ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา

ถั่วแดง ( Kidney bean ) สมุนไพร โปรตีนสูง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์และถั่วแดง ช่วยขับพิษ บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก

ถั่วแดง ถั่วแดงหลวง ประโยชน์ของถั่วแดง สมุนไพร

ต้นถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งถั่วแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปใช้เป็นอาหารแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี  สำหรับประเทศไทยปลูกถั่วแดง มากในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

ถั่วแดงในประเทศไทย

ปัจจุบัน ถั่วแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดย ประโยชน์ของถั่วแดง นั้นส่วนใหญ่คนนิยมนำถั่วแดง มาทำอาหาร ประเภทขนม เป็น เมนูถั่วแดง เช่น ถั่วแดงกวน ขนมปังไส้ถั่วแดง น้ำถั่วแดง เค้กชาเขียวถั่วแดง วุ้นถั่วแดงกวน โดรายากิ ซุปถั่วแดง ถั่วแดงอัดเม็ด เป็นต้น แต่ ประโยชน์ของถั่วแดง มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ ระบบการย่อยอาหาร และใช้บำรุงร่างกาย  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ต้นถั่วแดง และ สรรพคุณของถั่วแดง การปลูกถั่วแดง ว่าเป็นอย่างไร ในบทความนี้ เราจะได้รู้จักกับถั่วแดงไปพร้อมกัน

ถั่วแดง หรือ ถั่วแดงหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ถั่วแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phasecolus vulgaris L. เป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง อาทิ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วบ้านนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็น พืชล้มลุก จัดเป็น พืชคลุมดิน มีความสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตร ลักษณะใบเป็นใบเดียว เรียงสลับกันตามลำต้น ใบลักษณะรูปรี มีสีเขียว ดอกเป็นช่อ สีขาว และผลมีลักษณะยาว เหมือนถั่วฝักยาว ภายในมีเมล็ด เป็นสีแดงอมม่วง การขยายพันธ์ของต้นถั่วแดงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด จัดว่าเป็นพืชอายุสั้น

คุณค่าทางอาหารของถั่วแดง

จากศึกษา ประโยชน์ด้านอาหารของถั่วแดง พบว่าในเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 337 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม การใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วแดง

สำหรับ การใช้ประโยชน์ของถั่วแดง ด้านการรักษาโรคนั้น จะใช้การรับประทานเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยลดอาการบวมน้ำ ช่วยกำจัดหนอง ช่วยลดคันตามผิวหนัง ป้องกันอาการเหน็บชา บรรเทาอาการปวดข้อ ช่วยบำรุงช่องคลอด รักษามดลูก ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยสร้างภูมิกันร่างกาย ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยปรับสภาพเลือดในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอุณหภมูิในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนักตัว ช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการคลอดบุตรก่อนกำหนด

ประวัติของถั่วแดงหลวง

สำหรับ ประวัติการปลูกถั่วแดงในประเทศไทย เริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น จึงได้แนะนำให้ชาวเขาปลูกถั่วแดง ซึ่งเป็นพันธ์ถั่วแดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถั่วแดงจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ของภาดเหนือของไทย ถัวแดง จึงถูกเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่ง ว่า “ถั่วแดงหลวง” เพราะเป็นพืชพระราชทานให้ปลูก

การปลูกถั่วแดง
สำหรับ การปลูกถั่วแดง ให้ได้ผลผลิตที่ดี มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกถั่วแดง คือ พื้นที่ราบ ระดับความสูงประมาณ 800 ถึง 1,200 เมตร ถั่วแดงชอบดินร่วนเหนียว เป็นดินที่สามารถเก็บความชื้นดี อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับลม
  • สำหรับฤดูการปลูกถั่วแดง ที่เหมาะสมนั้น สามารถแบ่งได้ 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ก.ค.-ส.ค. ช่วงปลายฤดูฝน พ.ย.-ธ.ค. และ ช่วงฤดูหนาว พ.ย.-ก.พ.
  • การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกถั่วแดง ให้ขุดดินให้ร่วนซุย ทำร่องน้ำภายในแปลงปลูกและรอบ ๆ แปลงปลูก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่าน กำจัดวัชพืชให้หมด
  • การปลูกถั่วแดง ให้หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก ระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซ็นติเมตร ในหนึ่งหลุมหยอด ประมาณ 2 ถึง 3 เมล็ด ต่อหลุม หมั่นรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช สำหรับการให้น้ำ ให้ประมาณ 7 ถึง 10 วัน ต่อครั้ง
  • การเก็บเกี่ยวถั่วแดง สามารเก็บเกี่ยวถั่วแดงได้หลังจาก 60 วันไปแล้ว ฝักของถั่วแดงที่แก่และแห้งสามารถนำไปสีเอาเมล็ดไปใช้ประโยชน์ได้

ถั่วแดงกับการลดความอ้วน

เหตุผลใด ถั่วแดง จึงมีประโยชน์ต่อ การลดน้ำหนัก ถั่วแดงจะมีโปรตีน ซึ่งโปรตีนจากถั่วแดง เป็นโปรตีน ที่มีลักษณะเด่น คือ ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญของร่างกาย และทำให้อิ่มท้อง ไม่ยากรับประทานอาหาร และไม่รู้สกเหนื่อย นอกจากนั้นถั่วแดงช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ประโยชน์เช่นนี้ ช่วยให้ระบบร่างกายลดน้ำหนักได้แบบธรรมชาติ

ถั่วแดง ( Kidney bean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร พืชที่มีโปรตีนสูง การปลูกถั่วแดง ปลูกมากในเขตภาคเหนือ ประโยชน์ของถั่วแดง สรรพคุณของถั่วแดง ช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove