กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ อาการปวดข้อมือ ชาบริเวณมือ ปวดมือ และ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน มืออ่อนแรง เกิดจากการนั่งพิมพ์งานนานๆ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต

กดทับเส้นประสาทข้อมือ มือชา โรคออฟฟิตซินโดรม โรคข้อและกระดูก

ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งเส้นประสาทที่ข้อมือทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ และ รับความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ การกดทับเส้นประสาทนานๆทำให้เส้นประสาทตีบแคบ และ อักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการชา และ ปวดข้อมือ เป็นกลุ่มอาการสำหรับคนทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุของอาการบาดเจ็บ มีองค์ประกอบหลักๆ 2 สาเหตุ คือ

  • เกิดจากสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ในสำนักงานไม่เหมาะสำต่อสรีระของคนทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และ computer เป็นต้น รวมถึง เสียง แสงสว่าง ที่ส่งผลต่อ สายตา กล้ามเนื้อ และอาการปวดศรีษะ
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของคนทำงาน เช่น การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ

กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงาน ( Office syndrome ) มีหลายอาการ เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ( Carpal tunnel syndrome)  หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ( HNP ) กล้ามเนื้ออักเสบ ( Myofascial pain syndrome ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ ( tennis elbow ) กระดูกสันหลังยึดติด ( Lumbar dysfunction ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ ( golfer elbow ) เป็นต้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

สาเหตุของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สาเหตุสำคัญหลักของการเกิดโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ คือ การใช้ข้อมือและมือแบบซ้ำๆ ซึ่งลักษณะมีการกดข้อมือกับพื้นนานๆ เช่น การพิมพ์งาน การขับรถ รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆที่มีการสั่นตลอดเวลา เช่น เครื่องเจาะพื้นถนน เมื่อมีการกดทับที่ข้อมือนานๆทำให้เส้นประสาทที่ข้อมือตีบและแคบลง และ เส้นประสาทข้อมืออักเสบ พบว่าอาการโรคนี้จะพบร่วมกับภาวะโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน และ โรคเบาหวาน ซึ่งสามาทรถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ มีดังนี้

  • เพศ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย
  • ช่วงอายุ พบว่าคนในช่วงอายุ 35 ถึง 40 ปี เป็นวัยทำงาน มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
  • ลักษณะของข้อมือ คนที่มีข้อมือลักษณะกลม จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะข้อมือแบน
  • ภาวะการตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดการกดทับเส้นประสาทมากกว่าคนไม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มคนที่ต้องใช้การกระดูกข้อมือขึ้นลงบ่อย เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว คนซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะ เป็นต้น
  • ภาวะกระดูกหัก หรือ ข้อมือเคลื่อน
  • ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หรือ โรคไทรอยด์

อาการของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับอาการของโรคจะแสดงอาการที่เจ็บปวด และ อาการอ่อนแรง ซึ่งแสดงอาการที่ข้อมือและมือ คือ ชาบริเวณมือ ปวดบริเวณฝ่ามือ ปวดร้าวจากมือไปจนถึงข้อศอก มืออ่อนแรง สามารถแบ่งอาการให้ง่ายต่อการศึกษา ได้ดังนี้

  • ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
  • อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบที่ฝ่ามือ

แนวทางการวินิจฉัยโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักประวัติ และสังเกตุจากอาการ จากนั้นต้องทำการตรวจมือ ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท ( Electrodiagnosis ) และ เอกซเรย์เพื่อดูโครงสร้างของมือ อัลตราซาวด์เพื่อวิเคราะห์การบีบอัดของเส้นประสาท และ เอ็มอาร์ไอเพื่อดูเนื้อเยื่อบริเวณเส้นประสาท

การรักษาโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับแนวทางการรักษา แนวทางการรักษามี 2 แนวทาง คือ การทำกายภาพบำบัด หรืแ การผ่าตัด ซึงแนวทางการรักษาเบื้องต้นจะไม่ใช้การผ่าตัดในการรักษา ซึ่งสามารถสรุปการรักษาโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ ได้ดังนี้

  • การรักษาด้วยการไม่ใช้การผ่าตัด ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือและข้อมือ ใส่เฝือกอ่อนดามบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลือนไหวของมือและข้อมือ ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ และ การทำกายภาพบำบัดบริหารมือ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ผ่าตัดเยื่อหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือให้แยกจากกัน ซึ่งหลังจากการผ่าตัดข้อมือ ให้ผู้ป่วยยกมือสูงเพื่อลดอาการบวมหลังการผ่าตัด และ ให้ทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค

การป้องกันโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

แนวทางการป้องกันโรคนี้ให้หลีกเลี่ยงการกดทับและการใช้ข้อมือหนักๆ การนั่งพิมพ์งานให้พัก และ บริหารมือ เพื่อให้ข้อมือและมือได้ผ่อนคลายความเกรง

กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ อาการปวดข้อมือ ชาบริเวณมือ ปวดมือ และ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน มืออ่อนแรง เกิดจากการนั่งพิมพ์งานนานๆ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากการกดข้อมือกับพื้นนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดและชามือ พบมากในอาชีพที่ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์นาน ออฟฟิตซินโดรม พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานโรคกดทับเส้นประสาทเอ็นข้อมือ โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคออฟฟิตซินโดรม

ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นกลุ่มอาการสำหรับคนทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุของอาการบาดเจ็บ มีองค์ประกอบหลักๆ 2 สาเหตุ คือ

  • เกิดจากสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ในสำนักงานไม่เหมาะสำต่อสรีระของคนทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และ computer เป็นต้น รวมถึง เสียง แสงสว่าง ที่ส่งผลต่อ สายตา กล้ามเนื้อ และอาการปวดศรีษะ
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของคนทำงาน เช่น การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ

สำหรับกลุ่มอาการ ที่เกิดจากการทำงาน ที่เรียกว่า Office syndrome มีหลายอาการ เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ( Carpal tunnel syndrome)  หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ( HNP ) กล้ามเนื้ออักเสบ ( Myofascial pain syndrome ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ ( tennis elbow ) กระดูกสันหลังยึดติด ( Lumbar dysfunction ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ ( golfer elbow ) เป็นต้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

สาเหตุของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

เกิดจากการใช้งานมือหนัก และโรคนี้ยังพบว่าจะเป็นโรคที่เกิดร่วมกับภาวะต่างๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย วัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน เป็นต้น และ สาเหตุสำคัญของโรคนี้ คือ การใช้ข้อมือ และ มือ เช่น การคีย์คอมพิวเตอร์ โดยอาชีพที่มีความเสี่ยง คือ อาชีพเย็บปักถักร้อย ขับรถ การทาสี การเขียนหนังสือ การใช้เครื่องมือที่สั่น เช่น เครื่องเจาะถนน เป็นต้น  เมื่อเกิดการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ และ มือ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ 

  • เพศ จากการสำรวจ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย
  • อายุ พบว่าคนในช่วงอายุ 35 ถึง 40 ปี เป็นวัยทำงาน มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
  • ลักษณะของข้อมือที่กลม ในคนที่มีลักษณะข้อมือกลม จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะข้อมือแบน
  • สตรีมีครรภ์ มีโอกาสเกิดการกดทับเส้นประสาทมากกว่าคนไม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มคนที่ต้องใช้การกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย หรือ ทำงานที่มีการสั่นสะเทือนของมือและแขนเป็นเวลานาน เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว คนซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยกระดูกหักหรือเคลื่อนบริเวณข้อมือ
  • ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ โรคไทรอยด์

อาการของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

อาการที่พบ เมื่อเป็นโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ คือ ชาบริเวณมือ บางคนปวดบริเวณฝ่ามือ มีอาการปวดร้าวจากมือไปจนถึงข้อศอก ไม่มีแรงกำมือ สามารถแบ่งอาการให้ง่ายต่อการศึกษา ได้ดังนี้

  • ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
  • อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น

วิธีรักษาอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

  1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือและข้อมือ
  2. ใส่เฝือกอ่อนดามบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลือนไหวของมือและข้อมือ
  3. ใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ เพื่อลดอาการปวด และบวม แต่ต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ
  4. การทำกายภาพบำบัด การบริหารมือ
  5. ฉีดยาสเตรอยด์เข้าบริเวณข้อมือซึ่งพบว่าวิธีนี้ได้ 80%
  6. การผ่าตัด โดยวิธีเปิดแผลและตัดเอ็นที่อยู่ด้านหน้า เพื่อขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น การผ่าตัด จะทำเมื่อมีอาการรุนแรง การผ่าตัดเยื่อหุ้มเอ็น บริเวณข้อมือ ให้แยกจากกัน สำหรับการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ให้ ยกมือสูงเพื่อลดอาการบวมหลังการผ่าตัด ทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และ หมั่นบริหารมือหลังการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และ ลดอาการบวม

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าว
ฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ส้มโอ
กระเพรา สสมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกระเพรา
กระเพรา
แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนา
แคนา

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากมีการกดข้อมือกับพื้นนานๆ หรือ ใช้งานข้อมือหนัก ทำให้เกิดอาการปวดและชาบริเวณมือ นิ้วแม่ พบมากในอาชีพที่ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์นาน โรคออฟฟิตซินโดรม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove