มะขาม ( Tamarind ) ไม้ยืนต้น ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงผิว บำรุงหัวใจ ยาถ่ายพยาธิ ยาระบาย ไม้ผลในเขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ทวีปแอฟริกา

มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม

มะขาม  มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn  ชื่ออื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล มะขามเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ขามหวานมีหลายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง

ต้นมะขาม จัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม

มะขาม เป็นผลไม้ มีผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือกเมื่อแก่ (maturity) เป็นประเภทผลแห้ง (dry fruit) ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด ซึ่งฝักหนึ่งๆ จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดประมาณ 1-12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล มะขามในประเทศไทยแบ่งกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • มะขามเปรี้ยว (sour tamarind)
  • มะขามหวาน (sweet tamarind) ได้แก่ หมื่นจง สีทอง ศรีชมภู อินทผลัม น้ำผึ้’

ลักษณะของฝักมะขาม

  • ฝักดาบ มีลักษณะฝักค่อนข้างแบนและโค้งเล็กน้อยคล้ายดาบ
  • ฝักฆ้อง มีลักษณะฝักโค้งวนมาเกือบจรดกัน มีลักษณะเหมือนฆ้องวง
  • ฝักดิ่ง มีลักษณะฝักเหยียดตรงค่อนข้างยาว
  • ฝักดูก มีลักษณะเป็นปล้องๆ ข้อถี่ เปลือกนูนขึ้นมาเป็นเหลี่ยมมองเห็นได้ชัดเจน

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะขาม

การนำเอามะขามมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร นิยมนำมะขามมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางใช้บำรุงผิว  สรรพคุณอื่นๆ มากมายประกอบด้วย

  • ใบมะขาม มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ นำใบสดมาต้มน้ำอาบหลังคลอด ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย
  • เนื้อผลของมะขาม มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ขับน้ำนม
  • เปลือกของผลมะขาม นำมาทำยาฝาดสมาน เพราะในเปลือกมีสารพวกแทนนินสูง

สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ความเชื่อเกี่ยวกับมะขาม

มะขาม มีความหมายไปในทางดี คำว่า “ขาม” หมายถึง ความคร้ามเกรง ชาวไทยจึงนิยมปลูกต้นมะขามในบริเวณบ้าน เพื่อให้ศัตรูเกิดความเกรงขาม ไม่กล้าเข้ามาทำอันตราย ดังบทกลอน ในตำราปลูกต้นไม้ในบ้าน กล่าวไว้ว่า

“มะขามคุ้มไพรี ให้ปลูกไว้ปัจฉิมา” หมายความว่า มะขามคุ้มครองเจ้าของบ้านจากศัตรูได้ ให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของตัวบ้าน

ต้นมะขาม  เป็น ไม้ผล ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกลำต้นจะมีสีน้ำตาล แตกสะเก็ดเป็นร่อง ใบของมะขามจะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ปลายของใบและโคนใบมนมีสีเขียว ดอกของมะขามออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามปลายกิ่ง ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ผลของมะขาม จะเป็นฝักกลมเล็กยาว

มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Moringa oleifera Lam. ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree หรือ Drumstick ชื่ออื่นๆ เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร มีเปลือกสีขาว รากของมะรุมจะหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก รูปไข่ ใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมะรุม จะออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

  • คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

นิยมใช้ฝักมะรุมมาใช้ประโยชน์ พบว่ามะรุมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น

  1. ใช้รักษาโรคเบาหวาน นิยมให้ผู้ป่วยบริโภคมะรุม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป
  2. สามารถนำมาใช้รับประทาน เพื่อ ลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  4. มะรุมมีสารต้านอนุมูลอิสระ หากรับประทานสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้
  5. มะรุมสามารถใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับภายในช่องท้องได้ เช่น โรคพยาธิในลำไส้
  6. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
  7. มะรุมช่วยบำรุงสายตา เนื่องจาก ฝักของมะรุมมีวิตามินเอสูง

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มี อย ด้วย

มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย รักษาโรคปอด รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม Moringa oleifera Lam


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove