แคนา หรือ แคป่า สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกแคนำมารับประทานเป็นผักสดได้ ต้นแคนาเป็นอย่างไร สรรพคุณขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร โทษของแคนาแคนา แคป่า สมุนไพร สรรพคุณของแคนา

ต้นแคนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dolichandrone serrulata Wall. ex DC. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของแคนา เช่น ภาคเหนือ เรียก แคขาว แคเค็ตถวา แคแน แคฝอย แคฝา แคภูฮ่อ แคแหนแห้ ภาคอีสาน เรียก แคทราย ภาคตะวันออก เรียก แคยาว แคอาว ภาคใต้ เรียก แคยอดดำ เป็นต้น

ต้นแคนา พบกระจายอยู่ทั่วไปประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลาว พม่า เวียดนาม และไทย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคกลาง และพบได้บ่อยตามทุ่งนาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประโยชน์ของแคนา

สำหรับต้นแคนา นำมาใช้ประโยชน์ทั้งการรักษาโรค อาหาร สร้างอาคารบ้านเรือน อาหารสัตว์ หรือ ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ไม้มงคลในบ้าน ดอกแคนา นำมาทำอาหาร เช่น แกงส้ม หรือ ลวกกินกับน้ำพริก ต้นแคนา เหมาะสำหรับปลูกให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับมงคล ดอกแคนาเป็นอาหารเสริมที่ดีสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เนื้อไม้ของต้นแคนา นำมาสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ทำฝาบ้าน เป็นต้น

ลักษณะของต้นแคนา

ต้นแคนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ สามารถพบต้นแคนา ตามป่า ทุ่งนา ป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นแคนา มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นแคนา ความสูงประมาณ 20 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวลำต้นเรียบ
  • ใบแคนา ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยัก
  • ดอกแคนา ลักษณะดอกแคนาเป็นช่อ ดอกมีขนาดใหญ่ คล้ายรูปแตร ดอกสีขาว ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกแคนามีกลิ่นหอม  ดอกแคนาจะบานตอนกลางคืน ดอกแคนาดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลแคนา ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตจากดอกแค ลักษณะฝักแบน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ภายในฝักมีเมล็ด เมล็ดรูปสี่เหลี่ยม

สรรพคุณของแคนา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแคนา หรือ แคป่า ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วนต่างๆ คือ ดอก เมล็ด ราก เปลือก และ ใบ โดย สรรพคุณของแคนา มีดังนี้

  • ดอกของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณขับเสมหะ ขับประจำเดือน ขับเลือด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม
  • ใบของแคนา มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลในช่องปาก
  • เมล็ดของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการโรคชัก
  • รากของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณขับแก้เสมหะ ขับลม บำรุงโลหิต
  • เปลือกของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด

โทษของแคนา

สำหรับโทษของแคนา มีข้อควรระวังในการใ้ชประโยชน์จากแคนา ดังนี้

  • ดอกแคนา สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ขับประจำเดือน สำหรับสตรมีครรภ์ หากใช้ดอกแคนาอาจทำให้เลือดออก ตกเลือด เป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์

แคนา หรือ แคป่า พืชท้องถิ่น ผักป่า สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกแคนำมารับประทานเป็นผักสด ลักษณะของต้นแคนา เป็นอย่างไร สรรพคุณของแคนา เช่น ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม โทษของแคนา

ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน รากตังกุยนำมาทำยา ต้นตังกุุยเป็นอย่างไร โทษของตังกุยเป็นอย่างไร

โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพร

ต้นตังกุย เป็นพืชชนิดสีน้ำตาล เนื้อเหนียว มีรอยแตกหักสีขาว รากเปลือกหนา เนื้อรากสีขาว กลิ่นหอม รสหวานและขม เล็กน้อย นำมาทำยาขับระดู รักษาโรคของสตรี กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และ ทำให้ลูกดก ต้นตังกุย ( Dong quai ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตังกุย คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตังกุย เช่น โสมตังกุย โกฐเชียง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตังกุย

ต้นตังกุย เป็นพืชล้มลุก ที่มีถื่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่ยายุยืนยาว มีกลิ่นเฉพาะตัวพบแพร่หลายในพื้นที่ป่าดิบในเขตเขาสูง นอกจากนี้ยังพบในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศเกาหลี

  • รากตังกุย ลักษณะอวบ เป็นทรงกระบอก อยู่ใต้ดิน มีรากแขนงหลายราก ผิวด้านนอกของรากสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อสีเหลืองและมีรูพรุน แกนเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแรง รสหวานอมขม
  • ลำต้นตังกุย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นหนา มีร่องเล็กน้อย มีเหง้าหรือรากอยู่ใต้ดิน
  • ใบตังกุย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีหยักลึก รูปทรงไข่ ใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน ใบหยักเหมือนฟันเลื่อย โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ ใบสีเขียวอมม่วง
  • ดอกตังกุย ลักษณะเป็นช่อ ออกช่อตามยอดของลำต้น และ ง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วง ดอกตังกุยออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลตังกุย ลักษณะของผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ดอกด้านข้างมีปีกบางๆ และมีท่อน้ำมันตามร่อง ผลของตังกุยให้ผลประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ของทุกปี

สรรพคุณของตังกุย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตังกุย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากตังกุย ส่วนราก ซึ่ง สรรพคุณของตังกุย มีรายละเอียด ดังนี้

  • บำรุงหัวใจ ตับ และ ม้าม ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • บำรุงเลือด เป็นยาบำรุงเลือด ฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง รักษาภาวะเลือดพร่อง ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก และช่วยสลายเลือดคั่ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งของผิว ทำให้ผิวมีน้ำมีนวล
  • บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • บำรุงสมอง บำรุงตับ แก้ปวดหัว แก้เวียนหัว ช่วยเรื่องความจำ ไม่ให้หลงลืมง่าย
  • แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด แก้ปวดท้อง แก้ปวดข้อ
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องผูก แก้บิด แก้อาการถ่ายเป็นเลือด
  • แก้ปวดประจำเดือน ลดอาการปวดท้องจากประจำเดือน ช่วยควบคุมรอบเดือนให้ปกติ แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้ช่องคลอดแห้ง ช่วยเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ แก้อาการตกเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • รักษาแผล รักษาแผลฟกช้ำ แผลฝีหนอง และ แผลเน่าเปื่อย

โทษของตังกุย

การใช้ประโยชน์จากตังกุย มีข้อควรระวัง โดยห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ และ ผู้ป่วยที่มีระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือ มีประวัติการอาเจียนเป็นเลือด

ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณเด่นกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน ใช้ รากตังกุยแห้ง นำมาทำยา ลักษณะของต้นตังกุุยเป็นอย่างไร สรรพคุณของตังกุบ โทษของตังกุย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove