สมุนไพรแก้ปวด พืชที่สรรพคุณใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นเอ็น ปวดข้อ และ ปวดกระดูก ช่วยฟื้นฟูร่างกาย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และ คนทำงานออฟฟิต

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มักเกิดมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอยู่ในอริยาบถในนานๆ เช่น นั้นนาน เดินนาน ยืนนาน ซึ่งเมื่อเลือดลมไหลเวียนไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามแขน ขา เป็นต้น ลักษณะอาการปวดเมื่อย ตามตำราสมุนไพร มีพืชหลายชนิดที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย ซึ่งลักษณะของสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย คือ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของระบบเลือด และ ช่วยผ่อนคลาย

สมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณแก้ปวด แก้เมื่อย จะเป็นพืชที่มีสรรพคุณด้านการกระตุ้นไหลเวียนของเลือด และ ช่วยผ่อนคลาย มักจะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยเพิ่มความร้อนให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆได้ดี การรักษาอาการปวดเมื่อยควรรักษาด้วยแพทย์ที่มีความเชียวชาญ ซึ่งสมุนไพรสามารถเพียงบรรเทาอาการปวดเมื่อย แต่ลักษณะอาการปวดเมื่อยมีหลายลักษณะที่อันตราย อาจเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังในอนาคต ต้องรับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง สามารถสังเกตุลักษณะอาการปวดเมื่อยที่ควรปรึกษาแพทย์ มีดังนี้

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง อาการปวดศีรษะแบบตื้อๆและปวดร้าวลามไปบริเวณท้ายทอย กดเจ็บ มักเกิดจากกล้ามเนื้อทำงานหนักอย่างต่อเนื่องเกิดการสะสมของเสียบริเวณกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อ หดตัว และขาดออกซิเจน ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
  • ปวดคอ บ่า ไหล่ มักจะเกิดจากการนั่งยกไหล่บนโต๊ะทำงานที่ความสูงไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหดเกร็งและตึงรั้งไปถึงบ่า ไหล่ สะบัก และ แผ่นหลัง อาการลักษณะนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
  • ปวดหลัง สะโพก และ บั้นเอว อาการเจ็บปวดลักษณะนี้อาจเกิดจากหมอนรองกระดูก จากการนั้งไขว่ห้าง บวกกับการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจนของร่างกายที่ไม่ดี อาการลักษณะนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
  • ปวดขาและหัวเข่า มักเกิดจากการนั่งขัดสมาธิ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขาและเท้าไม่ดีพอ  ทำให้เป็นเหน็บ ปวดหัวเข่า และ เมื่อยขาเรื้อรัง ส่งผลกระทบให้ข้อเข่าเสื่อมง่าย อาการลักษณะนี้ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค

ข้อมูลสมุนไพร ช่วยบรรเทาอาการปวด และ อาการเมื่อย กล่าวถึง ลักษณะของพืช คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณและโทษ มีรายละเอียด ดังนี้

 ว่านหางจระเข้
 อัญชัน  มังคุด
 เตย  กระทือ
 อินทนิล  มะเขือยาว
ตะขบ  ลูกยอ
ลูกใต้ใบ กัญชา
คาเคา ตังกุย
หญ้าปักกิ่ง เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่
ยางนา ตะลิงปลิง
ถั่วเขียว ต้นนุ่น ต้นงิ้ว
สมอไทย ตรีผลา
มะกอก มะขามป้อม
ท้าวยายม่อม กาแฟ
ย่านาง กระเจียว
โหระพา ผักชี
แห้ว มะยม
พลูคาว เผือก
ชะคราม รากสามสิบ
มะตูม อบเชย
หมามุ้ย หญ้าขัด
กัญชง คื่นฉ่าย
หม่อน
 ดาวเรือง
ถั่วเหลือง
ผักชีฝรั่ง
พริก
กวาวเครือขาว
ยี่หร่า
ข่อย
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
ขี้เหล็กอเมริกัน
ถั่งเช่า
ข่า
มะเขือพวง
มะกรูด
โหราเดือยไก่
ชะมดต้น
ขี้เหล็กเทศ
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม
ดีปลี
สะเดาดิน ผักขวง
หอมหัวใหญ่
 สะระแหน่
 ฟักข้าว
 บุก
 ชะพลู
 ตะไคร้
 ส้มโอ
กระเพรา
แคนา
 กระเทียม
 หญ้าคา
 ไมยราบ
 มะเฟือง
 มะระ
 ขิง
 ฟ้าทะลายโจร
 มะลิ

สาเหตุของอาการปวดเมื่อย

สาเหตุของอาการปวดเมื่อยนั้น สามารถแยกสาเหตุของอาการปวดเมื่อย ได้ 5 สาเหตุ คือ สาเหตุจากกล้ามเนื้อ สาเหตุจากเส้นเอ็น สาเหตุจากเส้นประสาทกดทับ สาเหตุจากข้อกระดูกและสาเหตุจากเส้นเลือด ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุการปวดเมื่อยมี ดังนี้

  1. การปวดเมื่อยสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ หากกล้ามเนื้อของมนุษย์ทำงานหนักมาก ทำให้เกิดอาการล้า และกล้ามเนื้อเกิดการหด เกร็ง ในการปวดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ ที่มีอาการหนักก็จะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังศอกและเอว เกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน การยกของหนักในท่ายกที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งและเกิดการอักเสบ หรือฉีกได้
  2. การปวด การเมื่อย ที่มีสาเหตุมาจากเส้นเอ็น อาการปวดจากเส้นเอ็นจะเกิดกับส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบ่อย เช่น หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เป็นต้น สาเหตุของการปวดเอ็น คือ อาการอักเสบของเส้นเอ็น
  3. การปวด การเมื่อย จากสาเหตุของเส้นประสาทถูกกดทับ อาการปวดที่มาจากเส้นประสาทจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้าว อาการที่พบบ่อย คือ บริเวณกระดูกคอ สันหลัง นอกจากคอ หลังและเอวแล้ว หากเกิดอาการเส้นประสาททับหมอนรองกระดูก จะเกิดอาการปวดหลังมาก อาการปวดจะร้าวไปถึงขา ต้องพักผ่อนมากๆ
  4. การปวด สาเหตุจากข้อกระดูก ข้อกระดูกที่ทำให้ปวดมากที่สุด คือ ข้อเข้า เนื่องจากอาการข้อเข่ามีเสื่อมได้ง่าย เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีการรับแรงกระแทกมากที่สุด การปวดข้อ นั้นอาจะเกิดได้หลายสาเหตุนอกจากการเสื่อมของข้อกระดูก เช่น โรคเก๊าท์ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก โรคอื่น เช่น โรครูมาตอยด์ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การควบคุมอาหาร ช่วยลดอาหารปวดข้อได้มาก
  5. การปวด การเมื่อย สาเหตุจากเส้นเลือด ความผิดปรกติของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง ทำให้ปวดตัว ลักษณะของการปวดจะแตกต่างกันออกไป ต้อเส้นเลือดตีบ ทำให้เลือดเดินทางไปกล้ามเนื้อลำบาก อาการปวด อาการเมื่อย จะเกิดที่กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ  ถ้าเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ แต่เลือดไปเลี้ยงขาไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปไม่ไหว เกิดอาการปวด และอาการปวดจะค่อยๆลดลงเมื่อเลือดเดินทางได้สะดวก

การป้องกันและรักษาหากเกิดอาการปวดเมื่อย

การป้องกันและรักษาอาการปวดเมื่อย มีหลักการในการป้องกันและรักษาอาการปวดเมื่อย ดังนี้

  • ต้องถนอมใช้งานร่างกาย ควรใช้งานอวัยวะต่างๆอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมส่งผลต่อการบาดเจ็บของร่างกาย
  • เพิ่มศักยภาพของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงช่วยลดอาการปวดเมือย เมื่อต้องใช้กล้ามเนื้อหนักๆ การฝึกกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ทำให้ข้อนั้นมีความมั่นคงไม่เกิดการบาดเจ็บง่าย ๆ
  • แนวทางการพยาบาล เมื่อมีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน คือ การหยุดพักร่างกาย ในส่วนที่มีอาการปวดเมื่อย

สมุนไพรรักษาเส้น ยากษัยเส้นตำรับยาป้องกันโรคเส้น แก้อัมพฤกษ์ ปวดเข่า บำรุงเส้น แก้เส้นพิการ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและบำรุงร่างกาย  โรคปวดเมื่อย เป็นโรคที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าในชีวิตของพวกเราไม่เคยมีอาการปวดเมื่อย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก