ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง

ต้นมะลิ สุมนไพรกลิ่นหอม ดอกไม้ประจำวันแม่ พืชท้องถิ่น ลักษณะของต้นมะลิ เป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ สำหรับโทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ ( Arabian jasmine) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะลิ คือ Jasminum sambac (L.) Aiton ชื่อเรียกอื่นๆของต้มมะลิ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ก็คือ ต้นมะลิ แต่แตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น ถิ่นกำเนิดของต้นมะลิอยู่ในประเทศอินเดีย

มะลิในประเทศไทย

สำหรับต้นมะลิในประเทศไทย เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมมาช้านาน ดอกมะลิ นำมาใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในวัฒรธรรม ประเพณี และ ในอาหาร ดอกมะลิ เป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำมาร้อยพวงมาลัยบุชาพระ พวงมาลัยแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ ต้นมะลิยังเป็น ไม้มงคล คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์

ลักษณะของต้นมะลิ

ต้นมะลิ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การปักชำ และ การตอนกิ่ง ต้นมะลิชอบดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ลักษณะของต้นมะลิ มีดังนี้

  • ลำต้นมะลิ ลักษณะกลม แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร
  • ใบมะลิ ลักษณะใบเป็นใบประกอบ ออกเรียกสลับกันตามกิ่งก้าน ใบสีเขียว ลักษณะเหมือนขนนก รูปไข่รี ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน
  • ดอกมะลิ ลักษณะดอกออกเป็นกระจุก ในหนึ่งกระจุกมีหลายดอก ดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมะลิมีสีขาว กลิ่นหอม
  • ผลมะลิ ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากมะลิ สรรพคุณแก้ร้อนใน ขับประจำเดือน แก้เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก
  • ใบมะลิ สรรพคุณแก้ไข้ รักษาแผลฟกชำ แก้ปวดท้อง แก้แน่นท้อง รักษาอาการท้องเสีย รักษาแผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • ดอกมะลิ สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด แก้ปวดหัว แก้หืดหอบ บำรุงหัวใจ

โทษของมะลิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะลิ ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากมะลิ ดังนี้

  • รากของมะลิ มีความเป็นพิษ หากกินรากมะลิ อาจทำให้สลบได้
  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือ ใส่ในอาหาร หรือ ขนม เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์
  • ดอกมะลิ ไม่ควรนำมารับประทาน เพราะ อาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้จุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ อาจมีสารตกค้าง ควรล้างทำความสะอาด หรือใช้ดอกมะลิจากแหล่งที่เชื่อว่าสะอาด

ต้นมะลิ สุมนไพรกลิ่นหอม ดอกไม้ประจำวันแม่ พืชท้องถิ่น ลักษณะของต้นมะลิ เป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ สำหรับโทษของมะลิ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove