โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว Smallpox โรคติดต่อร้ายแรงจากเชื้อไวรัสวาริโอลา ติดต่อจากการหายใจและสัมผัสผู้ป่วย ทำให้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นที่ตามตัวโรคฝีดาษ โรคติดเชื้อ โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Variola ถือเป็นโรคติดต่อชนินหนึ่ง เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อจาก poxvirus ซึ่งผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง สามารถระบาดได้ โรคเป็นโรคระบาด โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว สำหรับใน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Small pox หรือ Variola โดยคำว่า Variola มาจากภาษาละติน แปลว่า จุด หรือตุ่ม โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ มีผื่นที่เป็นตุ่มหนองขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งดูเป็นที่น่ารังเกียจ และผื่นเหล่านี้เองก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย โรคนี้ติด ต่อกันได้ค่อนข้างง่าย มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ยังไม่มียารักษา มีวัคซีนสำหรับป้องกันได้ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้ถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนในประชากรทั่วไปอีกต่อไป

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

สาเหตุของโรคฝีดาษ เกิดจากไวรัส DNA เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ พบว่ามี 2 ชนิด คือ ชนิดแรก variolar major มีความรุนแรงสูงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พบว่าอัตราการตายมากถึง 1 คน ใน 3 คน ชนิดที่สอง alastrim ชนิดนี้อาการไม่รุนแรงเท่ากับชนิดแรก ชนิดนี้ไม่ตายมากเท่าชนิดแรกแต่ผู้ติดเชื้อ จะมีสะเก็ดที่ผิวหนังนานเป็นปี

โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษติดต่อกันได้อย่างไร โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสตัวผู้ป่วย หรือรับเชื้อโรคจากผู้ป่วย จากการ ไอ จาม หรือตอนพูด นอกจากนี้อาจจะสามารถติดต่อได้ทางเสื้อผ้า ที่นอน ผ้าห่ม หรือ เสื้อของผู้ป่วย

อาการของผู้ป่วยโรคฝีดาษ

สำหรับอาการของโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ผู้ป่วยจะ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง ถ้าเกิดในในเด็กจะมีอาเจียน  มีอาการชัก และหมดสติ หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา จากนั้นจะมีอาการคันมากที่ผิวหนังและจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนังจากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดในประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมา อาการของโรคฝีดาษ สามารถแยกอาการเป้นข้อๆ ได้ดังนี้

  • อาการเริ่มแรก เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ระยะออกผื่น ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผื่นมักเป็นมากบริเวณที่ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
  • ระยะติดต่อตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีอาการ และช่วงสัปดาห์แรก ที่จะเป็นช่วงที่มีโอกาสแพร่เชื้อได้ง่ายที่สุด ไปจนถึงตอนที่แผลแห้งเป็นสะเก็ดแล้ว

การรักษาโรคฝีดาษ

สำหรับ การรักษาโรคฝีดาษ หรือ การรักษาไข้ทรพิษ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถหายาที่มารักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่สามารถรักษาตามอาการ โดยเมื่อพบผู้ป่วยเราต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด ไม่ต้องอาบน้ำเช็ดตัวก็พอ

  1. ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาโรค
  2. ต้องแยกนอนโรงพยาบาลที่รับเฉพาะโรคติดต่อ
  3. การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ
    • ให้ผู้ป่วยนอนพักในที่นอนที่สะอาด และทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • แก้ไขภาวะขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่
    • ระวังรอยโรคที่ปากและตา โดยทำความสะอาดอวัยวะทั้งสองบ่อยๆ
    • ไม่ควรอาบน้ำหรือใช้น้ำยาใดๆทาเคลือบผิวหนัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

  1. ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้น สามารถป้องกันได้อย่างไร เราสารมารถป้องกันได้โดยการปลูกฝี ด้วยการฉีดวัคซีน หลังการฉีดวัคซีนจะมีภูมิอยู่ได้ 3-5 ปี การใช้วัคซีนก็ยังมีผลข้างเคียงเช่นกัน โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนบางรายอาจจะได้รับผลข้างเคียงไม่ร้ายแรง หรือบางรายอาจลุกลามกลายเป็นโรคฝีดาษได้ จึงทำให้ในปัจจุบันได้มีการยกเลิกการให้วัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีวัคซีนเก็บรักษาไว้ในกรณีที่อาจเกิดการระบาดอย่างไม่คาดคิด

สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ไข้ทรพิษ อาการปวดเมื่อยตามตัวเป็นอาการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับคนเป็นไข้ทรพิษ ดังนั้นการใช้สมุนไพรแก้ปวดเมื่อยจะช่วยลดความปวดของผู้ป่วยได้ สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ
มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะเฟือง
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระมะระ
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) คือ โรคติดต่อร้ายแรง โรคระบาด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus สามารถติดต่อจากการหายใจ และ ใกล้ชิดและสัมผัสผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เกิดผื่นที่แขน หลัง ขา และ บริเวณผิวหนังที่ตึง และทำให้เกิดแผลสะเก็ด

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิโลสิส ติดเชื้อรา โรคจากนก โรคติดต่อ

แอสเปอร์จิลโลซิส ภาษาอังกฤษ เรียก Aspergillosis เป็นโรคระบาด คือ โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา โรคนี้พบว่าเกิดกับคนครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้เป็นโรคเกิดกับสัตว์ต่อมาได้ติดต่อสู่คน เชื้อราที่พบ คือ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส Aspergillosis โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามี 3 แบบ คือ  โรคแพ้เชื้อรา (Allergic aspergillosis)  โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma) และ โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis )

  • โรคแพ้เชื้อรา ( Allergic aspergillosis ) คนไข้ จะมีอาการหอบ หืด พบว่ามีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิล ( eosinophils ) สูง เกิดจากการแพ้เชื้อรา ซึ่งเชื้อราเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตบนเยื่อบุทางเดินลมหายใจ หลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการเช่นเดียวกับ โรค asthma แต่มีอาการเรื้อรังและรุนแรง  และอาจจะทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดลม
  • โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma ) เกิดจากเชื้อราเข้าสู่ร่างกายและไปเจริญเติบดตในโพรงปอด จนทำให้ โพรงหลอดลมพอง และเกิดโรคภายในปอดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไอ มีเสมหะ อาจไอเป็นเลือด
  • โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis ) เชื้อราเข้าสู่ร่ายกายไปเจริญเติบโตที่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลำบาก มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เชื้อโรคอาจลามไปสู่หัวใจและสมองได้

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส เกิดจากการติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ที่พบในสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งเกิดการระบาดทางการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

โรคแอสเปอร์จิลโลสิส จะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ ซึงลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอรืจิลโลซิส

สำหรับการรักษาโรคนี้ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิสที่ได้ผลดี คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole , และ Caspofungin ในช่วงแรกที่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันกลับมาทั้งหมดควรให้ยา Amphothericin B ไปก่อน เพราะเป็นยาครอบจักรวาลของโรคติดเชื้อราแทบบทุกชนิด แต่ยา Voriconazole ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ Zygomycetes ที่ทำให้เกิดโรค Mucormycosis ที่มีอาการคล้ายกันแบบไซนัสอักเสบ

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบก้อนเชื้อราที่ยังไม่แสดงอาการอะไรอาจยังไม่ต้องรักษา เพราะยารับประทานหรือฉีดโดยทั่วไปได้ผลเพียง 60% แต่เมื่อเริ่มมีอาการไอเป็นเลือดแล้วควรรักษาทันที เพราะบางครั้งเลือดออกมากจนหายใจไม่ทันและอาจเสียชีวิต การรักษามีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาฆ่าเชื้อราหยดเข้าไปในก้อนโดยตรง ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบแพ้เชื้อราเป็นอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาต้องใช้ยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน (ชนิดสูดดมที่ใช้กันเป็นประจำในภาวะหลอดลมตีบไม่ได้ผล) และอาจให้ยา Itraconazole ร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นควรใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อเข้าไปในแหล่งกักตุนของเชื้อ เช่น ฟาร์มไก่ กรงนก และในห้องปรับอากาศ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสจะควบคุมและป้องกันอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละออง ในคนที่มีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove