โรคท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซมคู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังผิดปรกติ ลำบากในการใช้ชีวิตโรคท้าวแสนปม โรคผิวหนังผิดปกรติ โรคไม่ติดต่อ สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

ท้าวแสนปม ภาษาอังกฤษ เรียก Neurofibromatosis ผู้ป่วยมีอาการ คือ มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก สามารถพบได้ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม 1 คน โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต จากการศึกษาของแพทย์ เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ

เรามาทำความรู้จักกับ โรคท้าวแสนปม ว่า สาเหตุของโรค การรักษา ต้องทำอย่างไร โรคท้าวแสนปมหากไม่รักษา สามารถส่งผลต่อโรคอื่นๆ ที่ตามมา เช่น เนื้องอกที่ระบบประสาท กระดูกผิดรูป อาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และเป็นมะเร็งของระบบประสาทได้ ความอันตรายของโรคท้าวแสนปม คือ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม เป็นมะเร็ง และยังสร้างความทรมานทั้งในด้านร่างกายและจิตใจมาก

สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

โรคท้าวแสนปม มีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ใช่โรคผิวหนัง และ ไม่ใช่โรคติดต่อ โรคท้าวแสนปม เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 22 เป็น โรคเกี่ยวกับความผิดปรกติของยีนส์ในร่างกาย หากพ่อแม่เป็นโรคนี้ลูกมีโอกาสในการเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคท้าวแสนปม เป็น โรคพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ของกระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และ ผิวหนัง ความรุนแรงของโรค นี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบประสาท ซึ่ง โรคท้าวแสนปม มี 2 ชนิด คือ NF-1 และ NF-2

อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เราสามารถจำแนก อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม แยกตามชนิดของโรค คือ NF-1 และ NF-2 รายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  1. อาการผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 (NF-1) อาการของโรคมี 7 อาการ ซึ่ง ผู้ป่วยหากมาอาการ 2 ใน 7 อาการ ถือว่า เป็นโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 อาการทั้ง 7 ประกอบด้วย
    • มีปานสีกาแฟใส่นม มีลักษณะของปานเด่นชัด ลักษณะไม่เรียบ ส่วนมากสามารถพบได้มากกว่า 6 ตำแหน่ง ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีขนาดใหญ่
    • มีก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง พบจำนวนมากตามผิวหนัง ซึ่ง ผู้ป่วยร้อยละ 5 มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งที่ผิวหนังหรือมะเร็งเม็ดเลือด ลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลหรืออมชมพู
    • มีกระ ที่รักแร้ หรือขาหนีบ จะพบมากในคนที่อายุเข้าสู่วัยรุ่น และที่กระ จะพบก้อนเนื้องอก ชนิดเพล็กซิฟอร์มได้บ่อย
    • มีเนื้องอกของเส้นประสาทตา ในบางรายเนื้องอกนี้ ทำให้เกิดปัญหาความดันเพิ่มขึ้นภายในศีรษะอาจทำให้ชัก และเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทสมองได้
    • มีเนื้องอกที่ม่านตา ลักษณะเนื้องอกเป็นรูปโดม พบที่ชั้นผิวของม่านตา สามารถตรวจได้จากการส่องกล้อง
    • มีความผิดปกติของกระดูก เช่น กระดูกต้นขางอก ขาโก่ง ในผู้ป่วยบางราย กระดูกใบหน้าผิดรูป เช่น ตาโปน กระดูกสันหลังคด งอ
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคท้าวแสนปม โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคท้าวแสนปมได้ ร้อยละ 50
  2. อาการของโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 (NF-2) สำหรับ โรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 สามารถพบได้บ่อย ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดนี้ 1 ราย โรคท้าวแสนปมชนิดนี้ จะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นอย่างชัดเจนทางผิวหนัง มีอาการอยู่ 7 อาการ ซึ่งหากพบว่ามีอาการ 2 ใน 7 มีความเสี่ยงเป็นโรคท้าวแสนปม ได้ เราสามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้
    • มีเนื้องอก ที่บริเวณหูชั้นใน
    • ระบบประสาทการ สำหรับการได้ยินไม่ดี ฟังไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยชัดเจน
    • การควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ดี มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
    • มีอาการเวียนหัว
    • ควบควมการทรงตัวไม่ได้บ่อย ๆ
    • การเดิน มีปัญหา เนื่องจากระบบประสาทขาไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
    • เป็นโรคต้อกระจกตั้งแต่อายุน้อย ๆ

การรักษาโรคท้าวแสนปม

การรักษาโรคท้านแสนปม นี้นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเนื้อ ถ้าก้อนเนื้อมีที่เดี่ยว สามารถผ่าตัด รักษาได้ แต่อาจจะเหลือร่องรอยอยู่บ้าง แต่ผิวหนังจะดีขึ้น โดยทั่วไปการรักษาให้หยาขาดเลยนั้น ทำได้ยาก แต่การรักษานอกจากการผ่าตัดแล้วการรักษาตามอาการของโรค ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น การรักษาต้องพบแพทย์ตลอดชิวิต เพื่อตรวจดูลักษณะของผิวหนัง และ รักษาสภาพผิวหนัง ให้กลับมาปรกติที่สุด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เนื่องจากโรคนี้เป็น โรคทางพันธุกรรม การมีครอบคร้วสำหรับผู้ป่วยโรคนี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เนื่องจากหากถ่ายทอดสู่ลูกและหลาน ก็จะสร้างความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจให้ลูกหลาน หากมีความจำเป็น ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำจากแพทย์

โรคท้าวแสนปม ท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตโรคผิวหนัง สาเหตุโรคท้าวแสนปม อาการโรคท้าวแสนปม การรักษาโรคท้าวแสนปม

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) เกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีก้อนที่คอ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก สามารถลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มะเร็งต่อมไทยรอยด์ โรคมะเร็ง ต่อมไทยลอยด์ โรคต่อมไร้ท่อ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ความรุนแรงของโรคไม่มาก การรักษาได้ผลสูงถึงร้อยละ 80 หากรักษาได้ทันท่วงที สามารถหายและอยู่ได้ถึง 10 ถึง 20 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ความรุนแรงของโรคจะสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ว่าคืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อร้ายที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน และ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน รายละเอียดของชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน ภาษาอังกฤษ เรียก Differentiated carcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ถึง ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน พบว่ามะเร็งชนิดนี้ มีไม่มาก ประมาณร้อยละ 5

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ คนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 80 ปี และโอกาสของการเกิดผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคได้ 3 ปัจจัยใหญ่ คือ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์  โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์บางชนิด มีรายงานว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้
  2. สิ่งแวดล้อม รังสีกัมมันตรังสีมีและรังสีไอออนไนซ์ผลต่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์
  3. การรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์

อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคคอพอก คือ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ไม่มีอาการปวด แต่ในบางครั้งก๋มีอาการปวด เมื่อกดที่ก้อนเนื้อจะมีเสียงแหบ  เนื่องจากก้อนเนื้อลุกลามไปถึงเส้นประสาท ทำให้หายใจลำบาก อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและหลอดอาหารได้ จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะถ้าไม่รักษาให้ทันอจากลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก ได้

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งสิ้น 4 ระยะโดย รายละเอียดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 1 มีโรคเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ และมีการลุกลามไปที่โรคกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 2 มะเร็งมีการเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก ศีรษะ สมองและตับ มากที่สุด ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 3 ระยะนี้มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ ลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 4 ระยะนี้มะเร็งมีการลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย และแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือด เข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

การตรวจโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สามารถตรวจได้จาก การสังเกตุอาการเบื้องต้น จากนั้นตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต เพื่อดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับแคลเซียม เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

การรรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ นี้ มีวิธีที่ใช้อยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การให้กินรังสีแร่ไอโอดีนและการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาทั้ง 3 วิธี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน การผ่าตัดจะเป็นขั้นตอนแรกในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่ในการผ่าตัดนิยมผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ส่วน
  • การให้กินแร่รังสีไอโอดีน เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลายน้ำ จะช่วยไม่ให้มะเร็งลุกลามหลังจากผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว ซึ่งการรักษาโดยให้กินแร่รังสีไอโอดีน อาจต้องกินมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เนื่องจากร่างกายถูกตัดต่อมไทรอยดืออกไป จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนการขาดหายไปอย่างเพียงพอ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) การเกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก หากไม่รักษามะเร็งจะลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก สาเหตุของโรค อาการและระยะของโรค การรักษาทำอย่างไร โรคระบบฮอร์โมน โรคนี้ต้องกินยาตลอดชีวิต มะเร็งต่อมไทรอยด์ รักษาได้ ปัจจัยของการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove