ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย ราชาสมุนไพร ต้นสมอไทยเป็นอย่างไร สรรพคุณของสมอไทย ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทยลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทย

สมอไทย ( Chebulic Myrobalans ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมอไทย Terminalia chebula Retz. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของ สมอไทย เช่น หมากแน่ะ ม่าแน่ สมออัพยา ลูกสมอ เป็นต้น ต้นสมอไทย เป็นพืชท้องถิ่น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย โดยเฉพาะ การขับสารพิษในร่างกาย

ฉายา ราชาสมุนไพร คือ ฉายาของสมอไทย ด้วยสรรพคุณพิเศษช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และ สามารถรักษาโรคได้หลายโรค ที่สำคัญยังมี วิตามินและแร่ธาตุ หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม และ ธาตุฟอสฟอรัส ต้นสมอไทย คือ พืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียใต้ ผลสมอไทย ค่อนข้างกลมในผลมีเมล็ด สมอไทย สามารถนำมาทำยาได้หลายส่วน เช่น ใบ ดอก ผล เปลือกลำต้น เป็นต้น

ลักษณะของต้นสมอไทย

ต้นสมอไทย เป็นไม้พื้นเมือง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือ ตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1000 เมตร สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์  มีระบบรากแก้วแข็งแรง ลักษณะของต้นสมอไทย เป็นอย่างไร

  • ลำต้นสมอไทย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 20 เมตร ผิวของเปลือกลำต้นขรุขระ สีเทา เนื้อด้านในเปลือกสีเหลืองอ่อน มีน้ำยางสีแดง
  • ใบสมอไทย ลักษณะเป็นเดี่ยว สีเขียว ลักษณะรีปลายใบแหลม ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเป็นมันเงา มีขนคล้ายไหม
  • ดอกสมอไทย ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ดอกสมอไทยออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสมอไทยออกทุกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลสมอไทย เจริญเติบโตมาจากดอกสมอไทย ลักษณะของผลกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกของผลลักษณะมัน แข็ง ผิวเกลี้ยง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง หรือ น้ำตาลแดง ผลสมอไทย ออกประมาณเดือนกันยายนถึงธันวาคมของทุกปี
  • เมล็ดสมอไทย ลักษณะรียาว อยู่ในผลสมอไทย เมล็ดสมอไทยแข็ง ในหนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของสมอไทย

ผลสมอไทย มีสารเคมีหลากหลาย องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของลูกสมอไทย มีสารเคมีน่าสนใจ ประกอบด้วย

  • กรดแกลลิก ( gallic acid ) เป็นกรดที่มีสรรพคุณช่วยต่อต้านออกซิเดชัน
  • สารกลุ่มฟิโนลิกส์ ( phenolics ) คืิอสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านเซลล์การเจริญเติบโตของมะเร็ง ได้แก่ กรดเคบูโลนิก ( chebulonic acid )
  • สารคอริลาจิน ( corilagin ) คือสารที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาหารเจ็บปวด

นอกจากนี้ในลูกสมอไทย ยังมีสารอื่นๆน่าสนใจ เช่น terchebin glucogallin ellagic acid sennoside A chebulin catechol และ tannic acid

สรรพคุณของสมอไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสมอไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลสมอไทย เมล็ดสมอไทย ใบ และ เปลือกของลำต้น สรรพคุณของสมอไทย มีดังนี้

  • ผลและเมล็ดสมอไทย มีรสเปรี้ยวอมฝาด สรรพคุณช่วยการเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ไอ รักษาแผลในปาก แผลร้อนใน รักษาอาการท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม เป็นยาระบาย บรรเทาโรคหอบหืด ช่วยขับพยาธิ บำรุงตับ บำรุงผิวพรรณ ช่วยขัดผิว ลดรอยหมองคล้ำ รักษากระ รักษาฟ้า ทำให้ผิวพรรณดูสดใส ช่วยขับสารพิษ แก้อาการวิงเวียนศรีษะ ลดอาเจียน – ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหัว ช่วยในการผ่อนคาย ลดอาการเครียด ทำให้นอนหลับง่าย ช่วยรักษาโรคฟันผุ ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบสมอไทย สรรพคุณช่วยแก้ท้องเสีย รักษาผดผื่นคัน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสายตา ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้ท้องอืด ช่วยขับสารพิษ บำรุงไต
  • เปลือกลำต้นและแก่นไม้สมอไทย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

โทษของสมอไทย

จากการการศึกษาทางพิษวิทยาสมอไทย มีการทำลองการใช้สมอไทย กับหนู ซึ่งผลการศึกษาพบความเป็นพิษจากสมอไทย อย่างชัดเจน แต่การใช้ประโยชน์จากสมอไทย ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้มากเกินไป จะไม่ทำให้เกิดโทษ

ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย สรรพคุณมหัศจรรย์ ราชาสมุนไพร ลักษณะของต้นสมอไทย สรรพคุณของสมอไทย เช่น ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทย มีอะไรบ้าง

อะโวคาโด ผลไม้สุดยอด สมุนไพร ลักษณะของต้นอะโวคาโด สรรพคุณของอะโวคาโด เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงความงาม คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด โทษของอะโวคาโด มีอะไรบ้าง

อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโด

ต้นอะโวคาโด ( Avocado ) เรียกอีกชื่อว่า ลูกเนย ชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโวคาโด คือ Persea americana Mill เป็นพืชตระกูลเดียวกับอบเชย สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอะโวคาโด เช่น อาโวคาโด อาโวกาโด อโวคาโด้ ลูกเนย เป็นต้น ต้นอะโวคาโด เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก สำหรับประเทศไทย มีการปลูกอะโวคาโดครั้งแรกที่จังหวัดน่าน และกระจายไปทั่วประเทศ อะโวคาโดมีเนื้อผลเป็นเนย

ปัจจุบัน อะโวคาโด ได้รับความนิยมรับประทานในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจาก เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย สายพันธ์อะโวคาโด สามารถแบ่งเป็น 3 สายพันธ์ คือ คือ สายพันธ์กัวเตมาลา สายพันธ์อินดีสตะวันตก และ สายพันธ์เม็กซิโก รายละเอียดของแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • อะโวคาโดสายพันธ์กัวเตมาลา ลักษณะผลสีเขียว ผิวขรุขระ เมล็ดกลม เนื้อผลหนา ไขมันสูง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศหนาวเย็น สายพันธ์นี้ เช่น พันธุ์แฮส ( Hass ) และ พันธุ์พิงค์เคอตัน ( Pinkerton )
  • อะโวคาโดสายพันธ์อินดีสตะวันตก ลักษณะผลมีผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา รสหวานอ่อน ไขมันน้อย เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศร้อน สายพันธ์นี้ เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน ( Peterson )
  • อะโวคาโดสายพันธ์เม็กซิโก ลักษณะผลเล็ก ผิวของผลเรียบ เปลือกบาง เมล็ดขนาดใหญ่ มีไขมันมาก สายพันธ์นี้ทนต่ออากาศเย็นได้ดี

ลักษณะของต้นอะโวคาโด

  • ลำต้นของอะโวคาโด ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกของลำต้นผิวขรุขระ สีน้ำตาลอ่อน ความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบของอะโวคาโด ลักษณะรีเป็นรูปไข่ ใบมีสีเขียวสด ใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ เรียงสลับกันตามกิ่ง
  • ดอกอะโวคาโด ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก
  • ผลอะโวคาโด ลักษณะรีเป็นรูปไข่ คล้ายผลสาลี่ ผิวของเปลือกเรียบ มีสีเขียว ภายในผลจะมีเนื้อมันและละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้ม ลักษณะคล้ายเนย
  • เมล็ดของอะดวคาโด อยู่ภายในผลของอะโวคาโด สีน้ำตาล หนึ่งผลมี 1 เมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด

สำหรับการรับประทานอะโวคาโด จะนิยมรับประทานผลของอะโวคาโด ลักษณะของเนื้ออะโวคาโด คล้ายเนย มีรสชาติ นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลดิบอะโวคาโด พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโดดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 160 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม น้ำตาล 0.66 กรัม กากใยอาหาร 6.7 กรัม ไขมัน 14.66 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 2.13 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 9.8 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1.82 กรัม โปรตีน 2 กรัม น้ำ 73.23 กรัม วิตามินเอ 7 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 42 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 271 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.738 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.389 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.257 มิลลิกรัม วิตามินบี9 81 ไมโครกรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.07 มิลลิกรัม วิตามินเค 21 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.142 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 52 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 485 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.64 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์

สรรพคุณของอะโวคาโด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอะโวคาโด นิยมนำ ผลอะโวคาโด มารับประทาน ซึ่งผลอะโวคาโด มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย สรรพคุณของอะโวคาโด มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย อะโวคาโดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกกันเซลล์ต่างๆในร่างกายถูกทำลาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินอีสูง ทำให้ลดริ้วรอย ก่อนวัย ช่วยให้ผิวชุมชื้น เปล่งปลั่ง
  • ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีนสูง
  • ช่วยลดคอเลสเตอรัลในเส้นเลือด เนื่องจากมีกรดไขมันชนิดเดียวกันกับน้ำมันมะกอก ป้องกันโรคหัวใจได้ดี
  • ช่วยป้องกันโรคหวัด และ โรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
  • มีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากมีโฟเลทสูง เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
  • ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา และ โรคปากนกกระจอก เนื่องจากมีวิตามินบี1-บี9
  • ช่วยบำรุงสมอง เพราะ อะโวคาโดอุดมไปด้วย DHA ช่วยเสริมสร้างเซลล์สมอง
  • ช่วยบำรุงเส้นผม น้ำมันอะโวคาโด นำมาใช้นวดศีรษะ ช่วยเร่งให้ผมยาวเร็วขึ้น

โทษของอะโวคาโด

สำหรับอะโวคาโด ความเป็นพิษ อาการแพ้จากการกินอะโวคาโดเรียก latex-fruit syndrome การแพ้ลาเท็กซ์ ทำให้เกิดอาการ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ปวดท้อง อาเจียน หรือ อาจอันตรายทำให้เสียชีวิตได้

ผลดิบอะโวคาโดไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจาก มีสารแทนนินในปริมาณมาก มีรสขม หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ปวดศีรษะ ดังนั้น ควรรับประทานผลสุกอะโวคาโด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove