวาน นิยมนมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารให้ความหวาน เรียกว่า น้ำตาล แต่อ้อยนั้นไม่ใช่แค่ให้วคามหวานเพียงอย่างเดียว อ้อยยังมีประโยชน์ด้านยารักษาโรค สมุนไพรไทย ด้วย เราจะมานำเสนอ เรื่อง อ้อย ว่า อ้อยเป็นอย่าไร ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย และการนำอ้อยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆ เป็นอย่างไร

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็น พืชล้มลุก การขยายพันธ์โดยการแตกกอ สามารถปลูกโดยใช้น้ำน้อย ลักษณะของต้นอ้อย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลำต้นมีสีแดงอมม่วงความสูงของลำต้นไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นของอ้อยจะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นของอ้อยจะเป็นข้อปล้องจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำมากและมีความหวาน
  • ใบอ้อย มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก มีหนามเล็กๆที่ขอบใบ
  • ดอกอ้อย ออกดอกที่ปลายยอด
  • ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
  • รากของอ้อยนั้นอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วลำต้น โดยรากของอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ และรากของหน่อ

สำหรับ อ้อยในประเทศไทย นั้น มีพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว และอ้อยสำหรับทำน้ำตาล

  • อ้อยเคี้ยว จะมีเปลือกและชานนิ่ม ให้วความหวานปานกลาง นิยมปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยมาดื่มสด ซึ่งพันธ์อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูก คือ อ้อยสิงคโปร์  พันธุ์มอริเชียส พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำอ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยพันธ์ดั้งเดิม ที่ปลูกในแถบเกาะนิวกินี สามารถเคี้ยวให้ความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป
  • อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เป็นอ้อยที่ถูกพัฒนาสายพันธ์ ให้น้ำมาก เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกทั่วโลก มีสายพันธ์ต่างๆ มากถึง 220 พันธ์อ้อย

สรรพคุณทางสมุนไพรของอ้อย

สำหรับตำราแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้ อ้อยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาหนองใน ขับนิ่ว ใช้ขับเสมหะ อ้อย นั้นสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ตั้งแต่ ราก และลำต้น ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • รากอ้อย ใช้นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี
  • ลำต้นอ้อย ใช้นำมาช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกของต้นอ้อย ช่วยแก้ตานขโมย รักษาโรคปากเป็นแผล

การนำอ้อยมาใช้ประโยชน์

สำหรับ ประโยชน์ของอ้อย นั้น เราสามารถแบ่งประโยชน์ของอ้อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยชน์การใช้โดยตรงจากอ้อย และการใช้อ้อยด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การใช้ประโยชน์จากอ้อยโดยตรง คือ เป็นอาหาร ให้ความหวาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากอ้อยนั้น จะให้ ชานอ้อย  กากตะกอน กากน้ำตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะได้น้ำตาลทรายที่เราใช้ปรุงอาหารแล้ว ชานอ้อย กากตะกอน รวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ชานอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อัดเป็นแผ่น  แผ่นกันความร้อน ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษชนิดต่าง ๆ ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำปุ๋ยหมัก  กากตะกอน ใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงา ผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน ผลิตลิปสติก กากน้ำตาล ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ทำผงชูรส ใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคน้ำอ้อยในปริมาณมาก และ ติดต่อกันนานเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานตามมาอีกมากมาย

อ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum officinarum L. อ้อย นั้นจัดเป็นพืชในตระกูลหญ้า ไผ่ สำหรับ อ้อยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง เป็นต้น อ้อย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน น้ำของต้นอ่อยมีความหวาน นำทำน้ำตาลรับประทาน นอกจากน้ำตาลแล้วอ้อยถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก คือ บลาซิล คิวบา และอินเดีย

การปลูกอ้อย

สำหรับ การปลูกอ้อย นั้น อ้อยจะมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะงอก ภาษาอังกฤษ เรียก germination phase เป็นระยะแรก คือ หน่อเริ่มโผล่พ้นดิน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน เป็นหน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เราเรียก หน่อแรก (primary shoot)
  • ระยะแตกกอ ภาษาอังกฤษ เรียก tillering phase ในระยะนี้การแตกกอของอ้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังปลูก และการแตกกอนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อ้อยสามารถแตกกอได้ดี คือ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอต้อง การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอให้ผลผลิตที่ดีได้
  • ระยะย่างปล้อง ภาษาอังกฤษ เรียก stalk elongation phase เมื่อปลูกอ้อยได้อายุ 4-8 เดือน อ้อยจะเข้าสู่ระยะย่างปล้อง คือ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านระยะ 8 เดือนแล้ว การเจริญเติบโตของอ้อยจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นฃ
  • ระยะแก่และสุก ภาษาอังกฤษ เรียก maturity and ripening phase ในระยะนี้อ้อยพร้อมให้ผลผลิตแล้ว อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย สามารถตัดผลผลิตไปใช้ประโยชน์

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove