คราบหินปูน ความผิดปรกติในช่องปากเกิดจากน้ำลาย เศษอาหารและแบคทีเรีย เกาะติดกับฟัน หินปูนทำให้เหงือกอักเสบ ปากเหม็น ความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ รักษาด้วยการขูดหินปูนคราบหินปูน โรคในช่องปาก โรคไม่ติดต่อ โรคเกี่ยวกับฟัน

คราบหินปูน ( Dental plaque ) คือ คราบสีขาวเกาะที่ฟัน เมื่อเกิดการเกาะตัวมากขึ้นจะทำให้คราบสีขาวนั้นมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้น หากไม่กำจัดออกจะทำให้เชื้อแบคทีเรีย สร้างกรด เพื่อทำลายฟัน ซึ่งไม่สามารถกำจัดด้วยการแปรงฟันได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดคราบหินปูน

สำหรับปัจจัยของการเกิดคราบหินปูนนั้น มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดคราบหินปูน มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่เป็นเวลานานๆ
  • ลักษณะของฟัน ที่สบกันไม่ดี
  • พฤติกรรมการชอบนอนกัดฟัน
  • ชอบทานอาหารที่มีรสหวาน
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย เช่น วัยรุ่น ตั้งครรภ์ วัยทอง เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  • เกิดจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิต ยากันชัก เป็นต้น
  • อาการปากแห้ง

สาเหตุของการเกิดคราบหินปูน

ที่ผิวฟันของเรานั้นมีส่วนที่หุ้มฟันอยู่ ผิวฟันจะเรียบและมัน เมื่อผิวฟันถูกน้ำลายจะทำให้เกิดสารไกลโคโปรตีนจากน้ำลาย ที่มีน้ำตาล และโปรตีน หลังจากทำความสะอาดฟันแล้ว สารเหล่านี้จะเจือจางลง และเกิดสารบางเหลืออยู่ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียมาเกาะที่ฟัน ซึ่งจะพบมากที่ขอบเหงือก และ หลุมร่องฟัน ซึ่งการเกาะของเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้เกิดคราบหินปูน เป็นแคลเซี่ยม เกาะติดแน่น การกำจัดคราบหินปูนนั้นต้องให้ทันตแพทย์ขูดออก

อันตรายของคราบหินปูน

คราบหินปูน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งการเกิดคราบหินปูนทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  • ทำให้เกิดฟันผุ เมื่อเชื่อจุลินทรีย์ปล่อยกรดออกมา กรดนี้จะกัดกร่อนผิวเคลือบฟัน ทำให้เกิดเป็นร่องหากทิ้งไว้นานฟันจะผุได้
  • ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เมื่อมีเชื้อเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในปาก เชื้อนี้จะปล่อยสารพิษออกปนกับน้ำลาย ทำให้เกิดเหงืออักเสบได้
  • ทำให้เกิดโรคปริทนต์ คราบหินปูนจะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำลายฟัน
  • ทำให้เกิดโรคหัวใจ เนื่องจากเหงือกอักเสบจากคราบหินปูน ทำให้เกิดการติดเชื้อที่หลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ
  • ทำให้เกิดเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งอันตรายของเลือดออกตามไรฟัน คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ทำให้เหงือกบวม
  • ทำให้ฟันเหลือง เนื่องจากแคลเซียมและจุลินทรีย์เกาะเคลือบผิวฟัน เกิดเป็นสีเหลือง
  • ทำให้เกิดกลิ่นปาก เนื่องจากคราบหินปูน มีเชื้อแบคทีเรียเกาะที่ฟัน ทำให้เกิดกลิ่น
  • ทำให้เหงือกร่น เนื่องจากหากหินปูนเกาะตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้น ดันให้เหงือกร่น
  • ทำให้ฟันโยกและฟันห่าง เมื่อหินปูนดันเหงือกลงมาก ๆ ทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อย เวลาเคี้ยวอาหาร จะทำให้เกิดความเสี่ยงให้ฟันโยก และถ้าหินปูนที่ใหญ่ขึ้นจะดันให้ฟันห่างกัน

ดังนั้น หากแปรงฟันทุกวัน วันละสองครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน จะช่วยลดการเกิดคราบหินปูนได้

การรักษาคราบหินปูน

สำหรับการรักษาคราบหินปูน สามารถทำได้โดยการพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขูดคราบหินปูนออก เป็นการรักษาที่ง่าย  ใช้เวลาไม่นาน และ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด วิธีขจัดคราบหินปูนในช่องปาก นั้นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  1. ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดคราบหินปูน เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน การดื่มสุรา
  2. แปรงฟันทุกวัน วันละ 2 ครั้ง และควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ แปรงสีฟันอย่างถูกต้องและใช้ไหมขัดฟันหลังแปรงฟัน
  3. ขัดฟันด้วยเปลือกหมากสด คนสมัยก่อนใช้วิธีนี้ในการป้องกันการเกิดคราบหินปูน
  4. การพบทันตแพทย์ เพื่อทำลายคราบหินปูนออก

การป้องกันการเกิดคราบหินปูน

การเกิดคราบหินปูนนั้น เป็นอันตรายต่อสุภาพและ ทำให้เกิดผลเสียต่อบุคลิกภาพพอสมควร การป้องกันการเกิดคราบหินปูน ช่วยลดการเกิดคราบหินปูน ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ให้แปรงฟันทุกวัน โดยอย่างน้อยต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
  • การเลือกแปรงสีฟัน ให้เลือกแปรงที่ขนแปรงนุ่ม ปรายของแปรงมนไม่แหลม
  • การแปรงฟันให้เน้นแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน
  • การเลือกใช้ยาสีฟันให้เลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • ให้ใช้ไหมขัดฟัน ในการทำความสะอาดฟันอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง
  • หมั่นตรวจสุขภาพฟันประจำปี
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีรสหวาน อย่างขนมหวาน หากต้องการรับประทานอาหารที่มีรสหวานให้เลือกรับประทานผลไม้แทน

สำหรับคราบหินปูน หลายๆคนมองข้ามการกำจัดคราบหินปูน เนื่องจากไม่ทำให้การใช้ชิวิตผิดปรกติ เพราะ แขน ขา สมอง สามารถทำงานได้อย่างปรกติ จึงทำให้คนมองข้ามการเกิดคราบหินปูน จากข้อมูลที่เรานำเสนอ เป็นสิ่งที่ดีทำให้เราได้รู้ถึงภัยของหินปูนในปาก ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบได้ จึงไม่ควรมองข้ามปัญหาคราบหินปูนได้เลย

คราบหินปูน คือ ภาวะความผิดปรกติในช่องปาก คราบหินปูนเกิดจากน้ำลาย เศษอาหารและเชื้อแบคทีเรีย เกาะติดกับฟัน เป็นเวลานาน ทำให้เกิดเป็นหินปูนเกาะที่ฟัน ซึ่งส่งผลต่อการทำให้เกิดการอักเสบของเหงือก และมีความเสี่ยงเป้นโรคหัวใจได้ มาทำความรู้จักกับคราบหินปูนกันให้มากขึ้น

แผลร้อนใน แผลเปื่อยในช่องปาก มีหลายปัจจัย เช่น การแปรงฟัน การกิน ไม่ใช่โรคร้ายแรง หายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นแผลร้อนใน แผลในปาก โรคไม่ติดต่อ

แผลร้อนใน ภาษาอังกฤษ เรียก Aphthous ulcer คือ โรคในช่องปาก โดยการ เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก มีปัจจัยของการเกิดแผลหลายอย่าง แต่ปัจจัยจากการดำรงชีวิต เช่น การแปรงฟัน การรับประทานอาหาร ทำให้เกิดโรคได้มาก โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง โดยปกติแล้วแผลร้อนใน สามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากพบแพทย์ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

สำหรับโรคแผลร้อนใน นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ ร้อยละ 80 เกิดกับคนอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งเราพบว่า มีปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ หลายอย่าง โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • ปัจจัยจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากพบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ป่วย มีคนในครอบครัวมีประวัติเกิดแผลร้อนในปาก
  • ความเครียดและความวิตกกังวล
  • พฤติกรรมการชอบกัดลิ้น และ กระพุ้งแก้ม ขณะเคี้ยวอาหาร
  • การแพ้สารเคมีบางชนิด เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือ ยาสีฟัน
  • การแพ้อาหารบางชนิด และ การขาดวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการขาด วิตามินบี ธาตุเหล็ก และะาตุสังกะสี
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเริม
  • การสูบบุหรี่

อาการของโรคแผลร้อนใน

สำหรับอาการสำคัญของแผลร้อนใน ที่พบคือ เจ็บที่เนื้อเยื่อในช่องปาก พบว่ามีแผลเปื่อย ด้านในของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดาน ลิ้น ใต้ลิ้น รอยต่อระหว่างริมฝีปากกับเหงือก ในบางรายที่มีอาการรุนแรง พบว่ามีแผลเปื่อยในลำคอด้วย ซึ่งอาการเริ่มต้นจะมีอาการเจ็บบริเซณที่มีแผล ลักษณะแผลจะเป็นรอยกลม หลังจากนั้นแผลจะเปื่อย ทำให้มีอาการเจ็บ ตัวแผลจะมีสีเหลืองหรือสีขาว  ขอบแผลจะแดง  โดยลักษณะของแผลร้อนใน มี 3 ลักษณะ คือ แผลเปื่อยไมเนอร์ ( Minor ulcer ) แผลเปื่อยเมเจอร์ ( Major ulcer ) และ แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม ( Herpetiform ulcer ) โดยลักษณะของแผลร้อนในมีรายละเอียด ดังนี้

  • แผลเปื่อยไมเนอร์ ( Minor ulcer ) เป็นลักษณะของแผลเปื่อยที่พบมากถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยแผลร้อนใน แผลมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และแผลไม่ลึก แผลลักษณะนี้ หายได้เองภายใน 14 วัน
  • แผลเปื่อยเมเจอร์ ( Major ulcer ) เป็นลักษณะของแผลร้อนในพบได้ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยแผลร้อนใน ลักษณะของแผลมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซ็นติเมตร แผลลึก พบบ่อยคนอายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว แผลจะหายช้าใช้เวลามากกว่า 14 วัน และมักเกิดแผลร้อนในซ้ำและบ่อย ควรเข้าพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าการเป็นแค่แผลร้อนใน
  • แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม ( Herpetiform ulcer ) เป็นลักษณะของแผลร้อนในที่มีอาการรุนแรง พบประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยแผลร้อนในปาก และพบมากในเพศหญิง พบว่ามีแผลรุนแรง และมากกว่า 10 แผล

การรักษาแผลร้อนในปาก

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคแผลร้อนในปาก นั้น แพทยืจะวินิจฉัย จากอาการของผุ้ป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจแผลในช่องปาก การตรวจทางเซลล์วิทยา โดยการขูดเนื้อไปตรวจ แนวทางการรักษาแผลร้อนใน นั้น เริ่มจาก การประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การกินยาแก้ปวด ใช้ยาทาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ การพักผ่อนให้เพียงพอ

การดูแลผุ้ป่วยแผลร้อนใน

สำหรับการดูแลตนเองหรือผู้ป่วย เมื่อเกิดแผลร้อนในปาก นั้นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคแผลร้อนใน ได้แก่

  • ให้พักผ่อนให้พอเพียง
  • การกินอาหาร ให้กินอาหารที่มีรสอ่อนและรสจืด
  • ให้ดื่มน้ำสะอาด
  • ใช้ยาทาแผลและกินยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการของแผลไม่ให้ลาม
  • หากแผลไม่หายภายใน 14 วัน ให้พบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค

ป้องกันการแผลร้อนใน

สำหรับการป้องกันแผลร้อนใน นั้นไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดแผลได้ สิ่งที่สามารถทำได้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลร้อนใน และ ปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตประจำวัน โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ต้องกินอาหารครบห 5 หมู่
  • พยายามผ่อนคลาย อย่าให้ตนเองอยู่ในภาวะความเคลียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากเกิดแผลร้อนใน ให้ลองเปลี่ยนยาสีฟัน หรือ ให้เปลี่ยนยาสีฟันเป้นระยะๆ ไม่ใช้ยาสีฟันชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานาน
  • การเคี้ยวอาหาร ให้เคี้ยวอาหารอย่างมีสติ ไม่ให้ไปกัดลิ้น หรือ กระพุ้งแก้ม
  • ให้รักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

อาหารแนะนำสำหรับคนีแผลร้อนใน

สำหรับอาหารที่มีฤทธิ์รักษาแผลร้อนใน ต้องเป็น อาหารที่มีเย็น เนื่องจากอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเป็นสาเหตุของการทำให้แผลร้อนในอาการลุกลามได้ อาหารแนะนำสำหรับที่มีฤิทธ์เย็น เช่น มะระ ชะอม ผักกาดขาว ปวยเล้ง แตงกวา ตำลึง ฟักเขียว หัวไชท้าว มะเฟือง แตงไทย ลองกอง อ้อย มังคุด เก๊กฮวย รากบัว หล่อฮั่งก๊วย บัวบก เป็นต้น

โดยทั่วไปแผลร้อนในเป็นโรคไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ใน 1-2 สัปดาห์ ยกเว้นการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้แผลหายช้า อาจทำให้เกิดพังผืด หรือ แผลเป็นตรงตำแหน่งเกิดแผล อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานว่า แผลร้อนในกลายเป็นโรคมะเร็ง แต่แผลโรคมะเร็งอาจให้ลักษณะแผลเหมือนแผลร้อนในได้ ดังนั้น หากมีแผลร้อนใน และอาการของแผลไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยมะเร็งในช่องปาก โดยเฉพาะ คนที่อายุเกิน 40 ปี

โรคแผลร้อนใน คือ โรคในช่องปาก เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก ปัจจัยของการเกิดแผล มีหลายอย่าง เช่น การแปรงฟัน การกิน ทำให้เกิดโรคต่างๆได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แผลร้อนใน สามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากพบแพทย์ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove