แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียก ซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเซ็กซ์ รักษาอย่างไรแผเริมอ่อน โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีแผลที่หำ

สาเหตุของการเกิดแผลริมอ่อน

แผลเริมอ่อน เกิดจากการติดเชื้อ คือ เชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุสดูเครย์ เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ที่หนอง สามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง  ซึ่งมักจะเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ และ มีหนอง โดยเมื่อเชื้อโรคเจ้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาในการฟักตัวของโรคภายใน 10 วัน จึงแสดงอาการ โดยหากเกิดโรคนี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถรักษาให้หายเองได้

อาการของแผลริมอ่อน

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลเริมอ่อน นั้น แจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศ โดยมีตุ่มนูน และเจ็บที่อวัยวะเพศ หากเป็นผู้หญิงจะมีแผลที่แคมเล็ก หากเป็นผู้ชายจะมีแผลที่ปลายอวัยวะเพศ มักจะมีหลายแผล ซึ่งในช่วงแรกแผลจะมีขนาดเล็ก ต่อมาขนาดของแผลจะใหญ่ขึ้น ลักษณะของแผล เป็นแผลเปื่อย แฉะและไม่สะอาด จะมีอาการเจ็บที่แผลมาก ต่อมาแผลจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม ขาหนีบจะเป็นสีแดงคล้ำ และ บวม อาจแตกและมีหนอง ในผู้ป่วยบางราย จะมีิอาการ มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร และปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมากผิดปรกติ และ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หากปล่อยให้แผลลาม จะทำให้อวัยวะเพศผิดรูป ได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแผลริมอ่อน

สำหรับโรคแผลเริมอ่อน ต้องระมัดระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนของแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • โรคเอดส์ การมีแผลเริมอ่อนทำให้สามารถติเชื้อเอดส์ได้ง่ายกว่าปรกติ
  • เกิดผังผืดที่อวัยวะเพศ ซึ่งพังผืดอาจทำให้เกิดอุปสรรค์ในการทำกิจกรรมทางเพศ
  • อาจเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
  • อาจเกิดแผลเป็นที่ขาหนีบ

การรักษาโรคแผลริมอ่อน

สำหรับการรักษาโรคแผลเริมอ่อน นั้น ผู้ป่วยต้องรับยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับการดูและรักษาแผล โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาแผลริมอ่อนด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งสามารถทำให้หายขาดได้ แต่ไม่สามารถใช้กับสตรีมีครรภ์ได้ ดังนั้นการรับยาปฏิชีวนะ ต้องเป็นยาที่ได้จากคำสั่งของพทย์เท่านั้น
  • การรักษาด้วยการดูแลแผล และดูแลตนเองในเบื้องต้น เช่น รักษาแผลด้วยการใช้น้ำเกลือล้าง และ ทำความสะอาดแผลให้แห้งอยู่เสมอ หากมีอาการปวดให้กินยาแก้ปวดบรรเทาอาการ และ งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่รักษาแผลอยู่
  • หากผู้ป่วยมีอาการขาหนีบโต จนเกิดหนอง ต้องรักษาด้วยการดูดหนองออก หรือ ผ่าฝีหนองออก

ป้องกันเกิดแผลริมอ่อน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคแผลริมอ่อน นั้น ต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค คือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย และ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด โดยแนวทางการป้องกันการเกิดโรคแผลเริมอ่อน มีดังนี้

  • การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ป่วยที่มีแผลเริมอ่อน
  • หากมีแผลที่อวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลที่อวัยวะเพศ
  • ไม่มีพฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน
  • ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคหากต้องมีเพศสัมพันธ์
  • หมั่นรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ หลังการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
  • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

แผลริมอ่อน ( Chancroid ) ติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophillus ducreyi ที่อวัยวะเพศ ทำให้เกิดแผล มีหนองไหล เจ็บปวด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคซิฟิลิสเทียม ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แนวทางการรักษาโรคต้องทำอย่างไร

อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove