รางจืด สมุนไพรไทย ราชาแห่งการถอนพิษ สรรพคุณ มีอะไรบ้าง

รางจืด Laurel clockvine ราชาแห่งการถอนพิษ คุณค่าทางโภชนาการ ต้นรางจืดเป็นอย่างไร สรรพคุณของรางจืด ช่วยขับสารพิษ ช่วยสมานแผล ใช้ลดไข้ โทษของรางจืดมีอะไรบ้าง

รางจืด สมุนไพร ราชาแห่งการถอนพิษ สรรพคุรของรางจืด

รางจืด ภาษาอังกฤษ เรียก Laurel clockvine ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของรางจืด คือ Thumbergia laurifolia Lindl สำหรับชื่ออื่นๆของรางจืด เช่น กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ฮางจืด เป็นต้น

สมุนไพรรางจืด “ ราชาแห่งการถอนพิษ ” เป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปเลือกใช้เพื่อใช้แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว ฯลฯ ยิ่งเมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การจะนำส่งแพทย์เพื่อรับการรักษาอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่แถวบ้าน เราก็สามารถใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป หรือใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ในขนาดปริมาณเท่านิ้วชี้มาใช้เพื่อรักษาบรรเทาอาการของพิษเฉพาะหน้าไปก่อน ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด

ชนิดของรางจืด

รางจืดที่พบได้ในประเทศไทย พบเห็นอยู่ 3 ชนิด ประกอบด้วย รางจืดเถา รางจืดต้น และ ว่านรางจืด ซึ่งรายละเอียดของรางจืด แต่ละชนิดมีดังนี้

  • รางจืดเถา เป็นไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย และพม่า รางจืดชนิดนี้มีสรรพคุณในการกำจัดพิษ ไม่ว่าจะเป็นพิษจากพืช พิษจากสัตว์ หรือ พิษจากสารเคมี
  • รางจืดต้น เป็นพืชล้มลุก นิยมนำใบและรากมาทำยา ด้วยเชื่อว่ารากสามารถแก้คุณไสย ยาพิษและยาสั่ง ความสูงของต้นไม่เกิน 2 เมตร ดอกมีสีเหลือง
  • ว่านรางจืด ตามตำรายาในกลุ่มว่าน นิยมนำหัวว่านรางจืดมาทำยาสมุนไพร และ เชื่อว่าสามารถแก้คุณไสย ยาสั่ง และ ขับสารพิษเหมือนกับรางจืดต้น ดอกมีกลิ่นหอม สามารถนำมาประกอบอาหารได้

ลักษณะของต้นรางจืด

ต้นรางจืด เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่น พบได้ทั่วไปในประเทศแถบทวีปเอเชีย นิยมขึ้นทั่วไปตามป่าดิบชื้น เจริญเติบโตได้เร็วมาก สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ลักษณะของต้นรางจืด มีดังนี้

  • ลำต้นรางจืด เป็นลักษณะเถา กลมเป็นปล้อง สีเขียวสด ลำต้นเรียบไม่มีขน คล้ายลำต้นของตำลึง จะเกี่ยวพันตามต้นไม้หรือ หลักเสา
  • ใบรางจืด ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคล้ายรูปหัวใจ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบมีสีเขียว
  • ดอกรางจืด ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน
  • ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝัก กลม ปลายเป็นจะงอย

สารสำคัญในรางจืด

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีในรางจืด เพื่อนำไปพัฒนาด้านต่างๆ พบว่า ในรางจืดมีสารสำคัญ 2 กลุุ่ม คือ กลุ่มโพลีฟีนอล และ กลุ้มฟลาโวนอยด์ รายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มโพลีฟีนอล ( polyphenol ) คือ กรดฟีนอลิค ( phenolic acid ) ซึ่งมีฤทธิ์อนุมูลอิสระ protocatechuic acid
  • กลุ่มฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่สามารถยับยั้งพิษของสารหนูได้ คือ apigenin และ apigenin glucoside

สรรพคุณของรางจืด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรางจืด เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณทางด้านสมุนไพรของรางจืด สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง ใบ ราก โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรางจืด มีดังนี้

  • ใบและรากของรางจืด นำมาใช้พอกบาดแผล เป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร พิษเบื่อเมา แก้อาการเมาค้าง
  • รากของรางจืด ใช้ถอนพิษเบื่อเมา นำมาฝนกับน้ำซาวข้าวช่วยทำให้พิษเจือจางและถอนพิษออกได้ รางจืด สามารถบรรเทาอาการท้องร่วง ท้องเสีย ลดอาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารเคมีในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษสารเคมีต่างๆ พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง ล้างพิษที่สะสมในร่างกาย
  • ใบของรางจืด ใช้ถอนพิษไข้ พิษเบื่ออาหารจากการทานของแสลง

คำแนะนำสำหรับการใช้ประโยชน์จากรางจืด

  • รางจืด วิธีใช้ประโยชน์จากใบสดรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 10-12 ใบ (แต่ถ้าใช้สำหรับวัวควายให้ใช้ 20-30 ใบ) เมื่อได้ใบสดให้นำมาตำจนละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว ว่านรางจืดวิธีรับประทานก็ง่าย ๆ เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา
  • การใช้ประโยชน์จากรากรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 1-2 องคุลี (แต่ถ้าหากใช้กับวัวควายให้ใช้ประมาณ 2-4 องคุลี) เมื่อได้รากมาแล้วให้นำมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องใช้ซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบรางจืด
  • สำหรับการใช้รางจืดเพื่อถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลง ใช้ถอนยาพิษ ยาเบื่อ และพิษจากสตริกนินนั้น ต้องใช้ยารางจืดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้จึงจะได้ผลดี เพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืน รางจืดก็จะได้ผลน้อยลงนั่นเอง
  • รากของรางจืดนั้นจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าที่ใบถึง 4-7 เท่า ! หากเป็นไปได้การเลือกใช้รากถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
  • รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดก็คือรางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง
  • ที่สำคัญดินที่นำมาใช้ในการปลูกรางจืด หากผสมด้วยขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น ก็จะช่วยทำให้ต้นรางจืดนั้นมีสรรพคุณทางยาที่มากขึ้นไปอีก
  • ข้อควรระวังในการใช้รางจืดก็คือ การใช้รางจืดร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาในการรักษาอย่างต่อเนื่องก็ควรจะระวังไว้ด้วย เพราะรางจืดอาจจะไปขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายได้นั่นเอง
  • แม้ว่ารางจืดจะสามารถช่วยล้างสารพิษได้จริง แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลในการวิจัยหรือเอกสารใดที่บ่งชี้ได้ว่า หากเราใช้ไปนาน ๆ ติดต่อกัน หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งจุดนี้นักวิชาการทางด้านนี้จึงไม่แนะนำที่จะให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นคุณควรใช้เป็นครั้งคราวในยามที่จำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะรักษาโรค เมื่อได้ผลหรือหายดีแล้วก็ควรจะหยุดใช้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เรายังไม่รู้และอาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่เฉพาะแต่สมุนไพรรางจืดเท่านั้น สมุนไพรชนิดอื่นก็ด้วย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วยังไงก็ต้องผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต ดังนั้นหากคุณใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานก็ควรจะตรวจสุขภาพของตับและไตด้วย
  • สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การใช้ก็ควรจะระมัดระวังด้วยเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด เมื่อเกิดอาการแพ้รางจืดก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีระดับอาการแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะเป็นแค่ผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง
  • แม้ว่ารางจืดจะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในการช่วยขับล้างสารพิษ แต่การนำมาใช้หรือนำมารับประทานก็ควรใช้อย่างพอดีและสมเหตุสมผล หากพิจารณาดูตัวเองหรือได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญว่าร่างกายมีสารพิษมากเกินไป คุณก็สามารถรับประทานได้ แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถูกต้อง และถูกเวลา

รางจืด ในปัจจุบันผู้คนได้รับสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 45% โดยสารพิษเหล่านี้ร่างกายต่างก็ไม่ต้องการ เพราะเมื่อเกิดการสะสมเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ขึ้นมาได้ในอนาคต อย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งแน่นอนว่าอัตราการเกิดโรคของคนในยุคปัจจุบันนี้ก็ได้เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ วัน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง ซึ่งสมุนไพรรางจืดนี้อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณในการช่วยขับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ในอนาคตนั่นเอง

รางจืด ( Laurel clockvine ) สมุนไพร ราชาแห่งการถอนพิษ คุณค่าทางโภชนาการ ลักษณะของต้นรางจืด สรรพคุณของรางจืด ช่วยขับสารพิษ ช่วยสมานแผล ใช้ลดไข้ โทษของรางจืด มีอะไรบ้าง

Last Updated on March 17, 2021