ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา ภาวะติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา Chikungunya virus มียุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ผื่นขึ้นตามตัว ไม่อันตรายถึงชีวิต

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกัน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เหมือน โรคไข้เลือดออก  แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ โรคชิคุณกุนย่า เกิดจากยุงลายที่มีเชื้อโรคไปกัดมนุษย์และแพร่เชื้อโรคสู่คน ทำให้คนนั้นเกิดโรคได้  สำหรักการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสชิคุนกุนยามีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus ที่พบในประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis
  2. เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
  3. ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
  4. ระยะติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

สำหรับอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย พบตาแดง จะปวดข้อ ซึ่งบางรายอาจมีอาการข้ออักเสบ ตาม ข้อมือ ข้อเท้าและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับวิธีรักษาโรคชิกุนยา จากที่กล่าวในข้างต้นยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคติดต่อนี้ได้ ทำได้เพียงประครองและรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ รักษาสุขภาพ

การป้องกันโรคชิกุนย่า

วิธีการป้องกันโรคชิกุนยา ขณะนี้ยังไม่มียา หรือวัคซีน ที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ทำได้เพียงการหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคติดเชื้อ โดยการไม่ให้ยุงลายกัด โดยเราได้สรุปการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้ดังนี้

  1. การป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. ใช้สารไล่ยุง DEET, icaridin, PMD หรือ IR3535
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  4. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  5. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  6. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัวสะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระเพรา สสมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกระเพรากระเพรา

ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ( Chikungunya virus ) ยุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ไม่อันตรายถึงชีวิต แนวทางการรักษาและป้องกันโรค

ไข้เลือดออก ติดเชื้อไวรัสเดงกี จากยุงลาย อาการมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีจุดแดงๆตามผิวหนัง อาเจียนเป็นมีเลือดปน แนวทางการรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไรโรคไข้เลือดออก โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคจากยุง

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากยุงลาย เป็นพาหนะนำโรค โรคยุงลายจะพบได้เฉพาะในประเทศเขตร้อนชื้น ไข้เลือดออก ภาษาอังกฤษ เรียก Dengue hemorrhagic fever ไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากยุงลาย อาการไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ไข้เลือดออกเป็นอย่างไร ไม่อยากเป็น ไข้เลือดออก 

ไข้เลือดออก เรียกย่อๆ ว่า DHF ซึ่งมาจากคำว่า Dengue hemorrhagic fever เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ( Dengue virus ) ที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค โดยลักษณะอาการคล้ายไข้ไหวัดทั่วไปในระยะแรก แต่อาการจะมีความรุนแรงมากขึ้น และหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

ระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกจัดเป็นโรคอันตรายที่สามารถมีโอกาสเกิดโรคได้ง่าย ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก นั้น สามารถแบ่งให้เห็นภาพอย่างชั้ดเจนได้ 4 ระดับ โดยรายละเอียดประกอบด้วย

  • ระดับที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ มีไข้ และอาการที่สามารถสังเกตุได้อย่างเด่นชัด คือ มีจุดแดง ๆ ตามผิวหนัง แต่ยังไม่แสดงอาการอื่นๆ ในระยะนี้ เหมือนการป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา
  • ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีอาการ จ้ำเลือดที่ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกจากที่อื่น ๆ ด้วย เช่น การอาเจียนเป็นเลือด การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ในระยะนี้ ชีพจรและความดันเลือดของผู้ป่วยยังคงปรกติ
  • ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการช็อก เช่น มีอาการกระสับกระส่าย มีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เต้นเร็ว ระดับความดันต่ำ เริ่มอันตรายแล้วในระยะนี้
  • ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการช็อกอย่างรุนแรง ชีพจรเต้นเบา ความดันต่ำมีเลือดออกมาก เช่น อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดมาก

ซึ่งระดับของความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในระดับที่ 2 ถึง 4 นั้น จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ต้องมีการจับชีพชร วัดความดันโลหิต และตรวจความเข้มข้นของเลือด และตรวจเกล็ดเลือด เป็นระยะ ๆ

สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือด เกิดจากการที่ยุงลายตัวเมียไปกัดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออก เชื้อไวรัสแดงกีจะขยายตัวและอยู่ที่ต่อมน้ำลายของยุง และเมื่อยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกไปกัดคนก้จะแพร่เชื้อไข้เลือดออก ส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออกจะพบมากในเด็ก และเกิดในฤดูฝน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ยุงลายขยายพันธ์ง่าย

อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก มีอาการหลายอย่าง เริ่มจาก มีไข้สูง เป็นผื่น ปวดตามตัว ปวดศรีษะปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา หากรักษาช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งระยะของอาการไข่เลือดออกมี 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะไข้สูง ในระยะนี้ อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตาแดง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว กระหายน้ำ เบื่ออาหารและอาเจียน หลังจากนั้นในระยะ 1 ถึง 2 วัน จะเกิดอาการผิวหนังแดง บริเวณ ใบหน้า ลำคอ และ หน้าอก ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ในวันที่ 3 จะมีผื่นแดงเหมือนหัด แต่ไม่มีอาการคัน ซึ่งผื่นนี้จะขึ้นตามแขนขา และลำตัว ในผุ้ป่วยบางรายจะพบลักษณะของผื่น เป็นจ้ำเลือด จุดแดงๆ ร่วมด้วย ขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ และในช่องปาก หากอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเกิน 7 วันโดยไม่รักษา จะทำให้เข้าสู่ระยะอันตรายแล้ว คือ ระยะช็อกและมีเลือดออก
  • ระยะช็อกและมีเลือดออก ในระยะนี้ ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 3 และ 4 อาการมีไข้จะลดลง แต่อาการป่วยจะหนักขึ้น ซึมมากขึ้น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 วัน แต่หากสามารถผ่านระยะนี้ไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว
  • ระยะฟื้นตัว เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วง ร่างกายก็จะฟื้นเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มทานอาหารได้  ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก คือ การประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟู ประคับประคองการเกิดภาวะช็อค ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อก และ รรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งโรคไข้เลือดออก อาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน

สำหรับการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือ น้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รับประทานยาลดไข้ แต่หากพบอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง ตัวเย็น และไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

การป้องกำจัดการเกิดไข้เลือดออก นั้นต้องป้องกันที่สาเหตุของแหล่งแพร่เชื้อ คือ ยุงลาย ต้องป้องกันไม่ให้มียุงลาย และ ไม้ยุงลายมากัดเราได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี แต่ก็ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ รายละเอียดของการป้องกันมีดังนี้

  • ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและกำจัดยุงลายและลูกน้ำ
  • พ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีราคาแพงและเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะในยามที่จำเป็นเท่านั้น โดยควรเลือกฉีดในช่วงเวลาที่มีคนอยู่อาศัยน้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (Diethyltoluamide – DEET) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุงที่มีชื่อว่าดีดีที (Dichlorodiphenyltrichloroethane – DDT) แต่สารนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม ถ้าขึ้นชื่อว่าสารเคมีไม่ว่าจะเป็นยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุงก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ได้ทั้งนั้น ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวจึงควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นจึงห้ามฉีดลงบนผิวหนังโดยตรง และควรปฏิบัติตั
  • ตัดต้นไม้ที่รก ให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทดี
  • นอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่ติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
  • ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาและควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว

โรคไข้เลือดออก ภาวะการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการผู้ป่วย มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีจุดแดงๆตามผิวหนัง อาเจียนเป็นมีเลือดปน วิธีรักษาโรค ลักษณะอาการ และ การป้องกัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove