ลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) เกิดจากหลายสาเหตุทั้งติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาการของโรคปวดท้องรวมกับท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกเลือดเหม็น อุจจาระสีซีด อ่อนเพลีย ลำไส้อักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคลำไส้

โรคลำไส้อักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Enterocolitis โรคลำไส้อักเสบ คือ ภาวะที่เกิดจากเนื้อเยื่อภายในลำไส้อักเสบ  ซึ่งสาเหตุของการอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อโรค แต่สามารถเกิดการอักเสบโดยไม่ติดเชื้อได้เหมือนกัน ลำไส้อักเสบ เกิดขึ้นกับทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้ลำไส้อักเสบ อาจเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ หรือ ทวารหนักอักเสบได้

การเกิดลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลัน จะเกิดการอักเสบอย่างกระทันหันภายในระยะเวลา 7 วัน แต่ถ้าหากอาการอักเสบเป็นๆ หายๆ เราจะเรียกว่า ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้อักเสบจะพบมากในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี

สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ สาเหตุของลำไส้อักเสบ นั้น เราสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ 2 ลักษณะ คือ อาการลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค และ โรคลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ คือ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต และเชื้อรา แต่เชื้อแบคทีเรีย เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบมากที่สุด เชื้อแบคทีเลียที่พบมากที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียอีโคไลและเชื้อแบคทีเรียสตาพีโลคอกคัส เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
    สำหรับเชื้อไวรัสนั้น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ คือ ไวรัสโรตา ไวรัสอะดีโน ไวรัสซีเอมวี ลักษณะของการติดเชื้อไวรัสเกิดจากระบบภูมิต้านทานร่างกายบกพร่อง ส่วนเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ คือ อะมีบา(Amoeba) พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิต แล้วเชื้อราก็คือ เชื้อโรคอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มักพบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
  • ลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบที่พบได้ไม่บ่อย ลักษณะของลำไส้อักเสบเกิดจาก ลำไส้ขาดเลือด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับกลุ่มที่มี ความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ เกิดจากปัจจัย 2 ส่วน คือ ปัจจัยของโรคที่สาเหตุจากการติดเชื้อและปัจจัยของโรคจากการไม่ติดเชื้อ สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด
  • นักท่องเที่ยวและนักเดินทาง อาจจะเดินทางไปในสถานที่ทีไม่สะอาดและเกิดการติดเชื้อโรคได้
  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน โอกาสในการรับเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัวได้
  • กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร
  • กลุ่มคนที่คนในนครอบครัวมีประวัติโรคระบบทางเดินอาหาร
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

อาการของผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคลำไส้อักเสบ นั้น จะมีอาการ ท้องเสียร่วมกับปวดท้อง ลักษณะปวดแบบบีบ นอกจากอาการปวดท้องแล้ว จะพบว่ามีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ คือ อุจจาระเหลวเป็นมูก มีเลือดปน กลิ่นเหม็นมากกว่าปรกติ อุจจาระสีซีดกว่ารกติ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย

อาการที่น่ากังวลคือ อาการเสียน้ำมาก จนร่างกายขาดน้ำ หากร่างกายเกิดช็อกต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลพบแพทย์โดยด่วน

การรักษาโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การรักษาโรคลำไส้อักเสบ นั้น ใช้การรักษาอยู่ 2 อย่าง คือ การรักษาสาเหตุของโรคและการประคับประครองอาการของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ที่สาเหตุของโรค เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคทีเป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการประคับประคองอาการของโรค เช่น การให้เกลือแร่เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ และการให้ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบนั้น มีวิธีดูแลตัวเอง

  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย
  • ให้ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ
  • ให้รับประทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มที่รับประทาน

การป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การป้องกันโรคลำไส้อักเสบ นั้นสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด โดยรายละเอียด ของการป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ ดังนี้ที่

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม
  • กินอาหารปรุงสุกเสมอ
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่สกปรกและแออัด
  • หากจำเป้นต้องไปอยู่ในสถานที่ไม่สะอาด ต้องทำความสะอาดชำระร่างกายให้สะอาดเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคลำไส้อักเสบ นั้น ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่โรคนี้หากเกิดภาวะเรื้อรัง จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ก็เป็นดี อาการปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก อาการเหล่านี้เป็น อาการของโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานานจากปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สามารถพบได้บ่อยในคนช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี และมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลำไส้อักเสบ รักษาอย่างไร อาการลำไส้อักเสบสามารถรักษาด้วยวิธีธรรมชาติได้

ซึ่ง ลำไส้อักเสบ โดยทั่วไปเป็น โรคที่ไม่รุนแรง ทางการแพทย์สามารถรักษาและควบคุมโรคได้ สำหรับอาการของโรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้  ซึ่งความสำคัญของโรคนี้เป็นอาการโรคเรื้อรัง ที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคลำไส้อักเสบ กันว่า เป็นอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาอย่างไร และป้องกันอย่างไร

โรคลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อลำไส้อักเสบ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งการติดเชื้อและการไม่ติดเชื้อ เกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานาน  เกิดกับลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ ทวารหนักอักเสบ อาการของโรคไส้อักเสบ คือ ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแลโรคทำอย่างไร

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis ) อาการปวดท้อง ท้องอืด ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะน้อย ไม่ถ่ายอุจาระ หัวใจเต้นเร็ว ระวังภาวะแทรกซ้อน

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ปัจจัยที่มีผลให้ช่องท้องอักเสบ

สำหรับปัจจัยของการเกิดช่องท้องอักเสบ ประกอบด้วย ตับแข็ง โรคท้องมาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคในช่องเชิงกราน ไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้บิด ลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อักเสบ อุบัติเหตุ การล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคช่องท้องอักเสบ

เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง การล้างไตทางหน้าท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ ไส้ติ่งแตก ช่องเชิงกรานอักเสบ หรือ อุบัติเหตุ โดยสาเหตุของการอักเสบที่ช่องท้องสามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ การติดเชื้อ และ การไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียดดังนี้

สาเหตุการอักเสบช่องท้องที่เกิดจากการติดเชื้อ

  • การที่อวัยวะภายในช่องท้องอักเสบติดเชื้อ โดยหากอวัยวะที่ถูกหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้เยื่อบุช่องท้องบริเวณใกล้เคียงเกิดการอักเสบไปด้วย ซึ่งก็จะเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือ การเกิดไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการผ่าตัด ไส้ติ่งก็จะแตกและทำให้เกิดการอัก เสบของเยื่อบุช่องท้องทั่วช่องท้องได้ หรือการอักเสบของลำไส้ส่วนที่พองเป็นกระเปาะชนิดเป็นมาแต่กำเนิด เรียกว่า Meckel’s diverticulitis ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน (แต่โรคMeckel’s นี้เป็นโรคพบได้น้อย)
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการทะลุของช่องทางเดินอาหาร โดยช่องทาง เดินอาหารทุกตำแหน่งสามารถเกิดการทะลุได้ ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในช่องทางเดินอาหารเหล่านั้น (แบคทีเรียประจำถิ่น หรือ Normal flora) ออกมาอยู่ในช่องท้อง และแบคทีเรียเหล่านั้นก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องขึ้น
  • การติดเชื้อที่เกิดจากเยื่อบุช่องท้องฉีกขาด โดยที่ทางเดินอาหารไม่ ได้ฉีกขาด เช่น การถูกแทงด้วยมีดและของแหลมคมต่างๆ ทะลุผ่านหน้าท้อง เชื้อโรคจากสิ่งของภายนอกนั้นๆ และจากผิวหนังจะผ่านเข้าสู่ช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบขึ้นมา ทั้งนี้การผ่าตัดหน้าท้องที่ไม่สะอาด ก็อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ช่องท้องได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง เรียกว่า Spontaneous bacterial peritonitis หรือเรียกว่า Primary peritonitis โดยส่วนใหญ่จะพบในคนที่เป็นโรคตับแข็ง ซึ่งจะทำให้มีน้ำในช่องท้อง โดยช่องทางที่เชื้อแบคทีเรียเข้ามาและทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบนั้นไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะตับที่เป็นโรคนี้ สูญเสียหน้าที่การกรองเชื้อโรคในเลือดจากหลอดเลือดที่เดินทางมาจากลำไส้เพื่อเข้าสู่ตับ ร่วม กับน้ำในช่องท้องที่มีอยู่ในผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่การมีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย หรือโรคไตชนิดที่เรียกว่า Nephrotic syndrome ก็สามารถทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้เช่น กัน เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ Spontaneous bacterial peritonitis มักจะเกิดจากเชื้อเพียงชนิดเดียวเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการทะลุของช่อง ทางเดินอาหารที่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดร่วมกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการฟอกไตด้วยวิธีผ่านทางช่องท้อง โดยผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องฟอกเลือดผ่านการเจาะสายเข้าช่องท้อง เชื้อโรคจากผิวหนังอาจเข้าช่องท้องผ่านมากับสายท่อที่ใช้เจาะ หรือเชื้อโรคอาจปนเปื้อนมากับน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไตก็ได้
  • การติดเชื้อที่เกิดจากร่างกายมีการติดเชื้อบางอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลายๆอวัยวะ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดวัณโรค สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้เกือบทุกอวัยวะ รวมทั้งเยื่อบุช่องท้องด้วย

สาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อ

  • เลือด อาจมาจากการเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องรุนแรงที่ทำให้ตับ หรือม้ามแตก เลือดจึงไหลเข้าช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ หรืออาจเกิดจากมีช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ของรังไข่ (เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่) หรือเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในช่องท้องน้อย เมื่อเกิดการแตกของซีสต์ หรือเยื่อบุ จะทำให้เลือดออกมาอยู่ในช่องท้องน้อยและเกิดการอักเสบตามมาได้
  • น้ำย่อยที่เป็นกรดจากกระเพาะอาหาร ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้างต้น หากกระเพาะอาหารเกิดการทะลุในช่วงที่มีปริมาณน้ำย่อยมาก ความเป็นกรดของน้ำย่อยจะทำลายเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้ แต่ความเป็นกรดของน้ำย่อยเองจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุได้
  • น้ำย่อยจากตับอ่อน ในกรณีตับอ่อนเกิดการอักเสบ หรือเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องที่รุนแรงจนตับอ่อนแตก น้ำย่อยก็จะไหลเข้าสู่ช่องท้องและทำให้เยื่อบุช่องท้องอัก เสบได้
  • น้ำดี โดยถุงน้ำดีอาจเกิดแตกทะลุจาก มีนิ่วในถุงน้ำดี จากโรคถุงน้ำดีอักเสบ หรือจากโรคมะเร็งถุงน้ำดี โดยปกติน้ำดีจะไม่มีแบคทีเรีย แต่องค์ประกอบของน้ำดีสามารถทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้
  • ปัสสาวะ โดยการเกิดอุบัติเหตุกระแทกบริเวณท้องน้อยที่รุนแรงจนทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาด น้ำปัสสาวะจึงไหลเข้าสู่ท้องน้อย และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุท้องน้อยได้

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ผู้ป่วยจะปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากช่องท้องอักเสบ เช่น โลหิตเป็นพิษ ช็อคจากโลหิตเป็นพิษ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปสร้างสารพิษ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ อันตรายถึงชีวิต การแข็งตัวของเลือด เกิดพังพืดในช่องท้องทำให้เกิดลำไส้อุดตัน ภาวะหายใจล้มเหลว

การตรวจโรคช่องท้องอักเสบ

สามารถทำได้โดย การเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเลือด การเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต ทำอัลตราซาวน์

การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ

สำหรับารรักษาอาการช่องท้องอักสบนั้น สามารถทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ งดน้ำ งดอาหาร และให้สารอาหารแก่ร่างกายโดยให้น้ำเกลือ ผ่าตัดล้างช่องท้อง ผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบจะถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาแบ่งออกเป็น การรักษาสาเหตุ การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และการรักษาแบบประคับประคอง

  • การรักษาสาเหตุ เช่น กรณีช่องทางเดินอาหารแตกทะลุ อวัยวะภาย ในที่ฉีกขาด หรือมีซีสต์แตก ก็ต้องรักษาโดยการผ่าตัด หากฟอกไตทางหน้าท้องอยู่ก็ต้องถอดสายที่ต่อเข้าช่องท้องออก เป็นต้น
  • การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ การรักษาหลัก คือการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ โดยให้ยาผ่านเข้าทางหลอดเลือด โดยยาจะต้องครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  • ส่วนการรักษาแบบประคับประคองก็จะทำร่วมไปด้วยกัน เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน การให้สารน้ำ และเกลือแร่

การป้องกันการเกิดโรคช่องท้องอักเสบ

สามารถทำได้โดย รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบี และแคลเซี่ยม โปรตีนที่มาจากถั่ว เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลา และหลีกเลี่ยงเนื้อแดง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมปัง และน้ำตาล งดชา กาแฟ และสุราดื่ม ให้น้ำวันละ 6-8 แก้ว

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis ) เกิดจากหลายสาเหตุ อาการของโรค คือ ปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากช่องท้องอักเสบ เช่น โลหิตเป็นพิษ การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove