สมองฝ่อ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอทำให้เนื้อสมองหายไปบางส่วนจากการเสื่อมตามวัย ส่งผลกระทบต่อความจำและอารมณ์ พบบ่อยในคนอายุ 75 ปีขึ้นไป โรคผู้สูงวัยและครดื่มสุราจัดสมองฝ่อ โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อม โรคคนแก่

สมองฝ่อ คือ ภาวะปริมาณเนื้อสมองลดลง เป็นการเสื่อมของอวัยวะในร่างกายตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นกับสมอง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เซลล์สมองของมนุษย์ ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างพิเศษมีประมาณ 140,000 ล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์ก็มีการเชื่อมติดกันและทำงานประสานกัน ซึ่งการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทจะสร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อส่งสัญญาณจากสารประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่งทั่วสมอง แต่เมื่อเซลล์บางส่วนถูกทำลายจึงทำให้เกิดการเสื่อมของสมอง

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อ เราได้สรุป 5 พฤติกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • การไม่รับปรทานอาหารเช้า เนื่องจากการไม่กินอาหารเช้าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สมองขาดสารอาหารไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ทำให้สมองเสื่อมได้
  • การดื่มน้ำน้อย การที่ร่างกายของมนุษย์ขาดน้ำ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งในสมองมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 เมื่อเราอยู่ในภาวะร่างกายขาดน้ำ เซลล์สมองก็จะเสื่อมลงได้ง่ายขึ้น
  • การกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งแป้งและน้ำตาลหากมีมากเกินไปทำให้ความสามารถการดูดซึมโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญของร่างกาย หากขาดโปรตีนทำให้สมองเสื่อมง่าย
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ความเครียด ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับสาเหตุของโรคสมองฝ่อมีหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยของการเกิดโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • การเสื่อมของสมองตามวัย
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะกระทบกระเทือนต่อสมอง
  • การการทานยากันชัก ไดแลนติน (Dilantin)
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคภูมิต้านตนเอง (SLE) โรคไตวาย โรคติดเชื้อในสมอง โรคสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสมอง เช่น ความเครียด การพักผ่อนน้อย การไม่ทานอาหารเช้า การขาดสารอาหาร เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ

สำหรับผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ สามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อได้ ดังนี้

  • มีอาการลืมสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งต่อมาจะส่งผลกระทบในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และเหตุผล ทำให้ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นรอบตัว และในกรณีที่อาการหนักจะทำให้บุคลิกภาพของผู้สูงอายุเสียไป
  • มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขน และ ขา
  • ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองน้อยลง โดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นความจำเสื่อม หลงลืม มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
  • ขี้หลงขี้ลืม เช่น พึ่งกินข้าวเสร็จ แต่บอกว่ายังไม่ได้กิน

การรักษาโรคสมองฝ่อ

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น ต้องรักษาตามอาการและต้องหาเหตุของโรคให้ชั้ดเจนเพื่อรักษาให้ตรงจุด โดยสามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคสมองฝ่อ ได้ดังนี้

  • หากตรวจร่างกายแล้วพบว่าอยู่ในภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ซึ่งมีโอกาศเสี่ยงการเกิดโรคสมองฝ่อ สามารถป้องกันและแก้ไขก่อนที่จะเกิดโรค รวมถึงการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีผลต่อการทำงานของสมอง
  • ในการรักษาโรคสมองฝ่อ อื่นๆให้รักษาและประคับประครองตามอาการที่พบ ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ให้ปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย เช่น อาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ขับถ่ายทุกวัน เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อ สามารถป้องกันได้หากปรับพฤติกรรมให้เป็นประโยชน์ต่อสมอง ลดผลกระทบทุกอย่างที่มีโอกาสทำลายสมอง โดยรายละเอียดมี ดงันี้

  • หมั่นออกกำลังกายสมอง เช่น การฝึกคิด ฝึกการรับรู้ความรู้สึกให้สัมพันธ์กัน เช่น กระตุ้นการได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส เป็นต้น
  • การเล่นเกมส์หมากรุก
  • ฝึกคิดเลข
  • ท่องเที่ยวเพื่อพบเพื่อนใหม่ๆ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารประเภทปลาทะเล ขิง ใบบัวบก เป็นต้น
  • ไม่ดื่มสุรา
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

โรคสมองฝ่อ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เนื้อสมองหายไปบางส่วนจากการเสื่อมตามวัย โรคผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อระบบความจำและอารมณ์ พบบ่อยในคนอายุ 75 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ รวมถึงดื่มสุรามากด้วย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove