ตาบอดสี Color blindness อาการมองเห็นสีผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น ยังไม่มีวิธีการรักษา ตาบอดสีมีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากพอสมควร ไม่ควรขับรถอันตราย

โรคตาบอดสี ตาบอดสี โรคตา โรคไม่ติดต่อ

ตาบอดสี  ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Color blindness คือ ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีนี้เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีให้หายขาดได้ แต่อาจใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่สามารถกรองแสงบางสีออกได้ ช่วยทำให้สามารถแยกสีบางอย่างออกได้ เช่น คนที่แยกสีแดงออกจากสีเขียวไม่ได้ หากใช่แว่นสีแดง จะเห็นสีแดงชัดขึ้น แต่สีเขียวไม่ผ่านแว่นสีแดง จะดูมืดกว่าสีแดง ทำให้สามารถแยกสีแดงออกจากเขียวได้  ภาวะตาบอดสีพบได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบในผู้ชายร้อยละ 8 และผู้หญิงร้อยละ 0.4

หากเราเกิดภาวะตาบอดสีจำเป็นต้องปรับตัวในการเรียนรู็การใช้สีต่างๆในชีวิต การเลือกวิชาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาวะตาบอดสี หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาให้เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เราควรแจ้งให้คนรอบข้างทราบถึงสภาวะตาบอดสีของเราให้เขาทราบเพื่อจะได้ให้คนรอบข้างปรับตัวเข้ากับเรา

การมองเห็นสีของมนุษย์

สำหรับการมองเห็นสีของคนเรา มี 2 ส่วน คือ คลื่นแสงสีต่างๆ และ เซลล์รับรู้การเห็นสีที่จอตา โดยจอตาของคนเรานั้นมีเซลล์รับรู้การเห็นสีอยู่ 2 ชนิด คือ Rod และ Cone เรามาทำความรู้จักกับเซลล์ทั้ง 2 ชนิด

  • เซลล์รูปแท่ง เราเรียกว่า รอด ( Rod ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 125 ล้านเซลล์ เซลล์จะกระจายขอบของจอตา ทำหน้าที่มองเห็นในที่สลัวๆ สำหรับคนที่จอตาเสื่อม ในจุดขอบจอตา จะทำให้เกิดโรคตาฟาง ซึ่งเซลล์รูปแท่ง ไม่ใช่ส่วนที่ทำให้มองเห็นสี
  • เซลล์รูปกรวย  เราเรียกว่า โคน ( Cone ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 7 ล้านเซลล์ อยู่บริเวณจอตาส่วนกลาง ทำหน้าที่สำหรับการมองเห็นในที่สว่าง หากจอตาส่วนกลางเสื่อม จะทำให้ตามัว และเห็นสีผิดปรกติ เรียกว่า ตาฟางกลางวัน เซลล์รูปกรวย มีอยู่ 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง (Red cone) เซลล์รูปกรวยสีเขียว (Green cone) และ เซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน (Blue cone)

ชนิดของตาบอดสี

เราสามารถแบ่งชนิดของภาวะตาบอดสี ได้ 2 ชนิด คือ ตาบอดสีเกิดขึ้นตั้งแต่เกิด และ ตาบอดสีเกิดขึ้นเมื่อภายหลังกำเนิด  โรคตาบอดสีสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ตาบอดโดยแต่กำเนิด เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูก เป็นการถ่ายทอดมากับ โครโมโซม เอ็กซ์ (X chromosome) แม่เป็นพาหะของการเกิดโรคตาบอดสี ตาบอดสีโดยกำเนิด นั้น เราสมารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นสีเดียว กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด และ กลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ชนิด
    • กลุ่มเห็นสีเดียว เรียก Monochromatism เกิดจากการไม่มีเซลล์รูปกรวย หรือ มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมองเห็นเพียงสีขาวดำ สายตามัวมากจนมองไม่เห็นสี สู้แสงไม่ได้
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด เรียก Dichromatism หากไม่มีเซล์รูปกรวยสีแดง เรียก ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) หากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียก ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และหากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียก ตาบอดสีน้ำเงิน ( Tritanopia )
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด เรียก Trichromatism เป็นกลุ่มของคนตาบอดสีที่พบได้มากที่สุด เกิดจากการพร่องของเซลล์รูปกรวยในบางสี หรือ ทั้งสามสี
  • ตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง เป็นความผิดปกติของการมองเห็นสี เกิดโรคที่จอตา หรือ ประสาทตา รวมถึงสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็น ซึ่งเกิดจากมีการสูญเสียเซลล์รูปกรวยชนิดต่างๆ จากการศึกษาพบว่า หากตาบอดสีจาก โรคจอตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีน้ำเงิน และ สีเหลือง และ หากเกิดตาบอดสีจาก โรคประสาทตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีแดง และ สีเขียว
    การมองเห็นสีผิดปกติ นอกจากเห็นสีผิดไปแล้วมักจะมี สายตา หรือ ลานสายตา ผิดปกติด้วย ความผิดปกติของการเห็นสีของตา 2 ข้างไม่เท่ากัน

สาเหตุของโรคตาบอดสี

สาเหตุของความสามารถในการมองเห็นสีผิดปรกติ เกิดจากการถูกกระตุ้นเซลล์รับรู้การเห็นสี ทั้งแบบแท่งและแบบกรวย รวมถึงเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ สามารถพบได้ร้อยละ 8 ของผู้ป่วย และพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • ภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
  • บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
  • สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ

อาการโรคตาบอดสี

สำหรับอาการของภาวะตาบอดสี จะมีความผิดปรกติในการมองเห็นสี แต่ในแต่ละบุคคลจะมีลักษณะการมองเห็นสีผิดปรกติที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความสามารถในการจดจำสีและแยกแยะสีไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการบอกสี
  • มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น แต่อาจสามารถมองเห็นสีได้มากกว่าร้อยสี
  • บางคนสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และ เทา

อาการตาบอดสีส่วนมากพบอาการตั้งแต่กำเนิด ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาด้านการมองสี จนกว่าจะเกิดการสื่อสารกับผู้อื่นจึงเข้าใจว่าตนเองมีปัญหาเรื่องการมองสี ซึ่งผู้ปกครองสามารถสังเกตบุตรหลานของท่านตั้งแต่เด็กอายุเกิน 4 ขวบ

การรักษาโรคตาบอดสี

แนวทางการรักษาโรคตาบอดสีนั้น ปัจจุบันไม่มียาหรือเทคโนลีทางการแพทย์ที่ช่วยให้ตาบอดสีหายขาดได้ แต่แนวทางการบรรเทาอาการตาบอดสี ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแยกแยะสีได้ สามารถทำได้ด้วยการใช้แว่นหรือคอนเทคเลนส์ช่วยกรองสีบางสีช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจสีมากขึ้น และ ฝึกการจำสัญลักษณ์แทนการจำสี

การป้องกันโรคตาบอดสี

เนื่องจากโรคตาบอดสีไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ เนื่องจากเป็นความผิดปรกติของร่างกายและภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แนวทางการปฏิบัติเมื่อเป็นตาบอดสี ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อหาเครื่องมือช่วยในการดำเนินชีวิต และ แนวทางการใช้ชีวิตอย่างถูกวิธี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove