แก้พิษแมลงกัดต่อย ความรู้ใน 300 สมุนไพรและโรคต่างๆ https://beezab.com เว็บสุขภาพ Tue, 12 Mar 2024 04:50:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.4 โสน ดอกสะโหน สมุนไพร พืชท้องถิ่น สารพัดประโยชน์ https://beezab.com/%e0%b9%82%e0%b8%aa%e0%b8%99-%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%ab%e0%b8%99/ Mon, 18 Jan 2021 03:32:08 +0000 https://beezab.com/?p=16153 โสน สมุนไพร พืชท้องถิ่น มีประโยชน์ในการรักษาโรค เช่น แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย สรรพคุณต้นโสน ดอกโสนเป็นอย่างไร ดอกโสน เป็น ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา เป็นต้น จัดเป็นพืชท้องถิ่นมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค เช่น ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ต้นโสน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียจากอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย เป็นไม้เนื้ออ่อน เติบโตได้ในบริเวณที่มีน้ำขังในดินแถบภาคกลางและดินเหนียว ต้นโสยมักพบตามพื้นที่ที่มีน้ำขัง แถบลุ่มน้ำ ริมทาง ริมหนองน้ำ คลองบึง สายพันธุ์โสนในประเทศไทย ต้นโสน จากการศึกษาสายพันธ์ต้นโสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก ซึ่งรายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้ โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526 โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร ประโยชน์ของต้นโสน ต้นโสนมีการนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยมานิยมนำดอกโสนมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งอาหารเมนูดอกโสน ที่นิยมทำกินกัน เช่น ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนชุบแป้งทอด ยำดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน เป็นต้น สีเหลืองของดอกโสนนำมาทำสีผสมอาหาร ใช้ในการแต่งสีอาหารให้สีเหลือง ส่วนเนื้อไม้ นำมาทำเป็นของใช้ต่างๆ เช่น ของเล่นเด็ก ดอกไม้ประดิษฐ์ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง ปัจจุบันใบและดอกโสน สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ

The post โสน ดอกสะโหน สมุนไพร พืชท้องถิ่น สารพัดประโยชน์ first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
โสน สมุนไพร พืชท้องถิ่น มีประโยชน์ในการรักษาโรค เช่น แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย สรรพคุณต้นโสน ดอกโสนเป็นอย่างไรโสน ดอกโสน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกโสน เป็น ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา เป็นต้น จัดเป็นพืชท้องถิ่นมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค เช่น ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย

ต้นโสน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียจากอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย เป็นไม้เนื้ออ่อน เติบโตได้ในบริเวณที่มีน้ำขังในดินแถบภาคกลางและดินเหนียว ต้นโสยมักพบตามพื้นที่ที่มีน้ำขัง แถบลุ่มน้ำ ริมทาง ริมหนองน้ำ คลองบึง

สายพันธุ์โสนในประเทศไทย

ต้นโสน จากการศึกษาสายพันธ์ต้นโสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก ซึ่งรายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น
  • โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร

ประโยชน์ของต้นโสน

ต้นโสนมีการนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยมานิยมนำดอกโสนมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งอาหารเมนูดอกโสน ที่นิยมทำกินกัน เช่น ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนชุบแป้งทอด ยำดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน เป็นต้น สีเหลืองของดอกโสนนำมาทำสีผสมอาหาร ใช้ในการแต่งสีอาหารให้สีเหลือง ส่วนเนื้อไม้ นำมาทำเป็นของใช้ต่างๆ เช่น ของเล่นเด็ก ดอกไม้ประดิษฐ์ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง

ปัจจุบันใบและดอกโสน สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ชาดอกโสน และ ชาจากยอดใบโสน  เป็นชาที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติอ่อนนุ่ม

ลักษณะของต้นโสน

ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้

  • ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้อ่อนและกลวง
  • ใบโสน ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับบนลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบเป็นสีเขียว ก้านใบมีหนามแหลม
  • ดอกโสน ลักษณะดอกเป็นช่อกระจุก ออกดอกตามซอกใบ ซอกกิ่ง และปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลือง ดอกโสนจะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • ผลโสน ลักษณะเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก้เป็นสีม่วงและสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาลเป็นมันเงา

คุณค่าทางโภชนาการของโสน

สำหรับการรับประทานโสนเป็นอาหาร นิยมรับประทานดอกโสนเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ความชื้น 87.7 กรัม วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

ดอกโสน มีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ ( Quercetin 3-2 (G)-rhamnosylrutinoside ) เป็นสารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์หยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการอักเสบ

สรรพคุณของโสน

สำหรับการนำโสนมาใช้ประประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากดอก ราก ลำต้น ใบ ซึ่งสรรพคุณของโสน มีดังนี้

  • ดอกโสน สรรพคุณแก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโสน สรรพคุณแก้ร้อน
  • ลำต้นโสน สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบของโสน สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลฝี

โทษของโสน

ดอกโสนนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ซึ่งดอกโสนมีสรรพคุณแก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย การนำดอกโสนมารับประทานควรทำความสะอาด ไม่ให้มีสิ่งเจือปน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

The post โสน ดอกสะโหน สมุนไพร พืชท้องถิ่น สารพัดประโยชน์ first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ดอกโสน สะโหน สมุนไพร โทษและสรรพคุณ มีอะไรบ้าง https://beezab.com/%e0%b9%82%e0%b8%aa%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%ab%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2/ Sat, 26 Oct 2019 22:06:39 +0000 http://beezab.com/?p=1155 ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย โสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq ชื่ออื่นๆ ของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา สรรพคุณของโสน ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ถิ่นกำเนิดของต้นโสน คือ ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย รวมถึง ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย สายพันธุ์โสนในประเทศไทย สายพันธ์ต้นโสนจากการศึกษาสายพันธ์โสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ คือ โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก รายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีรายละเอียด ดังนี้ โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526 โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น ลักษณะของต้นโสน ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้ ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ลำต้นยาว สีเขียว

The post ดอกโสน สะโหน สมุนไพร โทษและสรรพคุณ มีอะไรบ้าง first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อยต้นโสน ดอกโสน สมุนไพร สรรพคุณของโสน

โสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq ชื่ออื่นๆ ของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา สรรพคุณของโสน ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ถิ่นกำเนิดของต้นโสน คือ ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย รวมถึง ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย

สายพันธุ์โสนในประเทศไทย

สายพันธ์ต้นโสนจากการศึกษาสายพันธ์โสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ คือ โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก รายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีรายละเอียด ดังนี้

  • โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร
  • โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น

ลักษณะของต้นโสน

ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้

  • ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ลำต้นยาว สีเขียว
  • ใบโสน ลักษณะใบของโสนเป็นรูปรี สีเขียว ใบและท้องใบจะเรียบ ที่โคนของก้านจะมีหนาม
  • ดอกของโสน ลักษณะของดอกจะออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง ดอกจะเป็นสีเหลือง โสนจะออกดอกช่วงปลายฤดูฝน
  • ผลของโสน ออกเป็นฝัก ฝักอ่อนของโสนจะมีสีเขียว เมื่อแก่ไปฝักจะเป็นสีน้ำตาล เมล็ดจะเป็นทรงกลม

คุณค่าทางโภชนาการของโสน

สำหรับการรับประทานโสนเป็นอาหาร นิยมรับประทานดอกโสนเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ความชื้น 87.7 กรัม วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของโสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากโสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำโสนมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ทั้ง ดอก ราก ลำต้น ใบ รายละเอียด สรรพคุณของโสน มีดังนี้

  • ดอกโสน จะมีรสจืด มีสรรพคุณ แก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโสน จะมีรสจืด มีสรรพคุณ แก้ร้อน
  • ลำต้นโสน จะมีรสจืด สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ โดยนำมาเผาให้ไหม้ จากนั้นนำไปแช่น้ำดื่ม
  • ใบของโสน มีรสจืด สรรพคุณ รักษาแผล โดนนำไปตำและพอกแผล หรือ นำใบไปตำผสมกับดินสอพอง ใช้พอกแผลรักษาฝีได้

ประโยชน์ของต้นโสน

  • ดอกโสน มีรสออกหวานเล็กน้อย นิยมใช้รับประทานเป็นผักหรือนำมาใช้ประกอบหรือทำอาหารคาวหวานรับประทาน เมนูดอกโสน ที่นิยมกันมาก ได้แก่ ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนลวกจิ้มกับน้ำพริกกะปิกินกับปลาทู ดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว ดอกโสนชุบแป้งทอดกรอบกินกับขนมจีนน้ำพริก ยำดอกโสน ดอกโสนดองน้ำเกลือ แกงส้มดอกโสนกับปลาช่อน ดอกโสนแกงใส่ไข่มดแดง หรือแกงเผ็ดอะไรก็ได้ใส่ดอกโสน แต่ถ้าใช้ประกอบอาหารหวานก็จะมีข้าวเหนียวมูนดอกโสน ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย เป็นต้น
  • จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ดอกโสนมีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ (Quercetin 3-2 (G)-rhamnosylrutinoside) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ โดยมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารชนิดนี้พบว่า เควอเซทินมีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายด้วยกระบวนการอะพ็อปโทซิส (apoptosis) ช่วยหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยระงับการอักเสบ และช่วยป้องกันอันตรายของเซลล์ปกติต่อความเครียดจากกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ
  • นอกจากนี้ยังนำมาใช้แต่งสีอาหารได้อีกด้วย โดยจะให้สีเหลือง ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์ (caiotenoid) โดยวิธีการเตรียมสีเหลืองจากดอกโสน ก็ให้นำดอกโสนสดที่ล้างสะอาดแล้วมาบดหรือโม่ผสมกับแป้งที่จะใช้ทำขนม จะทำให้ได้แป้งสีเหลืองที่มีกลิ่นหอม แล้วจึงนำแป้งที่ได้ไปใช้ทำขนมต่าง ๆ
  • เนื้อไม้ของต้นโสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง โดยไม้โสนจะใช้ทำเป็นของเล่นเด็กมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเยื่อไม้ที่มีลักษณะเบา บาง และเหนียว ก็นำมาประดิษฐ์ทำเป็นดอกไม้ได้อย่างประณีตและงดงาม
  • ไม้โสนยังสามารถนำมาใช้เป็นทุ่นหรือเชื้อติดไฟได้ดี
  • ในปัจจุบันได้มีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ชาดอกโสน และชาจากยอดใบโสน เนื่องจากดอกโสนมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เมื่อนำมาทำชา ก็ได้ชาที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ให้รสชาติอ่อนนุ่ม โดยสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ต้นโสน ดอกโสน ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน สรรพคุณของโสน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย ดอกโสน นิยมนำมาทำอาหาร เช่น ไข่เจียวดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน

The post ดอกโสน สะโหน สมุนไพร โทษและสรรพคุณ มีอะไรบ้าง first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
กุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์และสรรพคุณ เป็นอย่างไร https://beezab.com/%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a2%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%9e%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a8/ Fri, 19 Aug 2016 08:12:09 +0000 http://beezab.com/?p=4199 กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น ลักษณะของต้นกุยช่าย ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้ ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45

The post กุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์และสรรพคุณ เป็นอย่างไร first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>
กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

The post กุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์และสรรพคุณ เป็นอย่างไร first appeared on 300 สมุนไพร และ โรค เรื่องสุขภาพน่ารู้มีอะไรบ้าง.

]]>