กัญชา สมุนไพรแสนวิเศษ มีทั้งประโยชน์และโทษ ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท รักษามะเร็งได้ ต้นกัญชาเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ช่วยเจริญอาหาร โทษของกัญชามีอะไรบ้าง

กัญชา สมุนไพร

ปัจจุบัน การครอบครองกัญชาผิดกฏหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก กัญชา เป็นสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สิ่งที่ทำให้กัญชาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล ( THC ) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งจาก 483 ชนิด การใช้กัญชา ด้วยการเสพ สูบดม หรือ บริโภคน้ำมันกัญชา จะทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ผ่อนคลาย และอยากกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เกิดผลข้าวเคียงสามารถสังเกตุได้ คือ ปากแห้ง การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ตาแดง เป็นต้น

ต้นกัญชา ภาาอังกฤษ เรียก Cannabis ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชา คือ Cannabis sativa L. ชื่อเรียกอื่นๆของกัญชา เช่น ปาง ยานอ คุนเช้า คุณเช้า ต้าหมา เป็นต้น กัญชา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีการปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย และกระจายไปทั่วโลก ทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และสหรัฐอเมริกา

ลักษณะของต้นกัญชา

ต้นกัญชา เป็นพืชล้มลุก สามารถ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ถ้าปลูกในดินร่วนซุยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์จะงอกงามดีมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นกัญชา มีดังนี้

  • ลำต้นกัญชา ลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกสาขา ความสูงได้ประมาณ 1 เมตร
  • ใบกัญชา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขนาดใบที่ฝ่ามือ ใบลักษณะเป็นแฉกๆ 5 ถึง 8 แฉก ใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบเป็นสีเทาอ่อน ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว
  • ดอกกัญชา ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกกัญชาเป็นสีเหลือง และ สีเขียว
  • ผลกัญชา ลักษณะเป็นผลแห้ง มีขนาดเล็ก ผลเป็นรูปรีมน ผลมีผิวเรียบและเป็นมัน สีน้ำตาล ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กลักษณะกลมๆ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชา

มีการศึกษาสารเคมีและสารอาหารในกัญชา พบว่ามี สารcannabinol สารcannabidiol สารtetrahydrocannabinol (THC) ย่ำมันหอมระเหยของกัญชา มีสารcannabichromenic acid สารlinolledie acid สารlecihin โปรตีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 และ choline เป็นต้น

  • สารtetrahydrocannabinol (THC) สามารถใช้รักษาโรคได้หลายอาการ เช่น แก้ปวด ลดอาการเกร็ง รักษาอาการกล้ามเนื้อชักกระตุก รักษาโรคพาร์กินสัน รักษาโรคอัลไซเมอร์
  • สาร cannabinol สามารถใช้รักษาอาการปวด แต่สรรพคุณยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด และมีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลาย เคลิ้ม และ ทำให้ความจำเสื่อม

สรรพคุณของกัญชา

สำหรับการใช้ประโยชนืจากกัญชา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ด ใบ ดอก หรือ ทั้งต้น สรรพคุณของกัญชา มีดังนี้

  • เมล็ดกัญชา สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง แก้กระหายน้ำ เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี
  • ยอดอ่อนใบกัญชา สรรพคุณเป็นยาช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ทำให้นอนหลับ แก้บปวด
  • ดอกกัญชา สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกัญชา สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม
  • ทั้งต้นกัญชา สรรพคุณช่วยให้ประจำเดือนมาตามปรกติ รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลือน รักษากล้ามเนื้อกระตุก

โทษของกัญชา

กัญชา มีทั้งประโยชน์และโทษ การสูบกัญชาทำให้เกิดการเสพติด ทำลายระบบประสาทและสมอง ซึ่งการใช้ประโยชน์จากกัญชา ต้องเลือกใช้เฉพาะส่วนที่มีประโยชน์ โทษของกัญชา มีดังนี้

  • การเสพกัญชา ส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง ผู้เสพกัญชาจะมีอาการ คล้ายเมาเหล้า เซื่องซึม และ ง่วงนอน หากเสพในปริมาณมากติดตอกันนานๆ จะเกิดอาการหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หวาดระแวง ความคิดสับสน และควบคุมตัวเองไม่ได้
  • การเสพกัญชา ผู้เสพบางราย อาจสูญเสียความทรงจำได้ บางคนมีปัญหาเรื่องการทรงตัว กัญชามีฤทธิ์ทำลายสมรรถภาพทางกาย
  • การเสพกัญชาทำให้เสื่ิมสมรรถภาพทางเพศ ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายลดลง

กัญชา พืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษ มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรคได้ ลักษณะของต้นกัญชา เป็นอย่างไร สรรพคุณของกัญชา ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร โทษของกัญชา มีอะไรบ้าง

ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove