โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุ การรักษาและป้องกัน โรคความดัน

ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดตีบ โรคยอดฮิต การรักษาต้องปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิต ลดความเครียด ออกกำลังกาย ลดอาหารมันโรคความดันโลหิตสูง โรคความดัน โรคไม่ติดต่อ โรคระบบเลือด

โรคความดันโลหิตสูง โรคยอดฮิต และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การรักษาโรคนั้น นอกจากจะรักษาด้วยการทานยา แนะนำให้ ออกกำลังกายและรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น ไตวาย เส้นเลือดในสมองอุดตันและหัวใจวาย เป็นต้น

โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคความดันสูง ซึ่งในทางการแพทย์ เรียกโรคนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูง และภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hypertension  หรือ High blood pressure เป็นโรคชนิดหนึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ โรคนี้พบมากในผู้ใหญ่ เราพบว่าประมาณ 25 ถึง 30% ของประชากรผู้ใหญ่บนโลกทั้งหมดเป็นโรคนี้ และผู้ชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผุ้หญิง  และหากอายุเกิน 60 ปี เราพบว่า 50% ของประชากรบนโลกเป็นภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตปรกติของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

เราสามารถแยกโรคความดันโลหิตสูงได้ เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาษาอังกฤษ เรียก Essential hypertension และชนิดที่ทราบสาเหตุ ภาษาอังกฤษ เรียก Secondary hypertension

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ชนิดทราบสาเหตุ ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

สำหรับการเกิดโรคมีหลายปัจจัย รายละเอียด ดังนี้

  1. พันธุกรรม หากในครอบครัว หรือญาติพี่น้องที่มีคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่จะเกิดความดันโลหิตสูง จะมากกว่าคนที่ในครอบครัวไม่มีคนเป็นโรคนี้
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะตีบตันของหลอดเลือด ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงมาก
  4. โรคไตเรื้อรัง จากที่กล่าวมาข้างต้น ไตมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  5. การสูบบุหรี่ สารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้
  6. การดื่มสุรา สุราจะมำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เราพบว่า 50% ของผู้ติดสุรา เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การไม่ออกกำลังกาย
  9. การใช้ยากลุ่มสเตียรรอยด์บางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูง

อาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

เราพบว่าไม่มีอาการให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เห็นในลักษณะ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน อาการที่พบบ่อยได้ คือ ปวดหัว มึนงง วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะทำการตรวจสอบจากประวัติ การใช้ยา วัดความดันโลหิต การตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สามารถรักษาได้โดย ให้ยาลดความดันโลหิต และรักษาโรคอื่นๆที่เป็นภาวะเสี่ยงของโรค เช่น รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคไตเรื้อรัง รักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สามารถทำได้โดย ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามแพทย์ อย่างเคร่งครัด กินยาตามหมอสั่ง ลดอาหารจำพวก แป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารเค็ม ออกกำลังกาย ไม่เครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา

การป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

สามารถทำได้โดย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยควบคุมระดับความดันเลือด เช่น

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง
ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว

Last Updated on March 17, 2021