กลุ่มอาการซีแฮน ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำให้ฮอร์โมนน้อย มักเกิดกับสตรีหลังคลอดลูก เสียเลือดมาก ทำให้น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน ผมร่วง เหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหารกลุ่มอาการซีแฮน โรคต่อมใต้สมอง โรคต่อมไร้ท่อ ภาวะขาดฮอร์โมนหลังจากคลอดลูก

โรคซีแฮน หรือ โรคกลุ่มอาการชีแฮน ภาษาอังกฤษ เรียก Sheehan Syndrome เกิดจากการที่ ต่อมใต้สมองรขาดเลือด ไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลัน ทำให้ ต่อมใต้สมอง เกิดการ ทำงานผิดปรกติ มักจะเกิดกับสตรีที่ เสียเลือดมากหลังจากการคลอดลูก การเสียเลือดมาก เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคกลุ่มอาการซีแฮน การเสียเลือด จำนวนมากจะ ทำให้ผู้ป่วยช็อก ทำให้ ความดันเลือดต่ำลง ทำให้ เลือดไปไม่ถึงสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย ต่อมใต้สมอง ก็จะเกิดผลกระทบจากการที่ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  ซึ่ง ต่อมใต้สมอง ใช้ ผลิตฮอร์โมน หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ( Follicular stimulating hormone / FSH , Lutienizing hormone / LH ) ฮอร์โมนการสร้างน้ำนม ( Prolactin ) ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid stimulat ing hormone / TSH )  เป็นต้น โรค นี้จะเกิดกับกับ สตรีหลังคลอดลูก 5 ใน 100,000 ราย

ภาวะที่มีผลต่อการเสี่ยงการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

  1. การตกเลือดหลังการคลอดลูก การเสียเลือดมาก จากการ คลอดลูก หากไม่ได้รับเลือดและสารอาหารทดแทนการเสียเลือดทันต่อความเสี่ยง ภาวะความดันเลือดต่ำ อาจทำให้เกิด โรคซีแฮน ได้
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปรกติ การที่มี เลือดออก แล้วเกิด เลือดแข็งตัวผิดปรกติ จะทำให้ การแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปรกติ ทำให้เสียเลือดมาก การเสียเลือดมาก เป็นสาเหตุของการเกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน
  3. ภาวะเบาหวานในสตรี โรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อ การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้

จะเห็นได้ว่า โรคซีแฮนเ กิดจากสาเหตุหลักคือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ ต่อมไร้ท่อใต้สมอง ทำงานผิดปรกติ  ดังนั้น ทุกภาวะที่ ทำให้ความดันเลือดต่ำลง การเสียเลือดมาก ส่งผลกระทบกระตุ้นให้เกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน ทั้งหมด

อาการของโรคกลุ่มอาการชีแฮน

ลักษณะของผู้ป่วยที่กำลังมี อาการโรคกลุ่มอาการซีแฮน มีดังนี้

  1. สำหรับสตรีหลังคลอด น้ำนมไม่ไหล เกิดจาก ต่อมใต้สมอง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมน ในการผลิตน้ำนม ได้
  2. ไม่มีประจำเดือน ซึ่งการไม่มาของประจำเดือน เกิดจากต่อมใต้สมอง ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน ไป กระตุ้นรังไข่  เพื่อ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้
  3. เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เป็น อาการของภาวะขาดออร์โมนไทรอยด์ เกิดจาก ต่อมใต้สมองไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ได้มากพอต่อความต้องการ
  4. ขาดเกลือแร่ เนื่องจาก ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็น อันตรายต่อชีวิต ได้
  5. เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

การตรวจภาวะโรคกลุ่มซีแฮน

ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสาเหตุของการเกิดโรค จากการสืบประวัติของผุ้ป่วย การสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และ การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนในเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การตรวจประวัติทางการแพทย์ ดู ประวัติการเสียเลือดหลังคลอด และ ความผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ
  2. การตรวจร่างกาย ดูความผิดปรกติต่างๆ ที่มี อาการจากการขาดฮอร์โมน เช่น น้ำนมมาปรกติหรือไม่ ร่างกายบวม หรือไม่ ช่องคลอดแห้ง หรือไม่ และ ผนังช่องคลอดบาง หรือไม่ ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้เกิดจาก การขาดฮอร์โมน ทั้งสิ้น
  3. การตรวจเลือด เพื่อดู ระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด

การรักษาโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การรักษาสามารถทำได้โดยการให้ฮอร์โมน เพิ่มฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อ ชดเชยฮอร์โมนที่ไม่เพียงพอ เช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ก็ ให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริม ให้ฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหากฮอร์โมนเพศไม่เพียงพอ

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการซีแฮน

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาและฮอร์โมนเสริมตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร็งครัด และพบแพทย์ตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการพบแพทย์และรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์แล้ว การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การป้องกันโรคซีแฮน โรค นี้เป็น โรคที่เกิดจากการเสียเลือด มาก หลังคลอดบุตร การป้องกันการเกิดโรค คือ การบำรุงร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุ ที่ ช่วยบำรุงร่างกายหลังจากการเสียเลือดหลังคลอด

สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอดมีอะไรบ้าง สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟ ของ สตรีหลังคลอด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขามมะขาม
กานพลู สมุนไพร เครื่องเทศ สรพคุณของกานพลูกานพลู
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย

กลุ่มอาการชีแฮน โรคซีแฮน โรคกลุ่มอาการชีแฮน คือ ภาวะการเกิดโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน เกิดกับต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้เกิดความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดกับสตรีหลังคลอดลูก ส่งผลให้เกิดอาการ น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove