กานพลู clove tree สมุนไพร ส่วนประกอบของเครื่องเทศ มีประโยชน์มากมาย บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับลม ขับของเสียออกจากร่างกาย ลักษณะของต้นกานพลูเป็นอย่างไร

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ SyZagium aromaticum สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์ เป็นต้น แหล่งกำเนิดของกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ ปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น

กานพลูในประเทศไทย สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทยมีน้อยมาก แต่ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากกานพลูมาก โดยใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ประเทศไทยจึงต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก โดยการนำเข้ากานพลูมีมากกว่า 100 ตันต่อปี และ ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศแล้ว กานพลูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค ซึ่งตำรายาสมุนไพรของไทยใช้ดอกกานพลูแห้งนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน นำดอกกานพลูแห้งบดให้ละเอียดชงกับน้ำดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลูเป็นไม้ยืนต้น ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ  ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู ลักษณะลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทาความสูงประมาณ 10 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ
  • ใบกานพลู ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวรูปวงรี ออกเรียงแบบตรงข้าม ขอบเป็นคลื่น สีแดงหรือน้ำตาลอมแดง และบริเวณเนื้อใบจะค่อนข้างเหนียวและมัน 
  • ดอกกานพลู ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ โดยดอกนั้นมักร่วงหล่นจากต้น กลีบดอกมีสีขาว ส่วนกลีบเลี้ยงและฐานดอกจะมีสีแดงหนาๆ แข็งๆ ส่วนผลจะมีลักษณะรูปทรงไข่

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการบริโภคกานพลูเป็นอาหารนิยมใช้ดอกแห้งกานพลูเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ากานพลูมีสารสำคัญมากมาย เช่น  แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง

ดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมันระเหยได้ จากการศึกษาพบมีสาร ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol) และประมาณ 20 % ของน้ำมันกานพลู มี กรดแกลโลแทนนิค ( gallotannic acid ) ประมาณ 10% มีสารโครมีนส์ ( chromenes ) สารคารีโอไฟลีน ( caryophylline )  และกรดไตรเตอฟีน ( triterpene acid )

สรรพคุณของกานพลู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก ใบ เปลือกของลำต้น และ ผล รายละเอียดของสรรพคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกของกานพลู สรรพคุณแก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สรรพคุณรักษาแผลไฟไหม้ แก้ผื่นคันแก้ปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สรรพคุณช่วยบรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง
  • เปลือกต้นกานพลู สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ลม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆนั้นจำเป็นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธีและได้รับการแนะนำจากแพทย์ผู้มีความรู้ ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรระวังการใช้กานพลู
  • ดอกกานพลูมีสาร eugenol ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันจากดอกกานพลู ใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ เพื่อระงับกลิ่นปากได้ แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

สะระแหน่ Mint นิยมรับประทานใบและใช้รักษาโรค ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของสะระแหน่ ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืด ช่วยขับลม โทษมีอะไรบ้าง

สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mint ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Ment ha aruensis Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใบสะระแหน่คล้ายกับมิ้นต์มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติคล้ายตะไคร้ สามารถใช้ แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย นิยมนำมาทำอาหาร เพราะ ให้กลิ่นหอม

ประโยชน์ของสะระแหน่ นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของการทำอาหารและทำเป็นยา ซึ่งตามตำรายาของแพทย์แผนไทย นำสะระแหน้มาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ท้องเฟ้อ เป็นต้น นอกจากนี้ สะระแหน่มีสารยูเจนอล สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น สามารถสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา

ลักษณะของต้นสะระแหน่

สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยบนดิน ใบกลม ขอบใบหยัก สีเขียว มีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบสีขาว สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • ลำต้นสะระแหน่ ลำต้นสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสะระแหน่จะทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก
  • ใบสะระแหน่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ใบมีสีเขียว รูปทรงรี ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลสะระแหน่ ผลมีสีดำ ขนาดเล็ก เป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับการรับประทานสะระแหน่เป็นอาหารนิยมรับประทานใบสะระแหน่เป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสะระแหน่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 47 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 88 มิลลิกรัม เบต้า แคโรทีน 538 ไมโครกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารสำคัญ ประกอบด้วย เมนทอล ( Menthol ) ไลโมนีน ( Limonene ) นีโอเมนทอล ( Neomenthol ) สามารถนำมาเป็นส่วนปะกอบของผลิตภัณฑ์ทางอุสาหกรรมต่างๆมากมาย

สะระแหน่ มีสารยูเจนอลที่สามารถทำลายแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแทนนินและเทอร์เพนท์ที่ใช้ในการเป็นยาเย็น

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนทั้งใบและลำต้น ซี่งสรรพคุณของสะระแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • การใช้สะระแหน่ทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินสะระแหน่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำมันสะระแหน่หากตกตัวในลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove