โยคะท่านกพิราบ ( Pigeon Pose ) ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน แก้ปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่วยกระตุ้นต่อมเพศอีกด้วย

ท่านกพิราบ โยคะ การฝึกโยคะ โยคะพื้นฐาน

ท่านกพิราบ นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงยาก การฝึกท่านกพิราบจะเน้นเฉพาะร่างกายส่วนล่างที่การเปิดสะโพกก็ได้ หรือจะเน้นที่ร่างกายส่วนบนคือการเปิดไหล่และแอ่นหลังด้วยก็ได้ หรือจะเน้นการยืดเฉพาะบริเวณหน้าขาส่วนบนและเอวก็ได้เช่นกัน

วิธีฝึกโยคะท่านกพิราบ

  1. เริ่มต้นท่านี้ด้วยการนั่งเหยียดขาซ้ายตรงไปด้านหลัง ส่วนขาขวาเหยียดไปด้านหน้าโดยงอเข่าเข้ามาให้ส้นเท้าขวาอยู่ใกล้กับต้นขาซ้าย
  2. พยายามคว่ำสะโพกลงให้แนบชิดติดพื้น ยืดหลังให้ตรง เปิดอกเปิดไหล่ มองตรงไปด้านหน้า ท่านี้อาจจะทำให้รู้สึกตึงๆบริเวณขาหนีบ แต่ถือว่าเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยให้เลือดไหลเวียนเป็นอย่างดี
  3. จากนั้นให้งอเข่าซ้ายขึ้นตั้งเป็นมุมฉากประมาณ 90 องศา แล้วใช้ข้อพับแขนซ้ายเกี่ยวปลายนิ้วเท้าซ้ายเอาไว้ มือขวาให้พับข้อศอกยกขึ้นชี้ฟ้า แล้วอ้อมมือขวาไปจับมือซ้ายไว้ด้านหลังศรีษะ
  4. แหงนหน้ามองตามศอกขวา ทำค้างไว้ 30-60 วินาที โดยหายใจเข้า- ออกช้าๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากนั้นค่อยๆ ปล่อยมือขวาออกจากมือซ้ายเพื่อทำสลับข้างกัน

โยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก แถมยังช่วยกดนวดบริเวณกระดูกสันหลังให้รู้สึกผ่อนคลาย ตั้งแต่บั้นเอวลงไป เคล็ดลับของท่านี้อยู่ที่การคว่ำสะโพก ยิ่งคว่ำสะโพกได้มากเท่าไร ยิ่งช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบและสะโพกได้มากเท่านั้น การคว่ำสะโพกที่ถูกวิธียังส่งผลให้เราสามารถฝึกฝนท่าโยคะที่ต่อเนื่องให้ยากขึ้นไปอีก ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและการฝึกฝนของแต่ละบุคคล

การออกกำลังกายโยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose ท่านี้ช่วยให้รูปร่างบริเวณบั้นเอวลงไปกระชับมากขึ้น ช่วยลดต้นขาให้เล็กลง ทำให้ ขาเรียว น่องเรียว แถมเอวเล็กลงอีกด้วย หากฝึกฝนท่านี้เป็นประจำจะทำให้รู้สึกสดชื่น เพราะท่านี้ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง หัวไหล่ บริเวณต้นคอ และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อสะโพกอีกด้วย

การออกกำลังกายโยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose เป็นท่าโยคะที่เหมาะกับพนักงานออฟฟิตมาก เพราะเป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานบนเก้าอี้เป็นเวลานานๆ แต่ท่านี้ไม่เหมาะกับกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสะโพก หรือกระดูกสันหลัง เพราะอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นจากท่านี้ได้ ก่อนฝึกฝนโยคะท่านี้ควรสำรวจความพร้อมของร่างกาย และ ควรมีการอบอุ่นร่างกายเพื่อคลายเส้นที่ตึงของร่างกายให้พร้อมกับการฝึกฝน นอกจากจะลดการบาดเจ็บแล้ว ยังทำให้คุณยืดหยุ่นกล้ามเนื้อได้มากขึ้นด้วย

สะโพกของคุณนั้นเป็นระบบศูนย์รวมที่ซับซ้อนของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูก และเส้นเอ็นยึดข้อที่มีความสำคัญต่อการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย การนั่งแหมะหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันทำให้สะโพกไม่ได้ขยับยืดเหยียดอย่างที่มันต้องการ กิจกรรมอย่างการวิ่ง การเดิน หรือการปั่นจักรยานนั้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับสะโพกก็จริง ทว่ามันไม่ได้ช่วยสะโพกได้ยืดเหยียดหรือยืดหยุ่น และลงท้ายอาจยิ่งทำให้มันรู้สึกตึงขึ้นไปอีก ความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้สะโพกรู้สึกตึง เพราะเรามักทิ้งน้ำหนักตัวลงบนบริเวณสะโพก สลายความตึงของสะโพกไปด้วยการใช้ท่านกพิราบขาเดียว หรือ Eka Pada Rajakapotasana เข้าไปในการเล่นโยคะหรือในการออกกำลังกายของคุณ

การฝึกโยคะ ท่านกพิราบ ( Pigeon Pose ) ท่าโยคะพื้นฐานที่แสนง่ายแต่ให้ผลลัพธ์ดีเกินคาด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ใครที่อยากขา การออกกำลังกายโยคะ ท่านกพิราบ Pigeon Pose ท่าโยคะพื้นฐานที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ไม่ว่าจะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถือว่าโยคะท่านี้เอาอยู่ ท่านี้ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน และช่วยกระตุ้นต่อมเพศอีกด้วย

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102

โยคะท่าต้นไม้ ( Tree Pose ) ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ท่านี้เน้นไปทางสมาธิ ช่วยบริหารความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เท้า ข้อเท้า รวมไปถึง กระดูกสันหลังและกระดูกลำคอ

โยคะท่าต้นไม้ โยคะ โยคะพื้นฐาน การฝึกโยคะ

การฝึกโยคะ ท่าต้นไม้(Tree Pose) ทำให้จิตใจของคุณสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าอยากฝึกสมาธิเพื่อผลดีต่อทางร่างกายและจิตใจแล้ว คุณไม่ควรพล การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose โยคะท่านี้เน้นไปทางสมาธิ เพราะการจะทำท่านี้ให้ชำนาญได้ ต้องอาศัยความสงบทางจิตใจ เมื่อใดที่คุณไม่สามารถทำโยคะท่าต้นไม้ได้ นั่นบ่งบอกว่าจิตใจของคุณกำลังฟุ้งซ่าน เหตุผลที่เรียกท่านี้ว่าท่าต้นไม้เพราะต้นไม้สื่อไปเห็นถึงความมั่นคงและสงบนิ่ง เท้าที่วางราบกับพื้นสื่อไปถึงรากไม้ โดยมีขาเปรียบเป็นลำต้น โดยมีแขน ไหล่ ลำตัว ศรีษะ เป็นกิ่งก้านใบ ท่านี้ช่วยบริหารความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เท้า ข้อเท้า รวมไปถึง กระดูกสันหลังและกระดูกลำคอ

วิธีการฝึกโยคะท่าต้นไม้

  1. นี้เริ่มด้วยการยืนตัวตรง ให้เท้าทั้งสองข้างชิดกัน ยืดหลังให้ตรง เปิดอก เปิดไหล่ หน้ามองตรง โดยให้แขนและมือแนบกับลำตัว
  2. จากนั้นยกขาขวาขึ้นแล้วจับข้อเท้าไปวางบนต้นขาซ้ายด้านใน โดยให้โก่งมากที่สุด ทำการทรงตัว พยายามให้จิตจดจ่ออยู่กับท่า ปล่อยวางภาระหน้าที่ทั้งหลาย ทำสมาธิ พอทรงตัวได้แล้ว
  3. ยกมือขึ้นพนมไว้ที่กลางอกหรือจะยกขึ้นไว้เหนือศรีษะ โดยให้แขนเหยียดตรง ผลักแขนไปให้ไกลหลังใบหู หายใจเข้าให้ลึกๆ แล้วหายใจออกช้าๆจนหมดลม ค้างไว้ซัก 30-60 วินาทีหรือตามความชำนาญ
  4. เสร็จแล้วก็ยกขาลงแล้วทำสลับกับขาอีกข้างนึง

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ ท่าต้นไม้

  • ช่วยยืดและทำให้กล้ามแข็งแรง โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อส่วนต้นขา ส่วนน่อง ข้อเท้าและส่วนสันหลัง
  • ช่วยความสมดุลของร่างกายดี
  • ช่วยปรับบุคลิกภาพให้หลังตรง
  • ช่วยลดอาการปวดหลัง รวมถึงลดอาการปวดที่ฝ่าเท้า

ข้อห้ามในการฝึกโยคะ ท่าต้นไม้

  • ท่านี้ไม่เหมาะสำหรับคนที่ปวดหัวอยู่
  • สำหรับคนทีี่มีอาการนอนไม่หลับไม่ควรทำท่านี้
  • สำหรับคนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ ให้งดการทำท่านี้
  • สำหรับคนที่มีปํญหาที่กรระดูกสันหลังไม่ควรทำท่านี้

การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose ท่านี้พยายามทิ้งน้ำหนักลงไปที่อุ้งเท้าด้านใน จะทำให้ทรงตัวได้ดีขึ้น ในการฝึกฝนครั้งแรกคุณอาจจะส่ายไปส่ายมา ยืนนิ่งไม่ได้ คุณไม่ควรละความพยายาม ฝึกฝนบ่อยๆจนชำนาญ แล้วจะสามารถทรงตัวได้ ตอนแรกๆอาจจะยังยืนไม่ตรง แต่เชื่อว่าไม่มีอะไรเกินความสามารถของมนุษย์เราได้ หลักๆของการฝึกโยคะท่านี้คือสมาธิ

การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose ช่วยทำให้ร่างกายเกิดสมดุล ท่านี้ช่วยลดอาการปวดสะโพก ปวดหลัง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อต้นขา น่อง ได้เป็นอย่างดี ทำให้คุณมีการทรงตัวที่ดี ไม่ว่าจะยืน เดินหรือนั่ง ช่วยสร้างเสริมบุคลิคภาพ ให้ดูสุขุม สงบนิ่งและมีสมาธิ

การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกหลัง กระดูกคอ รวมไปถึงกระดูกสะโพก เพราะอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มได้ และกลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยงท่านี้คือ คนที่มีปัญหาปวดศรีษะ มีความดันโลหิตต่ำ หรือนอนไม่หลับ เพราะอาจจะสร้างสมาธิในการฝึกฝนได้ยาก และอาจทำให้บาดเจ็บระหว่างการทรงตัวก็เป็นได้ การฝึกโยคะท่านี้ ควรสำรวจอาการและศักยภาพของผู้ฝึกด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove