ภาวะฮอร์โมนอินซูลินผิดปรกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ ส่งผลต่ออาการปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคเบาหวาน แผลหายยาก รักษาโดยการปรับการกิน

โรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคไม่ติดต่อ รักษาเบาหวาน

โรคเบาหวาน ภาษาอังกฤษ เรียก diabetes ภาวะความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ไม่เพียงพอ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าระดับปรกติ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน

ทำความรู้จักกับฮอร์โมนอินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับอ่อน หน้าที่หลักของฮอร์โมนอินซูลิน คือ นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อนำไปใช้สร้างเซลล์ต่างๆ และสร้างพลังงานให้กับร่างกาย หากฮอร์โมนอินซูลินผิดปรกติ จะทำให้เกิดการนำน้ำตาลไปใช้น้อย เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดมากกว่าภาวะปรกติ

ชนิดของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เกิดจากภูมต้านทานร่างกายทำลายเซลล์ และ ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน รายละเอียด ดังนี้

  1. ชนิดที่เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์  หากเป็นเพราะสาเหตุนี้ จะทำให้ฮอร์โมนอินซูลิน หยุดการสร้าง หรือสร้างได้น้อยลง จำเป็นต้องรับการฉีดฮอร์โมนอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย
  2. ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจจะมีสาเหตุมาจาก กรรมพันธุ์ ภาวะอ้วน ไม่ออกกำลังกาย การมีลูกมาก อายุที่เพิ่มขึ้น การสร้างฮอร์โมนอินซูลินผิดปรกติ เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

สามารถสรุปอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ปัสสาวะบ่อย
  2. ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น
  3. กระหายน้ำ
  4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  5. เบื่ออาหาร
  6. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนัง และกระเพาะอาหาร เป็นแผลหายยาก
  8. สายตาพร่ามัว
  9. มีอาการชาบ่อย

โรคแทรซ้อนจากโรคเบาหวาน

การเกิดโรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย เราสรุปโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ ดังนี้

  1. โรคแทรกซอนทางสายตา ภาษาอังกฤษ เรียก Diabetic retinopathy เกิดจากน้ำตาลเข้าไปในหลอดเลือดที่ลูกตา ซึ่ง หลอดเลือดเหล่านี้ฉีกขาดได้ง่าย เลือดเหล่านี้เมื่อแตก ก็จะบดบังแสงที่จะตกกระทบไปยังเลนส์ตา ทำให้การมองเห็นแย่ลง อันตรายถึงขั้นจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้
  2. โรคแทรกซ้อนทางไต ภาษาอังกฤษ เรียก Diabetic nephropathy มักจะทำให้ไตเสื่อม จนเกิดภาวะไตวายได้
  3. โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท ภาษาอังกฤษ เรียก Diabetic neuropathy ผู้ป่วยจะรู้สึกชา ปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง ทำให้เป็นอาหารชั้นดีของเชื้อโรคต่างๆ ระบบประสาทอาจเสื่อมได้
  4. โรคแทรกซ้อนกับหลอดเลือดหัวใจ ภาษาอังกฤษ เรียก Coronary vascular disease ในผู้ป่วยบางราย อาจจะแสดงอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
  5. โรคแทรกซ้อนจากแผลเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Diabetic ulcer

การป้องกันโรคเบาหวาน

สามารถทำได้โดยการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ

สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก

ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ เราจึงได้รวบรวมสมุนไพร สรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก มีดังนี้

มะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง
กุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่ายกุยช่าย
ขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน
ขนุน
แครอท สมุนไพร สรรพคุณของแครอท ประโยชน์ของแครอทแครอท
บัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวงบัวหลวง
ฟักเขียว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของฟักเขียวฟักเขียว

โรคเบาหวาน ส่วนหนึ่งเกิดจากการผิดปรกติของร่างกาย แต่ สาเหตุสำคัญ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากการกิน และ พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง สำหรับคนรักสุขภาพตัวเอง ไม่อยากเป็นเบาหวาน อย่ากินน้ำตาลมาก

โรคเบาหวาน ( diabetes ) คือ ภาวะฮอร์โมนอินซูลินผิดปรกติ น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย อาการของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลาง กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ แผลหายยาก สายตาพร่ามัว ชาบ่อย การรักษาเบาหวาน

หัวใจวาย ( Heart Failure ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ เกิดกับผู้สูงวัยและคนเครียด อาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่นหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก

โรคหัวใจวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Heart Failure ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะหัวใจวาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การเกิดหัวใจล้มเหลว เกิดจากภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปรกติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง จะมีอาการที่เป็นสัญญาณ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

โรคหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้จะแตกต่างกันไป จากสถิติพบว่าร้อยละ 3 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคหัวใจ และร้อยละ 30 ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบได้มากขึ้น โดยในภาพรวมในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 2 – 3% ของประชากรทั้งหมด แต่หากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20 – 30%

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

อาจเป็นสาเหตุจากการ เป็นผลข้างเคียงของโรคอื่น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากโรคต่างๆ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายได้

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy
  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุอื่นๆที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับยาหรือสารบางประ เภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจวาย

เราสามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. มีอาการเหนื่อยและหายใจลำบาก ( Dyspnea )
  2. นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
  3. เหนื่อยฉับพลันขณะหลับ ( Paroxysmal nocturnal dyspnea )
  4. มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  5. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
  6. หัวใจเต้นผิดปกติ
  7. หน้ามืด
  8. ใจสั่น
  9. ปากเขียว
  10. เล็บมือเขียว

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ คนที่เป็นที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ คนอ้วน และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

การรักษาภาวะหัวใจวาย

สำหรับแนวทางการรักษา โรคหัวใจต้องทำการลดภาระการทำงานของหัวใจลง สามารถทำได้โดย

  1. การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. การควบคุมและกำจัดน้ำส่วนเกินหรือน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ โดย ลดการบริโภคเกลือหรือของเค็ม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของเสียของไต
  3. การลดภาระการทำงานของหัวใจ โดยการไม่ออกแรงมาก หรือ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากรู้ตัวว่าเหนื่อยต้องพัก
  4. การเพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย คือ การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( โรคหลอดเลือดหัวใจ ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

หัวใจวาย ( Heart Failure ) ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ พบมากในผู้สูงอายุ คนที่อยู่ในภาวะเครียด อาการของโรคหัวใจวาย เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว การรักษาโรคหัวใจ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove