โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบจากตัวหิด ( Scabies mite )กัด อาการตุ่มนูนแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ ติดทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคหิด มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์โรคหิด ตัวหิด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคหิด ( Scabies ) คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ โดยสาเหตุเกิดจาก ตัวหิด ภาษาอังกฤษ เรียก Scabies mite เป็นสิ่งมีชิวิตชนิด ปรสิต  ( Parasite ) ตัวหิตจะต้องอาศัยอยู่บนตัวคน ใช้ชีวิตอยู่ที่ผิวหนังของคน อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน อาการสำคัญของโรคหิด คือ คันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย โรคหิด มี 2 ประเภท คือ โรคหิดต้นแบบ และ โรคหิดนอร์เวย์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • โรคหิดต้นแบบ เรียกว่า Classic scabies การเป็นโรคหิดชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสผิวหนังคนที่มีภาวะโรคหิดเป็นระยะเวลานาน เช่น การอยู่ในบ้านเดียวกัน นอนหลับด้วยกัน เป็นต้น จะพบว่ามีการติดมากในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
  • โรคหิดนอร์เวย์ เรียกว่า Norwegian scabies หรือ Crusted scabies เป็นภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ เกิดจากการได้รับยากดภูมิต้านทาน โรคนี้เกิดครั้งแรกในประเทศนอร์เวย์ จึงถูกเรียกว่า หิดนอร์เวย์ กลุ่มคนที่มีโอกาสติดหิด คือ คนสูงอายุ คนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนป่วยอัมพาต คนพิการที่สมอง เป็นต้น

โรคหิด โรคผิวหนัง โรคติดต่อ อาการคันมีผื่น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิด

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคหิด สามารถแยกสาเหตุของการเกิดหิดทั้ง 2 ประเภท ได้โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ การอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังกับคนที่เป็นหิด โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ในบ้านที่สกปรก เด็ก คนยากจน คนที่ทำงานในสถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เรือนจำ ค่ายกักกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นหิด นอกจากนี้ การใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ก็เป็นปัจจัยของการติดหิดชนิดต้นแบบ
  • โรคหิดนอร์เวย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิดชนิดนี้ คือ ความผิดปรกติของร่างกาย โดยเกิดจากภาวะภูมิกันต้านทานโรคบกพร่อง โดยคนที่มีปัจจัยเสียง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เป็นต้นช่วย

สาเหตุของการเกิดโรคหิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหิด เกิดจาด ตัวหิด จัดเป็นปรสิต ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์ และกินเซลล์ผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ จากการสัมผัสผิวหนังของคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย และหากหิดติดที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มและผื่นคันที่อวัยวะเพศ

อาการของผู้ป่วยโรคหิด

ตัวหิดเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของคน จะมีระยะเวลาในการฟักตัว ภายใน 45 วัน ซึ่งในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ และเมื่อแสดงอาการ จะเกิดปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย ตัวหิดจะหลั่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีเหล่าจะทำให้เกิดอาการ โดยอาการจะแยกตามชนิดของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ จะมีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง มีสีแดงขนาดใหญ่ ขึ้นตามผิวหนัง เกิดที่รักแร้และขาหนีบ มีอาการคัน และจะคันมากในช่วงกลางคืน ตำแหน่งที่หิดมักจะอยู่ คือ ตามง่ามนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก รอบสะดือ ท้อง เอว ก้น อวัยวะเพศชาย และหัวนม
  • โรคหิดนอร์เวย์ อาการของโรคหิดชนิดนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกของผิวหนัง ไม่แสดงอาการคัน ไม่มีรอยข่วน ไม่มีตุ่มนูนแดง ไม่มีตุ่มน้ำใสๆ ทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเป็นหิด เมื่อตัวหิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผิวหนังชั้นบนของผู้ป่วย จะหนา และมีสะเก็ด เห็นชัดเจนที่ ข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การเกิดโรคหิด เป็นเวลานาน หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยสิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนัง ทำผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ ฝีหนอง เป็นต้น

สำหรับโรคแทรกซ้อนจากโรคหิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาโรคหิด

สำหรับการรักษาโรคหิด เนื่องจากปัญหาของโรคหิด เกิดจากตัวหิด ที่ทำให้ เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง และ นำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งการรักษาโรคหิด มี 3 ลักษณะ คือ การกำจัดตัวหิด การรักษาอาการคัน และ การป้องกันการติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การฆ่าตัวหิด การทำลายตัวหิด สามารถใช้ยาทา โดยจะต้องทายาให้ทั่วตัว ต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง และใช้ยาทา ทาซ้ำอีกครั้งภายใน 10 วัน เพื่อกำจัดหิดตัวอ่อน แต่สำหรับโรคหิดชนิดนอร์เวย์ ต้องรักษาด้วยการใช้ยากิน เช่น Ivermectin  และใช้ยาทาร่วม
  • การรักษาอาการคัน ต้องรักษาด้วยการใช้ยากินแก้คัน หากผู้ป่วยมีตุ่มนูนแดง ต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
  • การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้เป็นยาทา ยากิน หรือยาฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

ป้องกันการเกิดโรคหิด

การป้องกันโรคหิด ต้องป้องกันการแพร่กระจายของตัวหิด เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดโรคหิด มีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโรคหิด หรือ คนที่ไม่ใช่คู่นอนที่เป็นคู่ชีวิตของตน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือ การสัมผัสคนที่เป็นโรคหิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคหิด
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • หากต้องสัมผัสผู้ป่วยโรคหิด ต้องใส่เครื่องป้องกัน

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบเกิดจากตัวหิด ( Scabies mite ) มีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ตามผิวหนัง อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove