กาแฟ ( Coffee ) สมุนไพร ช่วยกระตุ้นระบบประสาท กาแฟอาราบิก้า กาแฟโรบัสต้า ลต้นกาแฟเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกาแฟ โทษของกาแฟมีอะไรบ้างต้นกาแฟ กาแฟ สรรพคุณของกาแฟ ประโยชน์ของกาแฟ

กาแฟ นิยมนำเอาเมล็ดของกาแฟมาคั่วและทำเป็น เครื่องดื่ม ปัจจุบันมีการปลูกกาแฟมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้มากมาย และ มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกาแฟมากมาย เรื่ิองเกี่ยวกับกาแฟจึงเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับคนรักกาแฟ

ชนิดของกาแฟ

สำหรับสายพันธุ์ของกาแฟ ที่นิยมปลูกกันทั่วโลกนั้นมี 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอาราบิก้า (Coffee arabica) และ กาแฟโรบัสต้า ( Robusta coffee) รายละเอียดและจุดเด่นของกาแฟแตละชนิด มีดังนี้

  • กาแฟอาราบิก้า ชือสามัญ คือ Arabian coffee ชื่อวิยาศาสตร์ของกาแฟอาราบิก้า คือ Coffea arabica L.
  • กาแฟโรบัสต้า ชื่อสามัญ คือ Robusta coffee ชื่อวิทยาศาสตร์ของกาแฟโรบัสต้า คือ Coffea canephora Pierre ex A.Froehner

จุดเด่นของกาแฟอาราบิก้า

สำหรับกาแฟอาราบิกา มีจุดเด่นที่กลิ่นหอม มีสารกาแฟสูง ทำให้กระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา กาแฟชนิดนี้มีคาเฟอีนต่ำ มีคุณภาพสูง ในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟอาราบิก้ามากบนดอยสูงทางภาคเหนือ

จุดเด่นของกาแฟโรบัสต้า

สำหรับกาแฟโรบัสต้า มีจุดเด่นที่เหมาะสำหรับนำมาผลิตเป็นกาแฟสำเร็จรูป กาแฟโรบัสต้าเมื่อดื่มแล้วจะรู้สึกได้ถึงความนุ่ม ชุ่มคอ  มีปริมาณของกาเฟอีนสูงกว่ากาแฟอาราบิก้าถึง 2 เท่า สำหรับการปลูกกาแฟโรบัสต้าในประเทศไทยมีการปลูกกันมากทางภาคใต้ เขตพื้นที่ราบ ตามจังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดชุมพร

ลักษณะของต้นกาแฟ 

สำหรับลักษณะของต้นกาแฟเราจะขอแนะนำลักษณะของกาแฟทั้ง 2 ชนิด โดยรายละเอียด ดังนี้

ต้นกาแฟอาราบิก้า เป็นไม้พุ่ม มีขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 2 ถึง 4 เมตร ต้นกาแฟนั้นจะสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

  • ใบกาแฟอาราบิก้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ใบรูปไข่ ปลายแหลม โคนแหลมเล็กน้อย ขอบใบเรียบ เป็นมัน
  • ดอกกาแฟอาราบิก้า ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผลกาแฟอาราบิก้า ผลสด ทรงกลม สีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีแดง

ต้นกาแฟโรบัสต้า  เป็นไม้พุ่ม มีขนาดเล็ก ความสูงประมาณ 2 ถึง 4 เมตร  สามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธีการเพาะเมล็ด

  • ลำต้นของกาแฟโรบัสต้า เป็นข้อและปล้อง โคนใบจะอยู่ตามข้อของลำต้น ความสูงของลำต้นประมาณ 2 ถึง 4 เมตร
  • ใบของกาแฟโรบัสต้า เป็นใบเดี่ยว โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นคลื่น ผิวใบเรียบ เป็นมัน
  • ดอกกาแฟโรบัสต้า ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกจะออกเป็นกลุ่มๆ ตามโคนใบบนข้อของกิ่ง ดอกจะออกจากกิ่งแขนงจากข้อที่อยู่ใกล้กับลำต้น
  • ผลกาแฟโรบัสต้า ผลมีรูปทรงรี ผลดิบเป็นสีเขียว ผลสุกสีเหลือง สีส้ม และ สีแดง

สรรพคุณของกาแฟ

สำหรับกาแฟนั้นมีสรรพคุณในการเป็นยารักษาโรคและบำรุงร่างกาย ได้ หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดย สรรพคุณของกาแฟ มีดังนี้

  • กาเฟมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ
  • ช่วยลดความอ่อนล้า
  • ช่วยลดความเครียด
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยชูกำลังได้
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • ช่วยขยายหลอดเลือดแดง
  • ช่วยลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรน
  • ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งตับ ได้
  • ช่วยลดน้ำระดับตาลในเลือด
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในเส้นเลือด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยละลายไขมัน ทำให้ไขมันเกิดการแตกตัว ช่วยเพิ่มไขมันดี ( HDL )
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบ ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด
  • ช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคเกาต์ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อ
  • ช่วยป้องกันโรคหนังตากระตุก ช่วยลดอัตราการกระตุกของกล้ามเนื้อ

โทษของกาแฟ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกาแฟ ส่วนมากนิยมนำเมล็ดกาแฟคั่วบดมาชงเป็นเครื่องดื่ม ซึ่งสำหรับโทษและข้อควรระวังในการดื่มกาแฟ มีดังนี้

  • กาเฟ มี คาเฟอีน คุณสมบัติคล้ายยาเสพติดแบบอ่อนๆ หากดื่มกาแฟเป็นประจำ ทำให้ติดกาแฟได้ หากไม่ได้ดื่มอาจจะรู้สึกมีความทุกข์มากขึ้น เมื่อร่างกายขาดกาเฟอีน การหยุดดื่มกาแฟอย่างกะทันหัน จะทำให้มีอาการปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร่างกายอ่อนเพลีย และ ง่วงนอนได้
  • การดื่มเครื่องดื่มกาแฟที่มีน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น สำหรับผู้ป่วยเบาหวานต้องหลีกเลี่ยงกาแฟใส่น้ำตาล
  • การดื่มกาแฟ ทำให้หลับไม่สนิท ทำให้ช่วงเวลาที่หลับนั้นสั้นลง อาจทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การดื่มกาแฟ ทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กาแฟมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยง
  • กาแฟ มีฤทธิ์ลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก การดื่มกาแฟควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟในขณะท้องว่าง เพราะจะเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เป็นโรคกระเพาะได้
  • กาแฟ มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ และ ลดการดูดโซเดียม โพแทสเซียม และ แคลเซียมออกจากไต อาจเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนสำหรับผู้หญิงได้
  • การดื่มกาแฟในริมาณมากๆ เป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดการเป็นหมันได้
  • การดื่มกาแฟในระหว่างการตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้อัตราเสี่ยงของการตายของทารกหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น สตรีตั้งครรภ์ควรเพิ่มความระมัดระวังในการดื่มกาแฟ

ต้นกาแฟ ( Coffee ) สมุนไพร ช่วยกระตุ้นระบบประสาท กาแฟอาราบิก้า กาแฟโรบัสต้า ลักษณะของต้นกาแฟ คุณค่าทางโภชนาการของกาแฟ สรรพคุณของกาแฟ โทษของกาแฟ มีอะไรบ้าง เรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับกาแฟ

แห้ว Water Chestnut สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นแห้วเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาเบาหวาน โทษของแห้วมีอะไรบ้าง

แห้ว ต้นแห้ว สรรพคุณของแห้ว สมุนไพร

ต้นแห้ว มีชื่อสามัญ ว่า Water Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ของแห้ว คือ Eleocharisdulcis Trin. ต้นแห้วมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน และ ประเทศในเขตอบอุ่น สามารถปลูกได้ทั่วไป แห้วเป็น พืชชายน้ำ ที่นิยมนำหัวของแห้วมารับประทาน เนื้อของหัวแห้ว ขาว มีรสหวาน นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น แป้ง หรือ แห้วกระป๋อง เป็นต้น

แห้วในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้น เริ่มมการนำแห้วจีนเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดย กำนันวงษ์ ปลูกในนาข้าวของกำนันวงษ์ ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันการปลูกแห้วมีการปลูกมาก เฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ตามแถบแม่น้ำท่าจีน

ชนิดของแห้ว

ต้นแห้ว ที่นิยมนำมาปลูกนั้น มี 3 ชนิด คือ แห้วหมู แห้วไทย และ แห้วจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู มีลักษณะเด่นของแห้วชนิดนี้ คือ ลำต้นขนาดเล็ก กลม สั้น แตกใบสูงกว่าลำต้น แตกหัวออกตามไหล หัวแห้วมีขนาดเล็ก เปลือกหัวแห้วสีดำอมน้ำตาล เนื้อสีขาว แข็ง รสเผ็ดร้อน
  • แห้วไทย ลักษณะ คือ ลำต้นสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ใบเป็นสามเหลี่ยม เปลือกของหัวแห้วมีสีดำ และแข็งเป็นริ้ว เนื้อของหัวแห้วมีสีขาว เมื่อให้ต้มสุกแล้วเนื่อจะเป็นสีเหลืองอ่อน หัวเล็กกว่าแห้วจีน
  • แห้วจีน นิยมปลูกมากที่สุดในไทย ลักษณะ คือ ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ใบเป็นทรงกลม เหมือนหญ้า หัวแห้วทรงกลม เปลือกของหัวแห้วสีน้ำตาลไหม้ เนื้อของหัวแห้วสีขาว

ลักษณะของต้นแห้ว

ต้นแห้ว เป็นพืชล้มลุก อายุแค่ปีเดียว ลักษณะคล้ายข้าว ปลูกในที่ที่มีน้ำมาก สำหรับรายละเอียดของต้นแห้ว มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและหัวของแห้ว เป็นแบบไรโซม มีการแตกไหล หัวแห้ว มีลักษณะทรงกลม ค่อนข้างแบน หัวแห้ว สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ หัวแห้วที่เกิดเมื่อต้นแห้วอายุ 6 ถึง 8 สัปดาห์  และ หัวแห้วที่เกิดช่วงแห้วออกดอก
  • ลำต้นของแห้ว เป็นลักษณะกก ลำต้นมีทรงกลม ลำต้นตั้งตรง แข็ง และ อวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1.5 เมตร
  • ใบของแห้ว เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะกลม ยาว สีเขียว
  • ดอกของแห้ว จะออกดอกเป็นช่อ ออกที่บริเวณยอดของลำต้น ช่อดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกแห้วจะแทงออกเมื่อลำต้นสูงประมาณ 15 เซนติเมตร
  • ผลของแห้ว เรียก เมล็ด มีขนาดเล็ก สีน้ำตาลอมดำ

ประโยชน์ของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นแห้วนั้น ประโยชน์หลักของแห้วนั้น นิยมนำหัวแห้วมาทำอาหารรับประทาน ซึ่งหัวแห้วมีคุณสมบัติคล้ายยแป้งข้าวโพด สามารถนำแห้วมาทำแป้งได้ ทำอาหารสัตว์ได้ ส่วนใบและลำต้นของแห้วสามารถนำมาทำเครื่องจักรสานได้ เช่น หมวกสาน ตะกร้า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว

สำหรับหัวแห้วนั้นเป็นส่วนที่นิยมนำมารับประทาน โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวแห้ว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 730 กิโลจูล มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 48.2 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 32.1 กรัม กากใยอาหาร 14.9 กรัม น้ำตาล 3.3 กรัม แคลเซียม 17.6 มิลลิกรัม สังกะสี 0.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โซเดียม 0.8 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม

สรรพคุณของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแห้วด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นัั้น จะใช้ หัวแห้วและใบแห้ว โดยรายละเอียด สรรพคุณของแห้ว มีดังนี้

  • หัวแห้ว สรรพคุณ แก้อักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาเบาหวาน แก้กระหายน้ำ กระตุ้นการย่อยอาหาร ลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับน้ำนม รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้ท้องผูก แก้อาการเมาเหล้า รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยให้หูดอ่อนนิ่มลง
  • ใบแห้ว สรรพคุณ แก้อาการปวดเหงือก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในช่องปาก รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการปวดบวม

โทษของแห้ว

สำหรับโทษของแห้วนั้น เนื่องจากเนื้อแห้วมีความแข็ง ทำให้ระบบการย่อยอาหาร และ กระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ พึ่งผ่าการผ่าตัดลำไส้หรือกระเพาะอาหารมา รวมถึงคนป่วยโรคเกี่ยวกับม้าม ควรหลีกเลี่ยงการกินแห้ว

แห้ว ( Water Chestnut ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร นิยมรับประทานหัวแห้ว ต้นแห้วเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของแห้ง ประโยชน์ของแห้ว สรรพคุณของแห้ว เช่น ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน กระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยขับน้ำนม เป็นต้น โทษของแห้วมีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove