ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่

ลูกเดือย ธัญพืช สมุนไพร ลักษณะของต้นเดือยเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยบำรุงสมอง โทษของเดือย

เดือย ลูกเดือย สมุนไพร สรรพคุณของลูกเดือย

ต้นเดือย สามารถพบได้ในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดือย ภาษาอังกฤษ เรียก Adlay เดือย ชื่อวิทยาศาสตร์ เรียก Coix lacryma-jobi L ประโยชน์ของลูกเดือย สรรพคุณของลูกเดือย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยบำรุงสมอง ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงกระดูก แก้ร้อนใน แก้คลื่นไส้อาเจียน

เดือย สรรพคุณ เช่น ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงปอด ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงมดลูก ช่วยบำรุงไต ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ ช่วยขับพยาธิในเด็ก

คุณค่าทางโภชนากการของเดือย

ลูกเดือยให้คุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งนักโภชนาการ ศึกษาพบว่าในเดือย มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส มีกรดอะมิโน เช่น กรดกลูตามิก ลูซีน อลานีน โปรลีน วาลีน ฟินิลอลานีน ไอโซลูซีน อาร์จีนีน เป็นต้น และยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว อย่าง กรดลิโนเลอิก กรดโอเลอิค และกรดไขมันอิ่มตัว เช่น ปาล์มิติก และสเตียริก

ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับข้าว เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพาะปลูกมากแถวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเส้นใยอาหารสูง มีลักษณะของต้นคล้ายต้นข้าวโพด ลักษณะของเม็ดจะเป็นสีขาว ออกกลม ๆ รี ๆ รสชาติออกมันเล็กน้อย ลูกเดือยมีทั้งที่กินได้และกินไม่ได้ ชนิดที่กินได้นั้นจะมีเปลือกผลอ่อนซึ่งเรียกว่าเดือยกิน ปลูกไว้เพื่อใช้ทำเป็นอาหารและยา

หากพูดถึงธัญพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับข้าวนั้นลูกเดือยถือได้ว่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพืชพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทยอีกด้วย โดยลูกเดือยนั้นมีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวมีเส้นใยไฟเบอร์สูงลักษณะของต้นคล้ายกับต้นข้าวโพดลักษณะเม็ดจะออกเป็นสีขาวออกกลมๆรีๆ รสชาติของลูกเดือยนั้นจะออกรสหวานมันเล็กน้อยนั่นเอง โดยลูกเดือยนั้นถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงอีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยาที่มีความน่าสนใจโดยมีการใช้ในการบำรุงรักษาร่างกายกันยาวนานมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง

ลูกเดือย ถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากซึ่งในลูกเดือยเองนั้นจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิดที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างเช่นวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินอี อีกทั้งนี้มีแร่ธาตุที่สำคัญอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณที่สูงซึ่งรวมทั้งมีกรดอะมิโนจำเป็นอีกหลากหลายชนิดด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วคนจะรู้จักกับลูกเดือยในนามของธัญพืชแต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเดือยให้มากยิ่งขึ้นซึ่งเดือยนั้นถือได้ว่าเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็นช่วยในการปรับสมดุลร่างกายและลดความร้อนได้เป็นอย่างดี

เดือย ถือได้ว่าเป็น อาหาร สำคัญที่ ช่วยในการบำรุงร่างกาย และ บำรุงกำลัง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยในช่วงพักฟื้นรวมถึงเด็กและผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน ลูกเดือย ยังมี สรรพคุณ ที่ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้ผู้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ทั้งยัง ช่วยบำรุงสายตา รวมถึง บำรุงเส้นผม และ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว เดือย ยังเป็น ยาบำรุงร่างกายสำหรับสตรี โดยเฉพาะซึ่งจะ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงมดลูก อีกทั้งยังช่วยในการเหนียวนำให้มีการตกไข่และ แก้อาการสตรีตกข่าวมากผิดปกติ นั่นเอง ถือได้ว่าเดือยนั้นเป็น สมุนไพร ที่สามารถ ใช้บำรุงร่างกาย ที่ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว

ประโยชน์ของลูกเดือย

  • คุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและวิตามินต่างๆ หลายชนิด ตั้งแต่แคลเซียม ฟอสฟอรัส และมีกรดอะมิโน กรดไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนวิตามินนั้นมีตั้งแต่วิตามิน A วิตามิน B1 และ B2 รวมถึงวิตามิน E ด้วย
  • ช่วยป้องกันรักษาโรค ด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีในลูกเดือย ทำให้ลูกเดือยนั้นนอกจากจะทำอาหารหวานรับประทานเพื่อความอร่อย แล้วยังมีประโยชน์ในแง่การรักษาสุขภาพ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย
  • แก้อาการร้อนใน คลื่นไส้อาเจียน
  • แก้โรคนอนไม่หลับ และช่วยให้หายอ่อนเพลีย
  • ลดสภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอก
  • ช่วยต้านเชื้อโรค โดยเฉพาะแบคทีเรียและเชื้อรา เหมาะที่คนเป็นโรคกระเพาะ ลำไส้จะรับประทาน
  • บำรุงร่างกายผู้ป่วย ระหว่างพักฟื้น เพราะมีคุณค่าอาหารสูง
  • บำรุงสมองบำรุงผิวพรรณให้ผ่องใส ไม่เป็นกระ
  • บำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามิน A สูง
  • ป้องกันโรคเหน็บชา เนื่องจากมีวิตามิน B
  • บำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
  • ป้องกันโรคเบาหวาน เนื่องจากเป็นอาหารที่มีรสจืด สามารถรับประทานโดยไม่ใส่น้ำตาลก็อร่อยอีกแบบ หรือจะต้มรวมในการหุงข้าวก็ได้
  • รับประทานเป็นประจำ สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดี
  • ใช้บำรุงเลือด เหมาะกับสตรีหลังคลอดบุตร
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน และทำให้มีกระดูกแข็งแรง

ปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพเริ่มมีมากยิ่งขึ้นซึ่งทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งลูกเดือยเองก็ถือได้ว่าเป็นธัญพืชที่มีสารอาหารครบถ้วนและเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมดุลให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดีนั่นเองรวมไปถึงรักษาอาการต่างๆและยังช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียเชื้อราหรือว่าเชื้อยีสต์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ปัจจุบันนี้มีการนำลูกเดือยมาแปรรูปเป็นอาหารและยาบำรุงร่างกายมากยิ่งขึ้นซึ่งสำหรับการนำมาทำเป็นอาหารนั้นในปัจจุบันลูกเดือยสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวานโดยเฉพาะอาหารประเภทที่มีแป้งและน้ำเป็นส่วนผสมหลักนั่นเอง นอกจากนั้นแล้วปัจจุบันก็มีการนำลูกเดือยมาแปรรูปเป็นลูกเดือยอบกรอบและนำมาทำเป็นขนมหวานเช่นลูกเดือยเปียกเต้าทึงและน้ำลูกเดือยเป็นต้น
วิธีทำน้ำลูกเดือย
ส่วนผสมสำหรับทำน้ำลูกเดือย ประกอบด้วย ลูกเดือย 100 กรัม ธัญพืชตามชอบใจ เม็ดบัว อัลมอนด์ หรืออื่นๆ น้ำตาลทราย น้ำเปล่า 6 ถ้วย

ขั้นตอนการทำน้ำลูกเดือย มีดังนี้  แช่ลูกเดือยไว้อย่างน้อย 1 คืนเพื่อให้ลูกเดือยนิ่ม จากนั้นนำลูกเดือยที่นิ่มแล้ว เติมน้ำลงไป แล้วนำไปปั่น ถ้าเป็นสมัยโบราณจะใช้เครื่องโม่ แต่ยุคปัจจุบันมีเครื่องปั่นไฟฟ้า สามารถกะความหยาบละเอียดได้ตามต้องการ เมื่อปั่นแล้ว ค่อยนำไปกรองเพื่อแยกน้ำกับกากการกรองนั้นขึ้นอยู่กับความชอบว่า ต้องการให้เหลือแต่น้ำลูกเดือยล้วนๆ หรือให้มีกากผสมด้วยนิดหน่อย นำน้ำลูกเดือยที่กรองแล้วไปตั้งบนไฟอ่อน ๆ เติมน้ำตาลทรายลงไป กะความหวานตามชอบ ส่วนใหญ่สาวๆ ไม่นิยมให้หวานนัก เมื่อคนจนน้ำตาลละลายหมดแล้ว จึงยกขึ้นพักไว้ให้ความร้อนคลายตัว แล้วจึงรับประทาน หรือถ้าชอบแบบอุ่นๆ ก็รับประทานได้เรื่อยๆ เหมือนการดื่มน้ำเต้าหู้ได้ทั้งร้อนทั้งเย็นตามชอบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove