ไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง เกิดจากไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย ไขมันในเส้นเลือดสูง
สำหรับ ภาวะไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกิดมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบมากถึง ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร แต่ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเกิดที่ ร้อยละ 9 ของจำนวนประะชากร ซึ่งเกิดกับประชากรอายุ 40 ถึง 50 ปี ที่อัตราการเผาผลาญไขมันเริ่มลดลง แต่ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ร้อยละ 50 ของคนที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะแรกของการเกิดโรค
กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ คนอ้วน รวมถึง ผู้ป่วยโรคไขมันโลหิตสูง พบว่าร้อยละ 90 ของคนกลุ่มนี้ เป็น โรคไขมันพอกตับ ซึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่า ท่านกำลังจะเป็น โรคไขมันพอกตับ คือ
- การเกิดไขมันสะสมที่หน้าท้อง และมีน้ำหนักตัวมากขึ้น
- ระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย
- เจ็บและตึงๆ ที่ชายโครงด้านขวา
- มีอาการเบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียนเป็นบางครั้ง
ภาวะไขมันพอกตับ นั้นเป็นความผิดปกติของตับ ไม่ต้องดื่มสุรามากก็เกิดได้ ที่สำคัญการที่เกิดภาวะไขมันพอกตับ สามารถนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับได้ในอนาคต
สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ
สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ รายละเอียด ดังนี้
- เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์สะสมในร่างกาย
- ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โรคนี้เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้อยคุณภาพ
กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ นั้น ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหาร หากมีการรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ เมื่อตับไม่สามารถย่อยสลายไขมันได้ตามปรกติ จึงทำให้ไขมันพอกตับ
โรคไขมันพอกตับ สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้ 4 ระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียด ดังนี้
- ไขมันพอกตับ ระยะแรก ในระยะนี้ เริ่มมีไขมันก่อตัวที่เนื้อตับ ในระยะนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ หรือ เกิดพังผืดที่ตับ
- ไขมันพอกตับ ระยะที่สอง ในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตับอักเสบ และหากปล่อยไว้ให้อักเสบ โดยไม่ทำการรักษา จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และ จะรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป
- ไขมันพอกตับ ระยะที่สาม เริ่มเกิดผังผืดที่ตับ และ เนื้อตับจะค่อยๆถูกทำลาย เป็นการอักเสบของตับอย่างรุนแรง
- ไขมันพอกตับ ระยะที่สี่ ในระยะนี้ เนื้อตับจะถูกทำลายมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ จะเริ่มเข้าสู่ การเกิดโรคตับแข็ง หรือ มะเร็งตับ ได้
อาการของผู้ป่วยไขมันพอกตับ
สำหรับอาการผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ จะมีอาการตับอักเสบ ซึ่งจะรู้สึกเจ็บที่ท้อง ปวดชายโครงด้านขาว มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาการของโรคนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หากเกิดตับอักเสบ จึงจะพบว่าเกิดโรคไขมันพอกตับ
การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ
โดยทั่วไป การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะสัมภาษณ์ถึงลักษณะอาการที่เกิดขึ้น การใช้ชีวิตประจำวัน จากนั้นทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และค่าเอนไซม์ของตับ ทำการอัลตร้าซาวด์ดูภาพของตับ รวมถึงการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษาโรคไขมันพอกตับ
แนวทางการรักษาไขมันพอกตับ ต้องมุ่งไปที่การลดไขมันสะสมที่ตับ และรักษาอาการอักเสบของตับร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งอาการของโรค ผู้ป่วยต้องรับประทานยา รักษาเบาหวานและยาลดไขมันที่ตับ แต่จะให้ดีที่สุดก็คือ ลดอาหารหวาน ลดอาหารมัน และออกกำลังกาย
การป้องกันการเกิดโรคไขมันพอกตับ
สามารถปฏิบัติตนได้ โดยการลดภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยการควบคุมเรื่องการกินอาหาร ไม่ให้อ้วน จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรค
- ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยูในเกิดปรกติ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม
- การควบคุมอาหารให้พอประมาณ
- ลดและเลิกการดื่มสุรา
- หลีกเลี่ยงการกินยาโดยไม่จำเป็น
ดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ
สำหรับผุ้ป่วยโรคไขมันพอกตับต้องดูแลตนเอง ดังนี้
- ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การกินยาต้องเป็นยาที่แพทย์แนะนำ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ นั้นเกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดพลังงานสะสมในร่างกายมากเกินไป การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย สามารถทำได้โดย
- ลดการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ข้าว แป้ง
- งดกินอาหารประเภทไขมัน เช่น อาหารทอด หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น เป็นต้น รวมถึงอาหารประเภทกะทิด้วย
- ทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก และผลไม้ เป็นต้น
- เลิกดื่มสุราทุกชนิด
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
สำหรับคนที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรควบคุม และรักษาโรคควบคู่กันไป เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น
โรคไขมันพอกตับ ภาวะไขมันเกาะที่ตับสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาการปวดชายโครงด้านขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง มีน้ำในท้องมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน โรคเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก