มะนาว ผลไม้รสเปรี้ยว สรรพคุณของมะนาว เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือด โทษของมะนาว ประวัติมะนาว มีสารอะไรบ้าง ชนิดของมะนาว ลักษณะของมะนาวมีอะไรบ้าง

มะนาว ชนิดของมะนาว ประโยชน์มะนาว สรรพคุณมะนาว

มะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนในภูมิภาคนี้รู้จักการมะนาวและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านานแล้ว แต่มะนาวมีแหล่งกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ เขตเชื่อมต่อกับพม่า รวมถึงทางตอนเหนือของมาเลเซีย

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น ( Aromatherapy ) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

มะนาว นิยมใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคและนิยมนำมาปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สายพันธ์มะนาว

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง ซึ่งมะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย[1]
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  • มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน

ลักษณะของต้นมะนาว

ต้นมะนาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ ทาบกิ่ง และ การเพาะเมล็ดพันธ์ุ ต้นมะนาวมีหลากหลายสายพันธ์ุ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สำหรับ ลักษณะของต้นมะนาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของมะนาว ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสอง สี เปลือกอ่อนสีเขียว เปลือกแก่มีสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามแหลมคม ซึ่งหนามมักอยู่ตามซอกใบ
  • ใบมะนาว เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามกิ่งก้านของลำต้น ใบมีลักษณะรี ผิวใบเรียบ มันวาว สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกมะนาว ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก
  • ผลมะนาว พัฒนามาจากดอกมะนาว ผลสดมะนาวมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีสีเขียว ภายในผลชุ่มน้ำ ผิวเปลือกของมะนาวมีต่อมน้ำมันที่ผิว
  • เมล็ดมะนาว ลักษณะของเมล็ดคลายหยดน้ำ ปลายเมล็ดแหลม มีรสขม เมล็ดของมะนาวอยู่ในผลมะนาว ซึ่งเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

สำหรับการบริโภคมะนาวเป็นอาหาร ใช้ประโยชน์จากผลมานาว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะนาว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

เปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอมสดชื่น ซึ่งน้ำมันหอมระเหยของมะนาว มีส่วนประกอบของ สารซิโตรเนลลัล ( Citronellal ) ซิโครเนลลิล อะซีเตต ( Citronellyl Acetate ) ไลโมนีน ( Limonene ) ไลนาลูล ( Linalool ) เทอร์พีนีออล ( Terpeneol ) รวมทั้งมีกรดซิตริค ( Citric Acid ) กรดมาลิก ( Malic Acid ) และกรดแอสคอร์บิก  ( Ascorbic Acid ) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อม ๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง

สรรพคุณของมะนาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะนาวนิยมใช้ประโยชน์จากผลมะนาวในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่ง สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย

  • ใบมะนาว สามารถแก้ไอ ช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการเวียนหัว รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • รากมะนาว สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคในลำคอ แก้อาการเวียนหัว ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ รักษาไข้ทับระดู ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกผลมะนาว สามารถแก้เวียนหัว รักษาหูด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • น้ำมะนาว สามารถ แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว รักษาอาการระดูขาว ช่วยรักษาอาการลิ้นเป็นฝ้า ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดอาการเหงือกบวม ช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยการเจริญอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิจาง แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการร้อนใน ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคกลาก รักษาโรคเกลื้อน รักษาหิด รักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยรักษาแผล รักษาแผลน้ำร้อนลวก ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นประสาท
  • น้ำมัันหอมระเหยจากมะนาว ช่วยลดความเครียด ทำให้หลับง่าย ช่วยประตุ้นประสาท ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ทำความสะอาดจมูก

โทษของมะนาว

การใช้ประโยชน์จากมะนาว มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากมะนาว โทษของมะนาว มีดังนี้

  • น้ำมะนาวมีความเป็นกรด หากสัมผัสเข้ากับผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร การรับประทานน้ำมะนาวสดๆ โดยไม่มีการเจือจากให้รสชาติอ่อนลง อาจทำให้เกิดการระคายเครื่องระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรด
  • กรดจากน้ำมะนาว ทำให้ฟันกัดกร่อนง่าย ไม่ควรอมน้ำมะนาวไว้ในปากนานๆ
  • หากกินเปรี้ยวมากเกิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. รศ.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะนาว ลดคลอเรสเตอรอลป้องกันโรคหลอดเลือด.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่354.คอลัมน์บทความพิเศษ.ตุลาคม.2551.
  2. มะนาว.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2536. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์สุริยบรรณ.
  4. Sethpakdee, R. 1992. Citrus aurantifolia (Christm. & Panzer) Swingle . In: L.P.A. Oyen and Nguyen Xuan Dung (Editors): Plant Resourses of South-East Asia No 2. Edible fruits and nuts. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia. pp. 126-128.
  5. รวี เสรฐภักดี.2553.คู่มือประกอบการฝึกอบรมโครงการปลูกมะนาวและการผลิตมะนาวนอกฤดู:การสร้างสวนไม้ผลยุคใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.นครปฐม
  6. ธิราภา แสนเสนา นพดล กิตติวราฤทธิ์ มาลิน จุลศิริ รุ่งระวี เติมศิริฤกษ์กุล. ฤทธิ์ต้านเชื้อและฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากผิวผลพืชตระกูลส้ม. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.

ชะมวง Cowa สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง บำรุงเลือด รักษาไข้ ละลายเสมหะ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ถอนพิษ แก้บิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุพิการ

สรรพคุณของชะมวง ชะมวง ใบชะมวง สมุนไพร

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมวง คือ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy ชะมวงเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมังคุด สำหรับชื่อเรียกอื่นของชะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น พืชท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมักจะพบตามป่าดิบชื้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาคของประเทศ แต่จะพบมากในแถบภาคใต้และภาคตะวันออก

ประโยชน์ของชะมวง ใบชะมวงมีรสเปรี้ยว นิยมใช้ปรุงอาหารให้รสเปรี้ยว เช่น หมูชะมวง ผลชะมวงสุก ใช้รับประทานได้ ยอดอ่อนหรือใบอ่อนชะมวง ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น ผลและใบอ่อน ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน ให้รสเปรี้ยว ผลและใบแก่ นิยมนำมาหมักจะฤทธ์เป็นกรด นำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควาย ต้นชะมวง สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เป็นต้น น้ำยางจากต้นชะมวง ใช้ผสมในน้ำมันชักเงา ยอดอ่อนชะมวง นำมาหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง เป็นพืชท้องถิ่น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะของต้นชะมวง จะเป็นทรงพุ่มคล้ายกรวยคว่ำ ความสูงของต้นชะมวงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของชะมวงจะเกลี้ยง แตกกิ่งก้านใบตอนบนของลำต้น
  • เปลือกของชะมวงจะเป็นสีดำออกน้ำตาล มีลักษณะขรุขระ เป็นสะเก็ด แต่เปลือกด้านในจะมีสีขมพูออกแดง มีน้ำยางออกบริเวณเปลือก
  • ใบของชะมวง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปรี ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ใบอ่อนของชะมวงจะมี สีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม
  • ดอกของชะมวง จะออกดอกตามซอกใบและกิ่ง ดอกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชะมวง จะเป็นทรงกลม ผิวเรียบและมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียวและผลสุกจะมีสีเหลือง ผลสุกจะมีรสเปรี้ยว สามารถทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของต้นชะมวง

สำหรับการรับประทานชะมวง นิยมรับประทานใบชะมวง ปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบชะมวง ขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 3.2 กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7333 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.04 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.2 มิลลิกรัม และวิตามินซี 29 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของชะมวง เราสามารถนำชะมวงมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ และผล รายละเอียดมี ดังนี้

  • ผลอ่อนของชะมวง สามารถนำมาใช้ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต เป็นยาระบาย
  • ผลแก่ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ
  • รากของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้บิด
  • ดอกของชะมวงสามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยแก้ดีพิการ
  • ใบของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย เป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • เนื้อไม้ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ยาระบาย แก้อาการเหน็บชา

โทษของชะมวง 

การใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง โทษของชะมวง มีดังนี้

  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้
  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น