สะระแหน่ สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณและโทษ เป็นอย่างไร

สะระแหน่ Mint สมุนไพร ลักษณะของต้นสะระแหน่ คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม โทษมีอะไรบ้างสะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว

สะระแหน่ ( Mint ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Ment ha aruensis Linn สมุนไพร ลักษณะของต้นสะระแหน่ คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ สรรพคุณของสะระแหน่ ดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย

ต้นสะระแหน่มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งลักษณะของใบสะระแหน่จะคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติคล้ายตะไคร้ สามารถใช้ แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย นิยมนำมาทำอาหาร เพราะให้กลิ่นหอม สามารถสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สะระแหน่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง พบว่าใบสะระแหน่ มีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย เมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) นักโภชนาการได้ศึกษาใบสะระแหน่ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 88 มิลลิกรัม เบต้า แคโรทีน 538 ไมโครกรัม

สะระแหน่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mentha aruensis Linn ชื่ออื่นๆของสะระแหน่ เช่น  สะระแหน่สวน หอมด่วน สะแน่ มักเงาะ เป็นต้น สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยบนดิน ใบกลม ขอบใบหยัก สีเขียว มีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบสีขาว

ประโยชน์ของสะระแหน่

สะระแหน่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของการทำอาหาร และนำมาทำเป็นยา ตามตำราของแพทย์แผนไทย นำมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ท้องเฟ้อ

  • นำสะระแหน่มาใช้รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น รักษาท้องร่วง หรือ อุจจาระเป็นเลือด  โดยนำ ใบสะระแหน่ มาต้มน้ำดื่มผสมเกลือ
  • นำสะระแหน่มารักษา อาการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย โดย บดใบสะระแหน่ และนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
  • นำสะระแหน่มา ช่วยห้ามเลือดกำเดา โดยนำใบสะระแหน่มาคั้นน้ำ และนำหยอดที่รูจมูกใช้ห้ามเลือดได้ แก้ปวดหูโดย นำน้ำคั้นใบสะระแหน่มาหยอดหู

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะระแหน่

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ จะมีลักษณะลำต้นเลื้อยมีรากฝอย ขนาดเล็กและสั้น ลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 ซม. ลำต้นสะระแหน่ จะทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวมีสีเขียว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย พื้นใบขรุขระ มีกลิ่นหอมฉุน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
  • ใบสะระแหน่ ออกเป็น ใบเดี่ยว และออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ลำต้น ใบมีสีเขียว รูปทรงรี กว้างประมาณ 1.5 – 3.5 ซม. และยาวประมาณ 2 – 7 ซม. ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ออกเป็นช่อ เหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกที่เชื่อมติดกันเป็นกรวยตื้น 4 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะไม่ค่อยพบ
  • ผลสะระแหน่ มีสีดำ ขนาดเล็ก มีรูปผลเป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน ทั้งนี้ ผลสะระแหน่มักไม่ติดผลให้เห็นบ่อยนัก เพราะมีดอกที่เป็นหมันเป็นส่วนใหญ่

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนทั้งใบและลำต้น ซี่งสรรพคุณของสะระแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • การใช้สะระแหน่ทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินสะระแหน่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำมันสะระแหน่หากตกตัวในลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

Last Updated on January 17, 2022