ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น ติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส Neisseria meningitides อาการไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง ซึม ชัก เลือดออกตามผิวหนัง เสียชีวิตอย่างรวดเร็วไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เกิดจากการติดเชื้อโรคเมนิงโกค็อกคัส ซึ่งเป็นการติดต่อจากคนสู่คน โดยไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค การติดต่อเกิดจากการหายใจเอาเชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ปะปนอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย รวมถึงสารคัดหลั่งจากเยื่อบุจมูก ตา หรือปาก โรคไข้กาฬหลังแอ่นจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลาย เสมหะ โดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือ การผายปอดช่วยชีวิต ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้

อาการของผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับอาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น พบว่าผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น ปวดหัวมากปวด ตามตัว มีอาการคลื่นไส้ สุดท้ายจะคอแข็งและหลังแอ่น ส่วนมากผู้ป่วยจะมีผื่นเป็นจุดเลือดบนผิวหนัง และผู้ป่วยที่มีตึ่มน้ำตามผิวหนังนั้นพบไม่มาก ในรายที่มีอาการหนัก เชื้อโรคจะเจ้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายเป็นเรื้อรัง หลายเดือน ซึ่งอาการสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มผู้ติดเชื้อ คือ อาการที่พบในเด็กเล็ก และ อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น โดยรายละเอียดของอาการมีดังนี้

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กเล็ก

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • มีอาการอาเจียน
  • ซึม นอนตลอดเวลา
  • มีผื่นขึ้นตามแขน ขา และตามตัว
  • ผิวเป็นรอยจ้ำ

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กวัยรุ่น

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ปวดหัว
  • มีอาการอาเจียน
  • เกร็งที่คอ มีอาการคอแข็ง
  • ซึมลง
  • เกิดผื่นขึ้นตามขาและแขน
  • สายตาสู้แสงจ้าๆไม่ได้

อาการที่สำคัญที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง เกิดผื่นตามแขนขา

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น มียาปฏิชีวนะใช้รักษา สามารถรักษาได้โดยการให้ยาแอมพิซิลลิน (ampicillin) ยาเพนิชิลสิน (penicillin) ยาคลอแรมฟีนีนิคอล (Chloram­phenicol) ยาซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide) แต่การรักษานั้น จะรักษาใน 3 ลักษณะ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ การประคับประคองอาการ และ การรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้ 

การใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ผู้ป่วยจะถูกรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และแยกห้องเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • การรักษาหลักคือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยในเบื้องต้น
  • หากยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่นอนจากทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะให้ยาปฏิ ชีวนะชนิดที่ครอบคลุมการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เนื่องจากการเป็นโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆบางโรค ผู้ป่วยจะมีไข้และผื่นที่เป็นจุดเลือดออกคล้ายกับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นได้ ยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่ม Cephalosporin รุ่นที่ 3 หรือใช้ยา Meropenem เป็นต้น
  • ในกรณีที่ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะเลือก ใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อ เช่น ยา Penicillin G หรือยา Chloramphenicol เป็นต้น

การรักษาด้วยการประคับประคอง เป็นลักษณะของการให้ยลดไข้ การให้น้ำเกลือป้องกันภาวะการขาดน้ำ ทำให้ช็อก และ การกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกที่ต่อมหมวกไต และการให้ยาช่วยให้เลือดแข็งตัว ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือไม่แข็งตัว

การรักษาภาวะแทรกซ้อน

  • ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
  • ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
  • อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

  1. ให้วัคซีนป้องกันโรค กับผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  2. ปรับปรุงสุขอนามัยให้สะอาด ปราศจากดรค
  3. หากพบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นให้นำผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น ติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส Neisseria meningitides โรคติดต่อ อาการรุนแรง มีไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง อาการซึม ชัก เลือดออกตามผิวหนัง และ เสียชีวิต อย่างรวดเร็ว โรคติดต่อทางระบบหายใจ

โรคกาลี แอนแทรกซ์ Anthrax ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการมีไข้ ปวดตัว เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก ตัวเขียว เสียชีวิตในที่สุดโรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

แอนแทรกซ์ ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่เกิดกับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น มักไม่ค่อยทำให้เกิดโรคในคน เกิดจากเชื้อโรคชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งสามารถอยู่ในที่ต่างๆเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารได้รับเชื้อได้ง่าย เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกาย จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

โรคแอนแทรกซ์ในคน

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

คนมีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก เป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

โรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการโรคแอนแทรกซ์ คือ มีไข้ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ แต่แพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove