ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับเป็นอย่างไรบ้างต้นกระจับ กระจับ สรรพคุณของกระจับ สมุนไพร

ต้นกระจับ ชื่อสามัญ เรียก Water Chestnut  กระจัม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Trapa bicornis Osbeck ชื่อเรียกอื่นๆของกระจับ เช่น กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย สำหรับต่างประเทศที่ปลูกต้นกระจับมาก เช่น จีน ไต้หวัน และ อินเดีย เป็นต้น

ประเภทของต้นกระจับ

สำหรับการแบ่งประเภทของต้นกระจับ สามารถแบ่งประเทของกระจับได้ 2 ประเภท คือ กระจับสองเขา และ กระจับสี่เขา รายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระจับสองเขา ได้แก่ กระจับเขาแหลม และ กระจับเขาทู่
  • ต้นกระจับสี่เขา ได้แก่ กระจ่อม ( Jesuit Nut ) และ กระจับ ( Tinghara Nut )

ต้นกระจับในประเทศไทย

กระจับ พบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นลักษณะของวัชพืชน้ำ ประเทศไทยไม่นิยมปลูกกระจับเพื่อประโยชน์ทางอาหาร แต่พบว่ามีการนำกระจับมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ สำหรับการปลูกต้นกระจับเพื่อรับประทานฝัก และ เพื่อจำหน่ายฝักกระจับ พบว่ามีการปลูกมากในทุกภาค เช่น ภาคกลาง ( ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี ) ภาคใต้ นครศรีธรรมราช

คุณค่าทางโภชนากการของกระจับ

สำหรับคุณค่าทางอาหารของกระจับ นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเนื้อฝักกระจับ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 117 แคลอรี่ มีความชื้น 70% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.6 มิลลิกรัม

ต้นกระจับ

ต้นกระจับ นั้นเป็นพืชน้ำ เหมือนบัว ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงมีนาคมของทุกปี ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นของกระจับ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นส่วนหนึ่งจะโผล่บนผิวน้ำ ลำต้นมีช่องอากาศ เลื้อยยาวเป็นปล้องๆ รากเป็นสีน้ำตาล รากจะแตกออกบริเวณข้อปล้องของลำต้น สามารถหยั่งลึกลงได้
  • ใบของกระจับ มี 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำ และ ใบเหนือผิวน้ำ ใบเหนือผิวน้ำ รูปทรงข้าวหลามตัด ฐานใบกว้าง ท้องใบ ก้านใบ และ เส้นใบ ใบเรียบ สีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนใบใต้น้ำ ลักษณะคล้ายราก มีสีเขียว ลำใบเป็นฝอย เรียวยาว จะแตกออกบริเวณข้อของลำต้น
  • ดอกของกระจับ ดอกจะแทงออกบริเวณซอกใบเหนือน้ำออก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีขาว
  • ฝักของกระจับ มีลักษณะคล้ายหน้าควาย มีเขา 2 ข้าง เปลือกฝักแข็ง สีดำ เนื้อฝักมีสีขาว

ประโยชน์ของกระจับ

สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ มารับประทานเนื้อของฝักกระจับ สามารถนำเอามาทำอาหารหวานและอาหารคาวได้มากมาย ส่วนฝักกระจับก็สามารถนำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนต้นกระจับหลายคนนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เหมือนบัว ต้นกระจับนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ นำมาทำยาแก้ปวดท้อง นอกจากนั้น ต้นกระจับที่เหลือจากการนำมาใช้ประโชยน์นั้นนิยมนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถวับน้ำได้ดี เหมาะแก่การปลูกพืช

สรรพคุณของกระจับ

การใช้ประโยชน์จากกระจับด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น นิยมใช้ประโยชน์จาก ลำต้นหรือเง้า ใบกระจับ เนื้อฝักกระจับ และ เหลือกฝักกระจับ โดยสรรพคุณของกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นและเหง้าของกระจับ สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ บำรุงครรภ์
  • ใบของกระจับ สรรพคุณช่วยถอนพิษต่างๆได้
  • เนื้อฝักกระจับ สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก
  • เปลือกฝักกระจับ สรรพคุณแก้อาการปวดท้อง แก้ท้องเสีย

โทษของกระจับ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระจับนั้น มีประโยชน์ แต่ก็มีโทษและข้อควรระวังอยู่บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลแก่ของกระจับ มีลักษณะแหลม และ มักจะอยู่ตามโคลนตม ซึ่งมองไม่เห็น หากไม่ใส่เครื่องป้องกันเท้าอาจเหยียบกระจับจนได้รับบาดเจ็บได้ หากเกิดการติดเชื้อโรคอาจเป็นเรื่องใหญ่มากกว่านี้อีกมาก
  • ต้นกระจับ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งหากปล่อยให้ต้นกระจับแพร่กระจายมากเกินไป อาจทำให้เกิดเป็นวัชพืชปกคลุมผิวน้ำ ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้
  • ต้นกรัจับหากปล่อยให้เจริญเติบโตโดยไม่ควบคุมปริมาณจะส่งผลต่อการจราจรทางน้ำได้

ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์ของกระจับ สรรพคุณของกระจับ เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับ ต้นกะจับ อย่างละเอียด

ต้นเผือก Taro สมุนไพร คาร์โบไฮเดรตสูง ทดแทนข้าวได้ ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือกเผือก ต้นเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก

เผือก มีชื่อสามัญว่า  Taro ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott จัดเป็นพืชตระกูลบอน ชื่อเรียกกอื่นๆของเปือก คือ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับสายพันธ์ของต้นเผือกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์

ต้นเผือก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย แอฟริกา และในหมู่เกาะในอเมริกากลาง สำหรับ ประเภทของเผือก สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเอดโด ( eddoe ) และ ประเภทแดชีน ( dasheen ) สำหรับ เผือกในเมืองไทย นิยมปลูกกัน 4 สายพันธ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไหหลำ และ เผือกตาแดง

เผือกในประเทศไทย

จากเนื้อหาข้างต้นที่กล่าวถึง สายพันธ์เผือก ในประเทศไทย มี 4 สายพันธ์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เผือกหอม เป็นเผือกประเภทแดซีน ( dasheen type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดของหัวใหญ่ มีกลิ่นหอม หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่  นิยมปลูกเพื่อรับประทาน และ เพื่อการค้า
  • เผือกเหลือง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก เปลือกของหัวสีเหลือง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกตาแดง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ปลายหัวจะมีสีแดง มีลูกเผือกจำนวนมาก ใบเล็ก สีแดง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกไหหลำ เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddoe type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก หัวเผือกเป็นทรงกระบอก เรียวยาว ไม่นิยมรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก ซึ่งพบว่าเผือกมีสารอาหารต่างๆมากมาย โดยได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี  มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินA 76 หน่วยสากล วิตามินB1 0.095 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.025 มิลลิกรัม วิตามิน B3 0.600 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.303 มิลลิกรัม วิตามิน B6 0.283 มิลลิกรัม วิตามิน B9 22 ไมโครกรัม วิตามิน C 4.5 มิลลิกรัม วิตามินE 2.38 มิลลิกรัม วิตามินK 1.0 ไมโครกรัม แคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม โซเดียม 11 มิลลิกรัม สังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ ซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกขนาด ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน วิธีขยายพันธุ์เผือก สามารถขยายพันธ์ได้ 4 วิธี คือ การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ การใช้หัวพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยลักษณะของต้นเผือก มีลักษณะ ดังนี้

  • หัวของเผือก มีลักษณะกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ขนาดและรูปร่างของหัวเผือแตกต่างกันตามพันธ์ของเผือก เผือกมีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
  • ใบเผือก ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบ เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ใบยาวถึง 1 เมตร
  • ดอกเผือก จะออกดอกเป็นช่อ เป็นออกเดี่ยว หรือ หลายๆช่อ ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบานเรื่อย ๆ
  • ผลเผือก เป็นสีเขียว เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด

ประโยชน์ของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก นั้น สามารถนำมาทำเป็นอาหาร บำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค โดย ใบของเผือกสามารถรับประทานเป็นผัก ส่วนหัวของเผือกสามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ส่วนประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคจะกล่าวในส่วนของเนื้อหาเรื่องสรรพคุณของเผือก

สรรพคุณของเผือก

เผือกนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค ได้ ทั้งส่วนของ หัวเผือก ใบ และ ก้านใบ โดยลักษณะ ดังนี้

  • หัวเผือก สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาลดไข้ ช่วยป้องกันฟันผุ บำรุงกระดูก ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • ใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • น้ำยางของเผือก สรรพคุณใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • กาบใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้พิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการบริโภคและการใช้ประโยชน์จาเผือก มีข้อควรระวังอยู่บ้าง คือ ต้นเผือกทั้งต้น มีผลึกแคลเซียมออกซาเลต ( Calcium oxalate ) มีฤทธิ์ทำให้คัน ไม่ควรรับประทานเผือกแบบดิบๆ ซึ่งการกินเผือกแบบดิบๆ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คันในช่องปาก ทำให้ลิ้นชา ได้

ต้นเผือก ( Taro ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ใช้เป็นอาหาร บำรุงร่างกาย ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก บำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือก เรื่องน่ารู้ทั้งหมดเกี่ยวกับเผือก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove