ตะขบ สมุนไพร พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ตะขบ สมุนไพร

ต้นตะขบ ภาษาอังกฤษ เรียก West Indian Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะขบ คือ Muntingia calabura L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะขบ มีหลากหลาย เช่น คนสุราษฏร์ธานี เรียก ครบฝรั่ง กะเหลี่ยงแดง เรียก หม่ากตะโก่เสะ ชาวม้ง เรียก ตากบ เมี่ยน เรียก เพี่ยนหม่าย ชาวภาคกลาง เรียก ตะขบฝรั่ง เป็นต้น

ต้นตะขบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้รับประทานผล ซึ่งตะขบมักพบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่ง เนื่องจากลักษระของตะขนมีผลมาก และสามารถแพร่กระจายง่ายตามรอบๆของต้นตะขบ รวมถึงผลตะขบนิยมเป็นอาหารของนกและสัตว์ขนาดเล็ก

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้นตะขบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลูกง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตะขบ มีดังนี้

  • ลำต้นต้นตะขบ ความสูงได้ประมาณ 5 ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านและแผ่ขนานกับพื้นดิน ลักษณะของเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วกิ่งก้าน
  • ใบตะขบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นหยักๆ ใบลักษณะหยาบ มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียว
  • ดอกตะขบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลตะขบ เจริญเติบโตจากดอกตะขบ ลักษณะผลกลม ผลสดสีเขียว และ ผลสุกสีแดง ภายในผลมีเมล็ด และ เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของตะขบ

สำหรับตะขบมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะขบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม และวิตามินกับสารอาหารต่างๆอีกมากมาย จากผลงานการวิจัยของ นพ.สมยศ ดีรัศมี พบว่าตะขบ สามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และ ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

สรรพคุณของตะขบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะขบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก เนื้อไม้ ราก และ ใบ สรรพคุณของตะขบ มีดังนี้

  • ผลตะขบ สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
  • ดอกตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง แก้อาการเกรงในทางเดินอาหาร ช่วยขัยระดูสตรี แก้ตับอักเสบ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • เนื้อไม้ตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้หวัด ลดไข้  แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ แก้ตานขโมย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • ใบตะขบ สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ
  • รากตะขบ สรรพคุณขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • เปลือกตำต้น สรรพคุณเป็นยาระบาย

โทษของตะขบ

สำหรับการรับประทานผลตะขบเป็นอาหาร เนื่องจากผลตะขบมีรสหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานตะขบในปริมาณที่เหมาะสม และ เปลือกของลำต้นตะขบ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย ไม่ควรรับประทานยาทีมีส่วนผสมของเปลือกลำต้นตะขบ

ตะขบ คือ พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบมีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ ภาษาอังกฤษ เรียก Egg woman พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกใต้ใบ คือ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของลูกใต้ใบ เช่น หญ้าใต้ใบ ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หน่วยใต้ใบ มะขามป้อมดิน จูเกี๋ยเช่า เป็นต้น

ลูกใต้ใบ พืชตระกูลเดียวกับมะขาป้อม พืชที่มีประโยชน์ทางสมุนไพร สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ

ชนิดของลูกใต้ใบ

สำหรับต้นลูกใต้ใย สามารถแบ่งชนิดได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย

  • Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
  • Phyllanthus debilis Klein ex Willd.
  • Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ)
  • Phyllanthus virgatus G.Forst.

ในประเทศไทยมีการค้นพบลูกใต้ใบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด คือ ลูกใต้ใบดอกขาว ( Phyllanthus sp.1 ) ลูกใต้ใบตีนชี้ ( Phyllanthus sp.2 ) และ ลูกใต้ใบหัวหมด ( Phyllanthus sp.3 )

ลักษณะของต้นลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของต้ยลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • ลำต้นลูกใต้ใบ ลำต้นมีรสขมมาก ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบลูกใต้ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบแบบขนนกชั้นเดียว โคนใบมนแคบ ปลายใบมนกว้าง มีหูใบ สีขาวนวล
  • ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ดอกออกบริเวณโคนของก้านใบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลลูกใต้ใบ ลักษณะกลมแบน ผลของผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลจะเกาะติดที่ใต้โคนใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ มีสารอาการสำคัญ ประกอบด้วย ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคดเมียม และ สารหนู

สารเคมีที่พบในลูกใต้ใบ ประกอบด้วย สารแทนนิน ( Tannins ) ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) ลิกแนนส์ ( Lignans ) ไกลโคไซด์ ( Glycosides ) และ ซาโปนิน ( Saponin ) เป็นต้น

สรรพคุณลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ทั้งตน ใบ และ ผล สรรพคุณของลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • รากลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา รักษาโรคตา ช่วยลดไข้ รักษามาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลฟกช้ำ
  • ทั้งต้นลูกใต้ใบ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้หืด แก้กระหายน้ำ  ช่วยขับเสมหะ รักษาดีซ่าน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ป้องกันพยาธิในเด็ก ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูขาว ชวยขับประจำเดือน รักษาไข้ทับระดู รักษากามโรค รักษาเริม รักษาฝี
  • ผลลูกใต้ใบ สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาพิษตาซาง บำรุงตับ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ลูกใต้ใบมีสรรพคุณขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ลูกใต้ใบ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ก่อนใช้สมุนไพรลูกใต้ใบ ควรศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณ โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove