โรคเบาหวานขึ้นตา ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อสุขภาพดวงตา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  ทำให้ลานตาบวมน้ำ เลือดออกในวุ้นตา แนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา ทำอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ โรคจากเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ (Diabetes retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา สัญญาณและอันตรายจากเบาหวานขึ้นตา นั้นในระยะแรกของโรคผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการสายตาพล่ามัว เห็นเงาคล้ายหยากไย่  บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว แต่ในบางรายไม่แสดงอาการเลยแม้อยู่ในระยะรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวานขึ้นตาสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวาน เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่เรตินาหรือจอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อดวงตา โดยสามารถระบุลักษณะการเกิดโรคจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

การแสดงอาการของโรคเบาหวานขึ้นตา ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่คุณภาพการมองเห็นที่ผิดปรกติ แต่ในระยะแรกจะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ ( macula ) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา เบื้องต้นต้องควบคุมโรคเบาหวาน หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

จอประสาทตาลอก Retina detachment จอประสาทเกิดรูหรือฉีกขาดจากการดึงรั้งของผังผืดหรือการอักเสบ ทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทตาหลุดลอก ส่งผลต่อการมองเห็นภาพผิดปรกติ

จอประสาทตาลอก โรคตา มองเห็นเป็นแสงแฟรช โรคการมองเห็น

ภาวะจอประสาทตาลอก ภาษาอังกฤษ เรียก Retina detachment เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดจากการดึงรั้งของผังผืด ทำให้เกิดการอักเสบจนทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทหลุดลอก จอประสาทตาลอก การแยกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้เกิดอาการเห็นแสงเหมือนฟ้าแลบหรือแสงแฟลช มองเห็นจุดดำ คล้ายหยักไย่ ร่วมถึงอาหารสายตาพล่ามัว มักเกิดจากสาเหตุของการเสื่อมของดวงตาตามอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไป

สาเหตุของจอประสาทตาลอก

จอประสาทตาลอก สามารแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 3 ชนิด คือ จอประสาทตาลอกจากรูหรือรอยฉีกขา จอประสาทตาลอกจากการดึงรี่ง และ จอประสาทตาลอกจากสาเหตุอื่นๆ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. จอประสาทตาลอกจากรู หรือ รอยฉีกขาด ( rhegmatogenous retinal detachment ) มักเกิดจากอุบัติเหตุทำให้มีการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา เกิดอาการจอประสาทตาเสื่อมในคนที่มีสายตาสั้น
  2. จอประสาทตาลอกจากการดึงรั้งtractional retinal detachment ) เกิดจากพังผืดที่จอประสาทตาดึงรั้งหรือจอประสาทตาหลุดลอกจากน้ำในวุ้นตาทำให้หลุด
  3. จอประสาทตาลอกจากสาเหตุอื่นๆ ( Exudative ) การอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ส่งผลให้มีน้ำรั่วซึมและขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในคนที่มีเนื้องอกที่จอประสาทตา ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าปรกติ หรือภาวะไตวาย เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลอกของประสาทตา

บุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตาลอก คือ คนสายตาสั้นมาก คนที่เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน พันธุกรรม คนที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจก คนที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา เราสามารถแยกถึงปัจจัยของการเกิดการลอกของประสาทตา ได้ดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น เกิดการเสื่อมของตา โดยเกิดน้ำวุ้นลูกตาด้านหลังเสื่อมตามอายุ โดยเกิดการหดตัวและลอกของจอตา
  • คนที่มีสายตาสั้นมาก คนที่สายตาสั้นมากจะมีอาการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา จนเกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ง่าย
  • คนที่เคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตามาก่อนแล้ว
  • คนที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตา
  • อาการติดเชื้อหรืออักเสบของลูกตา
  • การเกิดเนื้องอกภายในลูกตา
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคจอประสาทตาเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง

อาการของจอประสาทตาลอก

การแสดงอาหารของผู้ป่วยภาวะจอประสาทตาลอก คือ มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มองเห็นแสงคล้ายแสงแฟรช มองเห็นภาพบางส่วนไม่ครบ เป็นต้น โดยเราสามารถแยกรายละเอียดเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • มองเห็นแสงแฟลชหรือแสงฟ้าแลบ
  • ลักษณะในการมองเห็นเหมือนมีสิ่งปิดบังอยู่
  • มองเห็นจุดสีดำ หรือ ภาพใยแมงมุม
  • การมองเห็นไม่มีประสิทธิภาพ ลักษณะพล่ามัว

การรักษาจอประสาทตาลอก 

สำหรับ การรักษาจอประสาทตาลอก นั้นสามารถทำได้โดยการยิงเลเซอร์บริเวณรอยขาด หากพบมีการลอกขาดของจอประสาทตาแล้ว แพทย์จพรักษาโดยฉีดก๊าซเข้าไปในตา จากนั้นทำการการผ่าตัดหนุนจอประสาทตาและผ่าตัดน้ำวุ้นในตา ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ

  • การรักษาจอประสาทตาลอกในกรณีที่ จอประสาทตาฉีกขาด สามารถรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์ยิงเพื่อปิดรูที่ฉีกขาด หรือ ใช้วิธีจี้ด้วยความเย็น ( Cryotherapy ) รอบ ๆ รอยฉีกขาดของจอประสาทตา
  • การผ่าตัดจอประสาทตาลอก มีวิธีการผ่าตัดอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยรายละเอียดการผ่าตัดมีดังนี้
    • การฉีดก๊าซเข้าไปในตา เรียกPneumatic retinopexy ใช้การฉีดก๊าซเข้าไปในช่องน้ำวุ้นลูกตาเพื่อดันให้จอประสาทตาที่หลุดลอกกลับเข้าไปติดที่เดิม
    • การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา เรียก Scleral buckling ใช้ยางเพื่อหนุนตาขาวให้เข้าไปติดจอประสาทตาที่หลุดลอก
    • การผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา เรียก Pars plana vitrectomy เป็นการตัดน้ำวุ้นลูกตาที่ดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉีกขาดออก

การป้องกันการลอกของจอประสาทตา

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะจอประสาทตาลอก สามารถป้องกันจากการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่สามารถควบคุมได้ มีคำแนะนำ ดังนี้

  • หากเกิดความผิดปรกติที่ดวงตา หรือ ดวงตาถูกประแทกอย่างรุนแรงให้เข้ารับการตรวจดวงตาอย่างละเอียด เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
  • หากมีอาการมองเห็นแสงไฟคล้ายฟ้าแลบ หรือ เห็นเหมือนแสงแฟลช อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะจอประสาทตาลอก ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจจอประสาทตาทันที
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัตติเหตุการกระแทกกับดวงตาอย่างรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงการกิจกรรมต่างๆที่เป็นอันตรายต่อดวงตา
  • หากต้องทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา ให้ใส่เครื่องป้องกันดวงตา

จอประสาทตาลอกRetina detachment ) เกิดรูหรือการฉีกขาด สาเหตุจากการดึงรั้งของผังผืด หรือ การอักเสบ ทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ส่งผลต่อการมองเห็นภาพผิดปรกติ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove