ชุมเห็ดเทศ Candelabra bush สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ต้นชุมเห็ดเทศเป็นอย่างไร สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ เช่น เป็นยาระบาย ขับเสมหะ โทษของชุมเห็ดเทศมีอะไรบ้าง

ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพร

ต้นชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่ม จักเป็นพืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทองเป็นรูปไข่ สวยงามด้วยสรรพคุณมากมาย สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด พรรณไม้ชนิดนี้ไม่ต้องการความเอาใจใส่ ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้โตขึ้นเองได้ พบขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ทั้งบนที่ราบหรือบนภูเขาสูงจนถึง 1,500 เมตร ทำความรู้จักกับชุมเห็ดเทศ กัน

ชุมเห็ดเทศ มีชื่อสามัญ ว่า Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ คือ  Senna alata (L.) Roxb. จัดอยู่ในพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ คือ ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ เป็นพืชขนาดกลาง เป็นไม้พุ่ม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูง ประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ตามภูเขาสูง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ มีความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นมีขน เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาล
  • ใบของชุมเห็ดเทศ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบโค้งมน มีหยัก โคนใบ ขอบใบเรียบ มีสีแดง เนื้อใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ดอกจะออกเป็นช่อ มีขนาดใหญ่ ตั้งตรง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง ดอกมีสีเหลืองทอง รูปไข่ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ออกผลเป็นฝัก ลักษณะ ยาว แบน ไม่มีขน ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักแก่จะเป็นสีดำ ภายในฝักมีเมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีดำ ผิวขรุขระ

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

การใช้ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ นั้นสามารถนำมาทำเป็นอาหารเพื่อบริโภค เป็นผักสด ซึ่งนิยมรับประทาน ดอกชุมเป็ดเทศ และ ยอดอ่อน นำมาลวก ทานเป็นผักสดๆ นอกจากนั้น นิยมปลูกชุมเห็ดเทศรอบบ้าน เป็นไม้ประดับ และ ไล่มด เนื่องจากใช้ไล่มด มดไม่ชอบกลิ่นของชุมเห็ดเทศ นอกจากนั้น มีการนำเอาชุมเห็ดเทศมาสกัดเป็นอาหารเสริม และ ยารักษาโรค เช่น  ชาชง ยาแคปซูล ยาระบายอัดเม็ด หรือในรูปแบบยาทาแก้กลากเกลื้อน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ ตั้งแต่ ราก ใบ เมล็ด ดอก และ ผล รวมถึงทั้งตนของชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ดีซ่าน ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • รากชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร แก้ตาเหลือง ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ใบชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความมดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้เส้นอักเสบ  ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบ้วนปาก ยาระบาย แก้ท้องผูก รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล ช่วยรักษาฝี รักษาแผลพุพอง
  • ดอกชุมเห็ดเทศ สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ แก้พิษตานซาง แก้ท้องอืด ขับพยาธิในลำไส้  ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย

โทษของชุมเห็ดเทศ

จากสรรพคุณของชุมเห็ดเทศเห็นว่ามีประโยชน์หลายอย่าง แต่ การใช้ประโยน์ของชุมเห้ดเทศ มีข้อควรระวัง เนื่องจาก ชุมเห็ดเทศ มีพิษเบื่อ การนำเอาไปใช้ประโยชน์ต้องใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งมีข้อควรระวังในการใช้ชุมเห็ดเทศ ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรชุมเห็ดเทศ เนื่องจากชุมเห็ดเทศมีสรรพคุณทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียม
  • ชุมเห็ดเทศ ทำให้ใจสั่น
  • ชุมเห็ดเทศ ช่วยกระตุ้นให้คลอดลูกเร็วขึ้น อาจทำให้แท้งได้ สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้เด็กขาด
  • ชุมเห็ดเทศมีฤทธ์เป็นยาระบาย สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ไม้ควรใช้ชุมเห็ดเทศ ทำให้สารRhein หลั่งออกมาทางน้ำนม เป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ โรคลำไส้อุดตัน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบห้ามใช้ยาชงชุมเห็ดเทศ
  • มีรายงานการใช้ประโยชน์ต้นอ่อนชุมเห็ดเทศเป็นยาเบื่อปลา การกินต้นอ่อนชุมเห็ดเทศจึงเป็นพิษต่อสัตว์และมนุษย์
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ ( Candelabra bush ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ เป็นอย่างไร สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ เช่น เป็นยาระบาย ขับเสมหะ โทษของชุมเห็ดเทศ มีอะไรบ้าง

ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove