รูมาตอยด์ เยื่อหุ้มข้อกระดูกอักเสบเรื้อรัง ทำให้นิ้วมือนิ้วเท้าผิดรูป ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค หากไม่รักษาทำให้พิการได้ รักษาได้ด้วยยา ผ่าตัด กายภาพบำบัดข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( rheumatoid arthritis ) คือ ภาวะเยื่อหุ้มข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นโรคในกลุ่มภูมิต้านตนเอง มีอาการอักเสบอย่างรุนแรงที่ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า หากไม่รักษาทำให้พิการได้ เนื่องจากเยื่อบุข้อเจริญงอกงามอย่างมาก จนลุกลามและทำลายกระดูก และ ข้อต่อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ พบมากในกลุ่มคนสองช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี ( พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ) และ 50 ถึง 60 ปี ( พบได้ในทั้งเพศชายและหญิงเท่าๆกัน)

สาเหตุของการเกิดโรครูมาตอยด์

สาเหตุของโรคการเกิดโรครูมาตอยด์ ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดได้ แต่พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส นอกจากนี้ความผิดปรกติของฮอร์โมนในร่างกายก็อาจเป็นสาเหตุได้

อาการของโรครูมาตอยด์

สำหรับอาการป่วยของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ จะแสดงอาการเริ่มต้นด้วยอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร จากนั้นจะปวดข้ออย่างรุนแรงจะตามมา โดยเฉพาะข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า รวมถึงมีอาการปวดที่ข้อกระดูกใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ซึ่งอาการปวดจะปวดในขณะที่ข้อกระดูกไม่ได้ใช้งาน เช่น ปวดกระดูกหลังตื่นอน ปวดกระดูกกลางดึก หรือ ปวดกระดูกขณะพักผ่อนอยู่เฉยๆ แม้กินยาแก้ปวดอาการปวดก็ไม่หาย

ลักษณะการผิดรูปร่างของข้อที่พบ มีหลายลักษณะแตกต่างกันตามจุดที่เกิด มีรายละเอียดดังนี้

  • หากเกิดที่ข้อนิ้วมือและข้อมือ จะมีการผิดรูป 3 แบบ คือ แบบรูปร่างคล้ายตัวหนังสือ Z เรียก Z deformity แบบคอห่าน เรียก Swan neck deformity และ แบบข้อนิ้วมือส่วนต้นงอเข้าหาฝ่ามือ เรียก Boutonniere deformity
  • การเกิดที่ข้อมือ จะทำให้ข้อมือขยับไม่ได้ และพังผืดจะเกิดรอบๆข้อ และไปกดทับเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้ปวดและชาที่มือและกล้ามเนื้อมือ
  • การเกิดที่ข้อเท้า และ ข้อนิ้วเท้า ทำให้พิการถึงขั้นเดินไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อศอก จะทำให้ข้อศอกหด และ งอ ทำให้ยืดข้อศอกไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อเข่า จะทำให้เข่าหดงอ ส่งผลกระทบต่อการเดิน
  • การเกิดทั้ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจส่งผลให้กระดูกเลื่อนหลุด และไปกดเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการปวดและชา แขนอ่อนแรง เป็นอัมพาตได้

การรักษาโรครูมาตอยด์

สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคนี้สามารถกลับมาเป็นอีกครั้งได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อ และพบแพทย์เป็นระยะๆ โดยแนวทางการรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์  สามารถทำได้โดยการบรรเทาอาการของโรค ร่วมด้วยการผ่าตัดและการทำกายภาพบำบัดร่วม โดยรายละเอียดของการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ การให้ยาแก้อักเสบ และ การให้ยายับยั้งข้ออักเสบ
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันกระดูกผิดรูป โดยวิธีการประคบร้อน แช่น้ำอุ่น ให้ผู้ป่วยขยับตัวให้มาก เพื่อป้องกันข้อแข็งและผิดรูป
  • การฝ่าตัด ทำเพื่อเลาะเยื่อบุข้อกระดูกที่การอักเสบ ผ่าตัดซ่อมแซมเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อกระดูกให้ตรง หรือใส่ข้อเทียม แต่การผ่าตัดนั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการของโรครูมาตอยด์ เท่านั้น

การป้องกันการเกิดโรครูมาดอยด์

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด การป้องกันจากสาเหตุของโรคจึงเป็นเรื่องยาก การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงเป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดี แนวทางการป้องกันโรครูมาตอยด์ มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์มาตราฐาน
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงกิจกรรมที่ทำลายข้อ เช่น ยกของหนัก กระโดด นั่งยองๆ เป็นต้น

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เยื่อหุ้มข้ออักเสบเรื้อรัง ทำให้นิ้วมือนิ้วเท้าผิดรูป ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน หากไม่รักษาทำให้พิการได้ สามารถรักษาได้ด้วยยา การผ่าตัด และ ทำกายภาพบำบัด

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อข้อกระดูก อักเสบที่ข้อเล็ก ทำให้มีอาการปวดข้อ หากไม่รักษาอาจทำให้พิการได้และลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนอื่นๆได้รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ

โรครูมาตอยด์ เป็น โรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูก และข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น โรครูมาตอยด์ วิธีรักษาโรครูมาตอยด์ สาเหตุของโรครูมาตอย์ อาหารที่ควรกิน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อกระดูก มือ นิ้วมือ ข้อมือ กระดูกผิดรูป ไขข้ออักเสบเรื้อรัง

สาเหตุของการเกิดโรครูมาตอยด์

สำหรับสาเหตุของโรคการเกิดโรครูมาตอยด์ นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วโลก จึงมีข้อสันนิษฐานอีกอย่างว่าเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด มีความเป็นไปได้ว่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งส่งผลให้เกิดข้ออักเสบเรื้อรัง

นอกจากสาเหตุของกรรมพันธ์ และ เชื้อโรคบางชนิดแล้ว สาเหตุจากฮอร์โมนในร่างกาย ก็เกี่ยวข้อง เนื่องจาก โรครูมาตอยด์พบมากในเพศหญิงม และอาการของโรคจะดีขึ้นเมื่อตั้งท้อง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินผิดปกติ โดยเฉพาะที่ข้อกระดูก เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เซลล์เนื้อเยื่อ ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น และเกิดดารหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการอักเสบ และเนื้อเยื่อปกติถูกทำลาย

อาการของโรครูมาตอยด์

สำหรับอาการโรครูมาตอยด์ พบว่าเริ่มต้นจะมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร และจึงเกิดอาการข้ออักเสบตามมา อาการลักษณะนี้พบว่า ร้อยละ 60 เกิดอาการตามลำดับนี้ มีส่วนน้อยที่มีอาการข้ออักเสบเลยโดยไม่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และ ม้ามโต

อาการของข้ออักเสบ ที่เกิดจากโรครูมาตอย ผู้ป่วยจปวดบวมตามข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อนิ้วเท้า และ ฝ่าเท้า แต่จะไม่พบว่ามีอาการอักเสบที่ข้อปลายนิ้วมือ และ ข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว เมื่อพักการใช้งานข้อนานๆ จะพบว่า หลังตื่นนอนจะมีอาการข้อยึดและขยับไม่ได้ มีอาการข้อบวม และปวด ที่เกิดจากข้อกระดูกมีน้ำมาก เยื่อบุข้อหนาตัว เมื่ออาการอักเสบลักษณะนี้ เกินนานๆจะส่งผลต่อกระดูกอ่อนของข้อถูกทำลาย กระดูกรอบข้อจะบางลง และเกิดพังผืดขึ้นมาแทน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อทำงานไม่ปกติ

ลักษณะการผิดรูปร่างของข้อที่พบ มีหลายลักษณะแตกต่างกันตามจุดที่เกิด มีรายละเอียดดังนี้

  • หากเกิดที่ข้อนิ้วมือและข้อมือ จะมีการผิดรูป 3 แบบ คือ แบบรูปร่างคล้ายตัวหนังสือ Z เรียก Z deformity แบบคอห่าน เรียก Swan neck deformity และ แบบข้อนิ้วมือส่วนต้นงอเข้าหาฝ่ามือ เรียก Boutonniere deformity
  • การเกิดที่ข้อมือ จะทำให้ข้อมือขยับไม่ได้ และพังผืดจะเกิดรอบๆข้อ และไปกดทับเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้ปวดและชาที่มือและกล้ามเนื้อมือ
  • การเกิดที่ข้อเท้า และ ข้อนิ้วเท้า ทำให้พิการถึงขั้นเดินไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อศอก จะทำให้ข้อศอกหด และ งอ ทำให้ยืดข้อศอกไม่ได้
  • การเกิดที่ข้อเข่า จะทำให้เข่าหดงอ ส่งผลกระทบต่อการเดิน
  • การเกิดทั้ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจส่งผลให้กระดูกเลื่อนหลุด และไปกดเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการปวดและชา แขนอ่อนแรง เป็นอัมพาตได้

การรักษาโรครูมาตอยด์

แนวทางการรักษาใช้การทำกายภาพบำบัด การให้ยา และ ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการ รายละเอียด ดังนี้

  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งมีทั้งชนิดกินและฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ ข้อกระดูก แต่วิธีนี้จะใช้เมื่ออักเสบอย่างรุนแรงเท่านั้น และต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะมีผลข้างเคียง เช่น เร่งกระดูกพรุน ไตวาย และติดเชื้อง่าย และถ้าหยุดใช้ยาอาการก้จะกลับมา
  • ทำกายภาพบำบัด โดยวิธีการ ประคบร้อน แช่น้ำอุ่น ในบางกรณีแนะนำให้ ใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อป้องกันข้อกระดูกติด ผิดรูป การทำกายภาพบำบัดสำหรับโรครูมาตอยด์ แนะนำให้ผู้ป่วยขยับตัวให้มาก เพื่อป้องกันข้อแข็งและผิดรูป การออกกำลังกายในส่วน มือ นิ้ว และแขน ก็ช่วยได้
  • ใช้ยาแก้อักเสบ วิธีนี้ใช้สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการไม่รุ่นแรง ยาแก้อักเสบจะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ดี
  • ใช้ยายับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า วิธีนี้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะ ยาชนิดนี้ ค่อนค้างอันตราย
  • ฝ่าตัด จะทำการเลาะเยื่อบุข้อที่การอักเสบออกและผ่าตัดซ่อมแซม เชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อกระดูกให้ตรง หรือใส่ข้อเทียม แต่การผ่าตัดนั้นเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการของโรครูมาตอยด์ เท่านั้น

การป้องกันการเกิดโรครูมาดอยด์

ปัจจุบันยังไม่สามารถของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สิ่งที่ทำได้ คือ การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเมื่อรู้สึกปวด เพื่อหยุดยั้งการอักเสบ และ การถูกทำลายของข้อให้เร็วที่สุด ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเร็วมีโอกาสหยุดยั้งโรคได้ง่ายกว่า และ โอกาสข้อพิการจะน้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์

ผู้ป่วนโรครูมาตอยด์ต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยากินเอง และ ควรปฏิบัตตนตามนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดี ช่วยลดความปวด และอาการอ่อนเพลีย
  • ไม่ควรนั่งหรือยืน ในท่าทางที่ไม่เกิดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ เนื่องจากจะทำให้ข้อแข็ง ขาดความยืดหยุ่น แต่ไม่ควรฝืนเมื่อข้ออาการบวมและปวดอยู่
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทกที่ข้อกระดูก เช่น การยกของหนัก การกระโดดสูงๆ การทำงานที่ใช้ข้อกระดูกมากๆ
  • ควรลดน้ำหนักตัว เพิ่อแบ่งเบาภาระการทำงานของข้อกระดูก
  • รับประทานอาหาที่มีประโยชน์ต่อข้อและกระดูก เช่อ อาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และ วิตามินซี เพื่อการบำรุงเนื้อเยื่อและกระดูก เป็นต้น

อาหารที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยรูมาตอย

สำหรับอาหารของผู้ป่วยเป็นรูมาตอยด์ คือ ข้าวกล้อง ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน น้ำ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

อาหารที่ควรหลีกเลี้ยงสำหรับผู้ป่วนรูมาตอย

อาหารควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้เป็นโรครูมาตอยด์ คือ ผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ข้าวสาลี เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ผลไม้ตระกูลส้ม ไข่ มันฝรั่ง ถั่ว มะเขือเทศ กาแฟ

สมุนไพรบำรุงกระดูก ช่วยป้อกันและบำรุงสภาพกระดูกให้เสื่อมช้าลงได้ เราได้รวมสมุนไพรที่บำรุงกระดูก ประกอบด้วย

ชะคราม ใบชะคราม สรรพคุณของชะคราม ประโยชน์ของชะครามชะคราม แก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกรแก้วมังกร
ผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพรคื่นฉ่าย หม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อนหม่อน
ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลืองถั่วเหลือง
ผักชีฝรั่ง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของผักชีฝรั่งผักชีฝรั่ง

โรครูมาตอยด์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ คือ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อข้อกระดูก เกิดการอักเสบของข้อเล็ก ทำให้มีอาการปวดข้อ หากไม่รักษาทำให้พิการได้ อาจลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น เม็ดเลือด ปอด หัวใจ และส่งผลให้ ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด และอีกมากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove