ถั่วเหลือง ( soybean ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ป้องกันโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง อาทิเช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสปาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ ไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเหลือง เป็นระบบรากแก้ว ลึกประมาณ 45 เซนติเมตร มีรากแขนง
  • ใบของถั่วเหลือง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว  ใบมีขน
  • ดอกของถั่วเหลือง ออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกจะออกตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น
  • ฝักของถั่วเหลือง ฝักจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 2 ถึง10 ฝัก ฝักมีขนสีเทา ฝักยาวประมาณ 2 ถึง 7 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อน จะมีสีเขียว ฝักสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดของถั่วเหลือง มีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ เมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน

สรรพคุณของถั่วเหลือง

การใช้ถั่วเหลืองนั้นจะใช้เมล็ด ซึ่งใช้ทั้งกากเมล็ด เปลือกเมล็ด และเนื้อของเมล็ด ซึ่ง เราจะแยกเป็นรายละเอียดของสรรพคุณด้านสมุนไพรของถั่วเหลือง มีดังนี้ ใช้บำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ช่วยถอนพิษ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แก้อาการปวดหัว  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลเน่าเปื่อย ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้ปวด ใช้เป็นยารักษาต้อกระจก

ข้อควรระวังสำหรับการบริโภคถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้าง สำหรับข้อควรระวังในการกินถั่วเหลืองนั้นมีดังนี้

  • ในถั่วหลืองมีโปรตีนสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ให้งดรับประทาน โดยอาการสามารถสังเกตุได้จาก อาการผื่นคัน
  • โปรตีนจากถั่วเหลืองจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ได้สำหรับเด็กและคนที่มีประวัติโรคหอบหืด
  • การดื่ม มมถั่วเหลือง ในเด็กทารก เพียงอย่างเดียว นั้นมีโอกาสทำให้ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากนมถั่วเหลืองไม่มีสารไอโอดีน
  • ในนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ในเพศชายหากรับประทานมากเกินไป จะทำใหเนมโต และจำนวนอสุจิลดลง
  • โปรตีนจากถั่วเหลือง ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ
  • โปรตีนในถั่วเหลืองมีไฟเตตสูง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะกับแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
  • ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutinin ที่เป็นตัวทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดต่ำลง
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาการที่พบคือ เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วน

ถั่วเหลือง ประโยชน์และโทษถั่วเหลือง สรรพคุณถั่วเหลือง  ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ Soybean น้ำมันถั่วเหลือง สารสกัดจากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว อันตรายจากถั่วเหลือง ในน้ำนมถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจน ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น แล้วยังช่วยทำให้สิวลดลงด้วย

ถั่วเหลือง นั้นเป็นธัญพืช เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย และชาวจีน อย่าง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้แต่ขนมหวาน จะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเหลือง เป็นอย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร ข้อควรระวังในการกินถั่วเหลือง บทความนี้เราจะให้รู้จักกับถั่วเหลืองอย่างละเอียด

ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของ ถั่วเหลือง จะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมี การปลูกถั่วเหลือง ทางภาคกลางตอนบรและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น ประเทศบราซิล และจีน ตามลำดับ

ถั่วเหลือง ( soybean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของถั่วเหลือง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืือง สรรพคุณของถั่วเหลือง บำรุงโลหิต ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove