มือเท้าปากเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยในเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณมือเท้าและปาก ไม่มียารักษาโรคโรคมือเท้าปาก โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เป็น โรคติดต่อ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบมากในเด็ก เด็กป่วยเป็น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยบ่อย โรคนีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจะมีอาการเป็นไข้ และมีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก อาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง

โรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีเป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่โรคปากเปื่อยและเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสชื่อ coxsackie A16 และ Enterovirus 71

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การติดเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของดรค และ ระยะเกิดซ้ำ

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

ผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ คือ

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

การรักษาโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย

โรคนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโดยตรง สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการทั่วไป ผู้ป่วยต้องพักผ่อนมากๆ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่ แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ

การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคนี้
  2. ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด
  3. ไม่ใช้ภาชนะต่างๆร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้
  4. หลีกเลี้ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว และการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย

โรคมือเท้าปากเปื่อย ( Hand Foot Mouth Disease ) การติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยในทารกและเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก แต่อาการป่วยสามารถหายได้เอง โรคมือเท้าปาก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อโรค

ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove