คื่นช่าย คื่นฉ่าย ขึ้นฉ่าย ( Celery ) สมุนไพรกลิ่นหอม ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก มีวิตามินหลายชนิด โทษของคื่นฉายผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพร

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery หลายคนเขียนว่า คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ คึ่นไช่ ผักขึ้นฉ่ายมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Apium graveolens L. เป็นพืชตระกุลเดียวกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน  ผักปืน ผักปิ๋ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม การใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งขึ้นฉ่ายฝรั่งลำต้นจะอวบใหญ่มากคื่นฉ่ายจีน ต้นขึ้นฉ่าย  เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของต้นขึ้นฉ่ายมี ดังนี้

  • ลำต้นขึ้นฉ่าย ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอม อายุของขึ้นฉ่ายไม่เกิน 2 ปี
  • ใบของขึ้นฉ่าย ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวอมเหลือง ใบลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉก รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปห้าเหลี่ยม มีก้านใบยาวแผ่ออกจากกาบใบ
  • ดอกของขึ้นฉ่าย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ
  • ผลของขึ้นฉ่าย มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

การใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรของขึ้นฉ่าย นิยมรับประทานสดๆ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการรับประทานคื่นฉ่าย มีดังนี้

  • ช่วยเจริญอาหาร และกระตุ้นความอยากกินอาหาร
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย กลิ่นหอมของคื่นฉ่ายช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) โรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดปลายประสาท ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยในการคุมกำเนิดเนื่องจากื่นแ่ายมีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย สามารถช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

  • เนื่องจากคื่นฉ่ายมี สรรพคุณในการลดปริมาณการสร้างอสุจิ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  • คื่นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นแรง หากทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาหารแพ้จนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นคื่นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • ผักคื่นฉ่าย หากนำมาปรุงให้สุกเกินไป ผักจะเละและสูญเสียสารอาหารสำคัญ

คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ ขึ้นฉ่าย ( Celery ) ผักสมุนไพรกลิ่นหอม ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว สรรพคุณของขึ้นฉ่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก ผักขึ้นฉ่าย ประกอบด้วย วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove