กานพลู clove tree สมุนไพร ส่วนประกอบของเครื่องเทศ มีประโยชน์มากมาย บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับลม ขับของเสียออกจากร่างกาย ลักษณะของต้นกานพลูเป็นอย่างไร

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ SyZagium aromaticum สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์ เป็นต้น แหล่งกำเนิดของกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ ปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น

กานพลูในประเทศไทย สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทยมีน้อยมาก แต่ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากกานพลูมาก โดยใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ประเทศไทยจึงต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก โดยการนำเข้ากานพลูมีมากกว่า 100 ตันต่อปี และ ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศแล้ว กานพลูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค ซึ่งตำรายาสมุนไพรของไทยใช้ดอกกานพลูแห้งนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน นำดอกกานพลูแห้งบดให้ละเอียดชงกับน้ำดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลูเป็นไม้ยืนต้น ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ  ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู ลักษณะลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทาความสูงประมาณ 10 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ
  • ใบกานพลู ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวรูปวงรี ออกเรียงแบบตรงข้าม ขอบเป็นคลื่น สีแดงหรือน้ำตาลอมแดง และบริเวณเนื้อใบจะค่อนข้างเหนียวและมัน 
  • ดอกกานพลู ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ โดยดอกนั้นมักร่วงหล่นจากต้น กลีบดอกมีสีขาว ส่วนกลีบเลี้ยงและฐานดอกจะมีสีแดงหนาๆ แข็งๆ ส่วนผลจะมีลักษณะรูปทรงไข่

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการบริโภคกานพลูเป็นอาหารนิยมใช้ดอกแห้งกานพลูเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ากานพลูมีสารสำคัญมากมาย เช่น  แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง

ดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมันระเหยได้ จากการศึกษาพบมีสาร ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol) และประมาณ 20 % ของน้ำมันกานพลู มี กรดแกลโลแทนนิค ( gallotannic acid ) ประมาณ 10% มีสารโครมีนส์ ( chromenes ) สารคารีโอไฟลีน ( caryophylline )  และกรดไตรเตอฟีน ( triterpene acid )

สรรพคุณของกานพลู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก ใบ เปลือกของลำต้น และ ผล รายละเอียดของสรรพคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกของกานพลู สรรพคุณแก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สรรพคุณรักษาแผลไฟไหม้ แก้ผื่นคันแก้ปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สรรพคุณช่วยบรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง
  • เปลือกต้นกานพลู สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ลม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆนั้นจำเป็นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธีและได้รับการแนะนำจากแพทย์ผู้มีความรู้ ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรระวังการใช้กานพลู
  • ดอกกานพลูมีสาร eugenol ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันจากดอกกานพลู ใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ เพื่อระงับกลิ่นปากได้ แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ขิง Ginger สมุนไพร ความต้องการของตลาดสูง นิยมนำขิงมาทำอาหาร สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร โทษของขิงมีอะไรบ้าง

ขิง สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของขิง

ต้นขิง ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger เป็นพืชที่พบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า zingiber offcinale Roscoe ชื่ออื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น ขิงไม่ได้เป็นเพียง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย เท่านั้น แต่ยัง ช่วยแก้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะได้ด้วย

เหง้าขิง มีความต้องการของตลาดสูงมาก นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ถือเป็นยาจากธรรมชาติ ที่ให้ทั้งประโยชน์ และ บรรเทาเยียวยาอาการต่างๆได้ เรามักนิยมใช้ ขิงแก่ เพราะ ยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมี สรรพคุณทางยา ที่มากกว่า ขิงอ่อน และยัง มีใยอาหาร มากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจาก ขิงมีรสเผ็ด มี คุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง พืชล้มลุก มีเหง้าลักษณะคล้ายมือ เปลือกเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น ซึ่งขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • เหง้าขิง อยู่ใต้ดินเป็นข้อๆ เนื้อในสีขาว หรือเหลืองอ่อน ปลายสุดของข้อจะเป็นที่แทงยอด หรือลำต้นเทียม ลำต้นสูงพ้นพื้นดินขึ้นมา 50-100 เซนติเมตร  มีกาบ หรือโคนใบหุ้ม
  • ใบขิง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอก ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ และจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม
  • ดอกชิง ลักษณะเป็นช่อทรงกระบอก แทงขึ้นมาจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออก ใบประดับสีเขียว มีแต้มแดงตรงโคน ดอกเกสรผู้มี 6 อัน ผลแห้ง แข็ง มี 3 พู

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

สำหรับการรับประทานขิงเป็นอาหารนิยมใช้เหง้าขิง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และมี สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม กากใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สารสำคัญในขิงมี Gingerol  Shogaol และ Diarylheptanoids  มีสรรพคุณต้านการอาเจียน และ ช่วยขับลม น้ำมันหอมระเหยของขิง มี Menthol  Cineole มีสรรพคุณลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง

สรรพคุณของขิง

การใช้ประโยชน์จากขิง ในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นิยมนำ เหง้าขิง หรือ หัวขิง มาใช้ประโยชน์โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และยังเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ต้นขิง รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นขิง ฝนทำยาแก้คัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • เนื่องจากขิงมีรสเผ็ด มีคุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่นผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือมีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทานควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ขิง ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ สามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนร้อนในได้
  • ขิง มีสพพรคุณช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove