ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบมีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ ภาษาอังกฤษ เรียก Egg woman พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกใต้ใบ คือ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของลูกใต้ใบ เช่น หญ้าใต้ใบ ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หน่วยใต้ใบ มะขามป้อมดิน จูเกี๋ยเช่า เป็นต้น

ลูกใต้ใบ พืชตระกูลเดียวกับมะขาป้อม พืชที่มีประโยชน์ทางสมุนไพร สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ

ชนิดของลูกใต้ใบ

สำหรับต้นลูกใต้ใย สามารถแบ่งชนิดได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย

  • Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
  • Phyllanthus debilis Klein ex Willd.
  • Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ)
  • Phyllanthus virgatus G.Forst.

ในประเทศไทยมีการค้นพบลูกใต้ใบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด คือ ลูกใต้ใบดอกขาว ( Phyllanthus sp.1 ) ลูกใต้ใบตีนชี้ ( Phyllanthus sp.2 ) และ ลูกใต้ใบหัวหมด ( Phyllanthus sp.3 )

ลักษณะของต้นลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของต้ยลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • ลำต้นลูกใต้ใบ ลำต้นมีรสขมมาก ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบลูกใต้ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบแบบขนนกชั้นเดียว โคนใบมนแคบ ปลายใบมนกว้าง มีหูใบ สีขาวนวล
  • ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ดอกออกบริเวณโคนของก้านใบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลลูกใต้ใบ ลักษณะกลมแบน ผลของผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลจะเกาะติดที่ใต้โคนใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ มีสารอาการสำคัญ ประกอบด้วย ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคดเมียม และ สารหนู

สารเคมีที่พบในลูกใต้ใบ ประกอบด้วย สารแทนนิน ( Tannins ) ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) ลิกแนนส์ ( Lignans ) ไกลโคไซด์ ( Glycosides ) และ ซาโปนิน ( Saponin ) เป็นต้น

สรรพคุณลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ทั้งตน ใบ และ ผล สรรพคุณของลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • รากลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา รักษาโรคตา ช่วยลดไข้ รักษามาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลฟกช้ำ
  • ทั้งต้นลูกใต้ใบ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้หืด แก้กระหายน้ำ  ช่วยขับเสมหะ รักษาดีซ่าน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ป้องกันพยาธิในเด็ก ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูขาว ชวยขับประจำเดือน รักษาไข้ทับระดู รักษากามโรค รักษาเริม รักษาฝี
  • ผลลูกใต้ใบ สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาพิษตาซาง บำรุงตับ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ลูกใต้ใบมีสรรพคุณขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ลูกใต้ใบ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ก่อนใช้สมุนไพรลูกใต้ใบ ควรศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณ โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบ มีอะไรบ้าง

ต้นมะลิ สุมนไพรกลิ่นหอม ดอกไม้ประจำวันแม่ พืชท้องถิ่น ลักษณะของต้นมะลิ เป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ สำหรับโทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ ( Arabian jasmine) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะลิ คือ Jasminum sambac (L.) Aiton ชื่อเรียกอื่นๆของต้มมะลิ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ก็คือ ต้นมะลิ แต่แตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น ถิ่นกำเนิดของต้นมะลิอยู่ในประเทศอินเดีย

มะลิในประเทศไทย

สำหรับต้นมะลิในประเทศไทย เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมมาช้านาน ดอกมะลิ นำมาใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในวัฒรธรรม ประเพณี และ ในอาหาร ดอกมะลิ เป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำมาร้อยพวงมาลัยบุชาพระ พวงมาลัยแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ ต้นมะลิยังเป็น ไม้มงคล คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์

ลักษณะของต้นมะลิ

ต้นมะลิ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การปักชำ และ การตอนกิ่ง ต้นมะลิชอบดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ลักษณะของต้นมะลิ มีดังนี้

  • ลำต้นมะลิ ลักษณะกลม แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร
  • ใบมะลิ ลักษณะใบเป็นใบประกอบ ออกเรียกสลับกันตามกิ่งก้าน ใบสีเขียว ลักษณะเหมือนขนนก รูปไข่รี ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน
  • ดอกมะลิ ลักษณะดอกออกเป็นกระจุก ในหนึ่งกระจุกมีหลายดอก ดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมะลิมีสีขาว กลิ่นหอม
  • ผลมะลิ ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากมะลิ สรรพคุณแก้ร้อนใน ขับประจำเดือน แก้เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก
  • ใบมะลิ สรรพคุณแก้ไข้ รักษาแผลฟกชำ แก้ปวดท้อง แก้แน่นท้อง รักษาอาการท้องเสีย รักษาแผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • ดอกมะลิ สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด แก้ปวดหัว แก้หืดหอบ บำรุงหัวใจ

โทษของมะลิ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นมะลิ ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากมะลิ ดังนี้

  • รากของมะลิ มีความเป็นพิษ หากกินรากมะลิ อาจทำให้สลบได้
  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือ ใส่ในอาหาร หรือ ขนม เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์
  • ดอกมะลิ ไม่ควรนำมารับประทาน เพราะ อาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้จุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ อาจมีสารตกค้าง ควรล้างทำความสะอาด หรือใช้ดอกมะลิจากแหล่งที่เชื่อว่าสะอาด

ต้นมะลิ สุมนไพรกลิ่นหอม ดอกไม้ประจำวันแม่ พืชท้องถิ่น ลักษณะของต้นมะลิ เป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ สำหรับโทษของมะลิ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove