ไข้หวัดนก H5N1 ภาวะติดเชื้อไวรัส H5N1 ทำให้มีไข้สูง ไอ แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อย ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดหัว มีน้ำมูกไหล ยังไม่มียารักษาโรค แนวทางการรักษาทำอย่างไร

ไข้หวักนก ปอดอักเสบ โรคติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดนก ภาษาอังกฤษ เรียก avian influenza  เป็น โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ที่เกิดจากการติดไวรัสไข้หวัดในไก่ ซึ่งเป็นไวรัสที่เกิดในนก โรคนี้ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันสามารถถึงแก่ชีวิตได้เลย เชื้อไข้หวัดนก มักจะเป็นเชื้อโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์ปีกต่อสัตว์ปีกแต่สามารถติดต่อไปสู่มนุษย์ได้ ในไวรัส H5N1 ซึ่งช่องทางที่ไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ คือ การสัมผัสโดยกับสัตว์ปีก โดยไปสัมผัสโดน เสมหะ หรือ สารคัดหลั่ง ของสัตว์ปีก  การสัมผัสโดนอุจาระของสัตว์ปีก

อาการของผู้ป่วยไข้หวัดนก

ลักษณะอาการของผู้ป่วย จะมีไข้สูง ไอ รู้สึกมีอาการแน่นหน้าอก เวลาหายใจรู้สึกเหนื่อย ปวดท้อง มีอาการท้องร่วง ปวดหัว มีน้ำมูกไหล ซึ่งเราได้สรุปลักษณะอาการของไข้หวัดนก มีดังนี้

  • มีไข้
  • มีอาการไอ
  • รู้สึกแน่หน้าอก
  • การหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ
  • มีอาหารปวดท้อง
  • มีอาการท้องร่วง

อาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยไข้หวัดนก 

อาการที่แทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดนก เช่น ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ช็อค ชัก ซึ่งสามารถสรุปโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดนก ได้ดังนี้

  • เกิดโรคปอดบวม ที่มีอาการรุนแรงมากกว่าปรกติ
  • เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งหากเข้าพบแพทย์ทัน ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
  • เกิดภาวะช็อค
  • มีอาการซึม และไม่รู้สึกตัว
  • มีอาการชัก
  • ทำให้อวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวกับเลือดล้มเหลว เช่น ไต ตับ หัวใจ เป็นต้น

การรักษาโรคไข้หหวัดนก

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก H5N1 ต้องแยกผู้ป่วยออกจากทุกคน และใช้ยารักษา ยาที่ใช้รักษาคือ Oseltamivir และ Zannamivir ซึ่งเป็นยาที่จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ แต่จำเป็นต้องให้ยาผู้ป่วยภายใน 48 ชั่วโมง นอกจากนั้น ต้องการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสเชื้อรุนแรง และลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และการรักษานั้นจะใช้การประคับประคองตามอาการ เช่น ยาลดไข้ เป็นต้น ในรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัส เช่น ยา Oseltamivir (Tamiflu) แต่บางคนอาจดื้อยาได้

การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก

การป้องกันการติดเชื้อ รักษาสุขอนามัยให้สะอาด ล้างมือให้สะอาด อุปกรณ์ในครัวเรือนให้สะอาด ทานอาหารประเภทไข่และสัตว์ปีกต้องต้มให้สุก หลีกเลี่ยงจุดที่มีสัตว์ปีกอยู่มาก หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุจาระของสัตว์ปีก ไม่รับประทานอาหารไม่สุก การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่ และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนที่ป่วย โดยสามารถสรุปรายละเอียดของการป้องกันดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด หลังจากการทำอาหารจากไก่ โดยการล้างมือให้ใช้สบู่ล้าง
  • ทำอาหารที่สุกและสะอาด โดยความร้อนทีทำให้อาหารสุกต้องไม่ต่ำกว่า 165 องศาฟาเรนไฮต์
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สถานที่เสี่ยงที่มีเชื้อโรค เช่น ตลาดค้าสัตว์ สถานที่ที่มีอุจาระของสัตว์ปีก เป็นต้น
  • หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ตาย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดนก ให้กับสัตว์ปีก เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างสัตว์ปีก

อาการมีไข้สูงหากไม่ทำการปฐมพยาบาลให้ไข้ลด อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อคได้ ดังนั้น เราขอแนะนำสมุนไพรช่วยลดไข้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง รายละเอียด มีดังนี้

มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูงมะขามป้อม
กระวาน ใบกระวาน สมุนไพร สมุนไพรไทยกระวาน โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพาโหระพา
ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดันมะดัน

โรคไข้หวัดนก H5N1 โรคติดต่อที่ระบบทางเดินหายใจอย่างฉับพลันจากไวรัส H5N1 ทำให้ มีไข้สูง ไอ แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อย ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดหัว มีน้ำมูกไหล แนวทางการรักษาทำอย่างไร

ตาแห้ง Dry Eyes น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดันโรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ

โรคตาแห้ง คือ โรคเกี่ยวกับตา ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ดวงตาให้มีความชุ่มชื่นและเคลือบกระจกตาไม่พอ หรือมีปริมาณน้อยเกินไป อาการตาแห้ง สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว โรคตาแห้งถือเป็นโรคทางตาชนิดหนึ่ง

ตาแห้ง เป็นภาวะฟิล์มน้ำตา ที่ฉาบอยู่บริเวณส่วนหน้าของลูกตา ไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้เกิดการระคายเคือง ส่งผลต่อการแสบตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา และไม่สบายตา โดย ฟิล์มน้ำตา นั้น มี 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นไขมัน คือ ชั้นนอกสุด ชั้นสารน้ำ  เป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตา และ ชั้นสุกท้าย คือ ชั้นน้ำเมือก สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา

สาเหตุของโรคตาแห้ง

สาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้งนั้น มีสาเหตุจากการเกิดโรคหลากหลายสาเหตุ โดยจะแยกเป็นข้อๆ รายละเอียด ดังนี้

  1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเพศหญิง และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรค Sjogren’s Syndrome จะพบว่ามีอาการตาแห้ง
  2. การใช้ยาในกลุ่ม ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาหวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูงที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ ยาชนิดดังกล่าวอาจทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  3. อาการเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อ หรือการแพ้ยา ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ เกิดจากความผิดปรกติของการสร้างน้ำตา
  5. ส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ ทำให้ทำงานไม่ได้สมดุล จึงมีการสร้างน้ำตาน้อยลง
  6. การเสื่อมของร่างกายตามอายุ โดยส่วนที่เกิดการเสื่อม คือ ต่อมน้ำตา
  7. เกิดจากภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบต่อมน้ำตา
  8. การทำเลสิก ซึ่งเกิดการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระจกตา ทำให้ไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  9. การใช้คอนแทคเลนส์
  10. เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา ส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำตา
  11. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตา ยาที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น

อาเการของโรคตาแห้ง

สำหรับ อาการของโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกฝืดที่ตา ระคายเคืองเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตา ในบางคนขี้ตาจะเป็นเหมือกเหนียวในผู้ป่วยที่ใช้คอนแทคเลนส์ ถ้ามีอาการตาแห้ง ก็จะระคายเคืองมากขึ้น บางครั้งมี อาการน้ำตาไหล เนื่องจากน้ำตาปกติน้อย ทำให้ต่อมน้ำตาทำการบีบน้ำตาออกมาจนมาก อาการของโรคตาแห้งนั้น เราได้แยกเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา มีดังนี้

  • มีอาการฝืดที่ดวงตา ลักษณะคล้ายกับว่าไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงที่ดวงตา
  • มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา
  • มีความไม่สบายตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • มีอาการผิดปรกติของสายตา เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว
  • มีความผิดปรกติของการมองเห็นภาพ เช่น มีอาการภาพซ้อน

โดยอาการต่างๆ เหล่านี้ ที่กล่าวมาในข้างต้น จะเป็นมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวี รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่มีลมพัดแรง อยู่บนเครื่องบิน อยู่ในห้องแอร์ เป็นต้น

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับการรักษาโรคตาแห้งนั้น ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง หมั่นกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการระคายเคือง และให้ดื่มน้ำเสมอ เพื่อรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ปิดท่อระบายน้ำตาจะช่วยให้น้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น เราจะสรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้งให้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม หรือ ปัจัยเสี่ยงที่ทำให้ลมโดนตา แต่หากจำเป็น ให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกัน
  2. ทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ เป็นต้น
  3. อาการตาแห้งเกิดอาการดวงตาขาดน้ำหล่อลื่นดวงตา ให้ใช้สารชดเชยน้ำตา เช่น น้ำตาเทียม และ ยาที่เป็นสารน้ำเหลืองจากเลือด ( Serum ) ของตัวเราเอง เรียก Autologus serum หรือ ใส่แว่นตาที่ทีให้ตาชุม่ชื่น เรียก Moist chamber
  4. ใช้ยาหยอดตาช่วยเพื่อลดการอักเสบของดวงตา แต่การใช้ยาหยอดตา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  5. ใช้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เรียก Immunosuppressant ยากดภูมิคุ้มกันโรคจะช่วยลดการอักเสบของดวงตา
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตาดวงตา เป็น อาหารที่มีโอเมกา 3 จะช่วยให้ภาวะตาแห้งดีขึ้นได้
  7. การผ่าตัดเื่อทำการลดการระเหยของน้ำตา มีการผ่าตัด 4 ลักษณะ เพื่อรักษาอาการตาแห้ง ประกอบด้วย
    1. การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก
    2. การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร
    3. การใช้คอนแทคเลนส์ ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Scleral lens เป็นคอนแทคเลนส์ที่ช่วย อุ้มน้ำตาให้มากขึ้น
    4. การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

การป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแห้งต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของอาการตาแห้งทั้งหมด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • หากต้องให้สายตาอย่างหนัก ต้องหาเวลาพักสายตาในทุกๆ 60 นาที
  • กระพริบตาบ่อยๆให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง
  • หากระคายเคืองตาให้ใช้น้ำตาเทียมหยอด เพื่อลดการระคายเคือง
  • ไม่ควรสวมคอนเทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมแว่นกันแดนเมื่อต้องออกแดดนานๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือย
ลูกเดือย
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม

ตาแห้ง ( Dry Eyes ) น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา ไม่สบายตา วิธีรักษาโรคตาแห้งต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove