หญ้าหวาน สมุนไพรรสหวาน ความหวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า ต้นหญ้าหวานเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด โทษของหญ้าหวานมีอะไรบ้าง

หญ้าหวาน สมุนไพร

หญ้าหวาน ภาษาอังกฤษ เรียก Stevia ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าหวาน คือ Stevia rebaudiana ( Bertoni ) พืชตระกูลทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สตีเวีย เป็นต้น หญ้าหวาน พืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย ใบหญ้าหวาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 15 เท่า แต่ไม่เกิดพลังงาน ในใบหญ้หวาน มีสารชื่อ สตีวิโอไซด์ ( Stevioside ) ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า

หญ้าหวาน ได้รับความสนใจมากเรื่องสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม เครื่องดื่ม ยา และ การแพทย์ ประเทศญี่ปุ่น นำหญ้าหวานมาเป็นส่วนผสมอาหารต่างๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น

หญ้าหวานในประเทศไทย

หญ้าหวาน มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 ปลูกที่ภาคเหนือของประเทศ  สารสักัดจากหญ้าหวาน ยังเป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความหวาน หญ้าหวาน ราคาสูง ประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันประเทศไทย สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้แล้ว มีหลายบริษัท ที่สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้ อนาคตคาดว่าจะมีการตั้งโรงงานรับซื้อหญ้าหวานในทุกภาค แหล่งปลูกหญ้าหวานในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ ลำพูน

ลักษณะของต้นหญ้าหวาน

ต้นหญ้าหวาน เป็นขนาดเล็ก พืชล้มลุก คล้ายกับต้นโหระพา สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์และการปักชำ ลักษณะของต้นหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าหวาน ต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลำต้นกลมและแข็ง
  • ใบหญ้าหวาน เป็นใบเดี่ยว ลักษณะรีปลายแหลม คล้ายรูปหอก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีรสหวานมาก
  • ดอกหญ้าหวาน ดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ปลีบดอกสีขาว

สารในหญ้าหวาน

สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ ( stevioside ) ลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี สีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ละลายได้ดีในสารละลายกรด สรรพคุณของสตีวิโอไซด์ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล ถึง 200 เท่า นอกจากนี้ สามารถพบสารอ่ื่นๆในหญ้าหวาน เช่น สารประกอบพวก ไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ ( diterpene glycoside ) ประกอบด้วย Stevioside ,  Rebaudioside A ถึง F  , Steviol , Steviolbioside และ Dulcoside A

สรรพคุณของหญ้าหวาน

สำหรับหญ้าหวาน มีความเป็นพิษ การใช้ประโยนข์จากหญ้าหวานจะใช้สารสกัดจากหญ้าหวาน มาใช้ประโยชน์ ซึ่ง สรรพคุณของหญ้าหวาน มีดังนี้

  • บำรุงกำลัง ช่วยเพิ่มกำลังวังชา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดไขมันในเลือด
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ลดความอ้วย
  • บำรุงตับ
  • รักษาแผล ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก

โทษของหญ้าหวาน

การกินสารสกัดจากหญ้าหวาน อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต้องกินอย่างถูกต้อง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการกินสารกสัดจากหญ้าหวาน มีดังนี้

  • สารสกัดจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบหวาน ต้องหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อไม่ให้ระดัยน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรกินสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง

หญ้าหวาน สมุนไพรรสหวาน หวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า ลักษณะของต้นหญ้าหวาน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหญ้าหวาน บำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด โทษของหญ้าหวาน มีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบมีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ ภาษาอังกฤษ เรียก Egg woman พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกใต้ใบ คือ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของลูกใต้ใบ เช่น หญ้าใต้ใบ ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หน่วยใต้ใบ มะขามป้อมดิน จูเกี๋ยเช่า เป็นต้น

ลูกใต้ใบ พืชตระกูลเดียวกับมะขาป้อม พืชที่มีประโยชน์ทางสมุนไพร สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ

ชนิดของลูกใต้ใบ

สำหรับต้นลูกใต้ใย สามารถแบ่งชนิดได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย

  • Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
  • Phyllanthus debilis Klein ex Willd.
  • Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ)
  • Phyllanthus virgatus G.Forst.

ในประเทศไทยมีการค้นพบลูกใต้ใบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด คือ ลูกใต้ใบดอกขาว ( Phyllanthus sp.1 ) ลูกใต้ใบตีนชี้ ( Phyllanthus sp.2 ) และ ลูกใต้ใบหัวหมด ( Phyllanthus sp.3 )

ลักษณะของต้นลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของต้ยลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • ลำต้นลูกใต้ใบ ลำต้นมีรสขมมาก ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบลูกใต้ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบแบบขนนกชั้นเดียว โคนใบมนแคบ ปลายใบมนกว้าง มีหูใบ สีขาวนวล
  • ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ดอกออกบริเวณโคนของก้านใบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลลูกใต้ใบ ลักษณะกลมแบน ผลของผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลจะเกาะติดที่ใต้โคนใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ มีสารอาการสำคัญ ประกอบด้วย ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคดเมียม และ สารหนู

สารเคมีที่พบในลูกใต้ใบ ประกอบด้วย สารแทนนิน ( Tannins ) ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) ลิกแนนส์ ( Lignans ) ไกลโคไซด์ ( Glycosides ) และ ซาโปนิน ( Saponin ) เป็นต้น

สรรพคุณลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ทั้งตน ใบ และ ผล สรรพคุณของลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • รากลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา รักษาโรคตา ช่วยลดไข้ รักษามาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลฟกช้ำ
  • ทั้งต้นลูกใต้ใบ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้หืด แก้กระหายน้ำ  ช่วยขับเสมหะ รักษาดีซ่าน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ป้องกันพยาธิในเด็ก ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูขาว ชวยขับประจำเดือน รักษาไข้ทับระดู รักษากามโรค รักษาเริม รักษาฝี
  • ผลลูกใต้ใบ สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาพิษตาซาง บำรุงตับ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ลูกใต้ใบมีสรรพคุณขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ลูกใต้ใบ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ก่อนใช้สมุนไพรลูกใต้ใบ ควรศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณ โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove