ชะอม ( Acacia pennata ) สมุนไพร สรรพคุณของชะอม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงโลหิต ยาระบาย ลดไข้ พืชมีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำอาหารชะอม ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของชะอม

ชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Acacia pennata ชื่อทางวิทยาศาสตร์ชะอม คือ Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen ชื่ออื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา ต้นชะอม เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก

ลักษณะของต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งก้านของชะอม จะมีหนามแหลม
  • ใบของชะอม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน
  • ดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

นักโภชนาการได้สำรวจคุณค่าทางอาหารของชะอม โดยพบว่า ยอดชะอม 100 กรัม สามารถให้พลังงานกับร่างกาย 57 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใยอาหารอยู่ 5 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

การนำชะอมมาใช้ประโยชน์ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง ใบ และ ราก รายละเอียด ดังนี้

  • ใบชะอม สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ ใช้ลดไข้
  • รากชะอม นำมาต้มรับประทาน จะช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร จุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
  • ยอดชะอม มีคุณค่าทางอาหาร เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก สามารถใช้ บำรุงเลือด บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ได้

โทษของชะอม

  1. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  2. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  3. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  4. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  5. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น

ขิง ( Ginger ) สมุนไพรไทย พืชเศรษฐกิจ นิยมนำเหง้าขิงมาทำอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาเจียน ลดไข้ขิง สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณขิง

เหง้าขิง ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ ขิงเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงมาก นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

ขิง เป็นพืชที่พบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า zingiber offcinale Roscoe ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger ชื่ออื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ลักษณะของต้นขิง

ขิง เป็น พืชล้มลุก มีเหง้าลักษณะคล้ายมือ เปลือกเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น ซึ่งขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลำต้นเป็นกอมีความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ใบของขิง เป็นกาบหุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว เหมือนใบไผ่ ปลายใบจะเรียวแหลม ดอกของขิง จะมีสีขาว ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และมี สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม กากใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

การใช้ประโยชน์จากขิง ในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ขิง นิยมยมนำ เหง้าขิง หรือ หัวขิง มาใช้ประโยชน์โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ขิง ในตำราสมุนไพรไทยบอกว่าขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ
  • น้ำขิง มาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ทำอย่างไร แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
  • ขิงเผาให้สุก และนำมาพอกแผล สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้
  • ขิงแก่บดละเอียด และนำไปคั่วกับน้ำสารส้ม คั่วจนเกรียม นำมาพอกฟัน แก้ปวดฟันได้
  • เหง้าขิง รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และยังเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ต้นขิง รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นขิง ฝนทำยาแก้คัน

“ ขิง ” ไม่ได้เป็นเพียง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย เท่านั้น แต่ยัง ช่วยแก้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะได้ด้วย ขิง จึงถือเป็น ยาจากธรรมชาติ ที่ให้ทั้งประโยชน์ และ บรรเทาเยียวยาอาการต่างๆได้ เรามักนิยมใช้ ขิงแก่ เพราะ ยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมี สรรพคุณทางยา ที่มากกว่า ขิงอ่อน และยัง มีใยอาหาร มากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจาก ขิงมีรสเผ็ด มี คุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • ขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ขิง ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ สามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนร้อนในได้
  • ขิง มีสพพรคุณช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง

ขิง ( Ginger ) สมุนไพรไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ มีความต้องการของตลาดสูง นิยมนำเหง้าขิงมาทำอาหาร ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove